วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

14 /10/112

แก้รัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขการรัฐประหารและการใช้อำนาจนอกระบบ เข้าไปทำลายระบอบประชาธิปไตย และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน  การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรื อแก้ไขกฏหมาย มาตรา 112 ดำเนินไปตามครรลองครองธรรมของระบอบประชาธิปไตย จึงสามารถดำเนินการได้  ผู้คัดค้านสามารถกระทำได้ตามครรลองครองธรรมของระบอบประชาธิปไตย เช่นกัน ไม่ใช่ออกมาขมขู่ หรือใช้กำลังความรุนแรงคัดค้าน  ถ้าอย่างนี้ก็เป็นการทำลายตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฏหมายมาตรา 112 เป็นการสร้างบรรทัดฐานในระบอบประชาธิปไตยของประเทศให้สูงทำ เพื่อสร้างสรรค์ประชาธิปไตยในประเทศชาติ ขึ้น   จะทำให้ประชาชน ยื่นอยู่บนความเป็นจริง และลดความรุนแรงที่มีต่อประชาชนทุกคนไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง หรือทำลายคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นการแก้ไขเพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันตามแนวทางระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยแก้ไขไม่ให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือคนใดคนหนึ่งที่เสียเปรียบทางการเมืองจะไม่อวดอ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม เอาสถาบันเข้ามาสร้างประโยชน์ทางการเมือง และหาผลประโยชน์ส่วนตัว  หรือขมขู่ เข่นฆ่าประชาชนที่มีความคิดต่างทางการเมืองที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงจะกระทำได้   คงไม่มีใครอยากเห็นภาพนักศึกษาประชาชน โดนนักเรียน นักศึกษา ประชาชนกลุ่มหนึ่ง ทำร้ายอย่างเหี้ยมโหด เหมือนในเหตุการณ์  14 ตุลาคม  กฏหมายรัฐธรรมนูญ บางมาตรา และกฏหมาย มาตรา 112 จึงสมควรได้รับการแก้ไข ก่อนที่ประชาชนจะได้รับโทษเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ ซึ่งเป็นการรับโทษที่เกินกว่าเหตุ  แต่กับบุคคลที่ฆ่าคน หลักฐานชัดเจน แต่กลับปล่อยให้ใส่สูทผูกไท่อยู่ในสภา
วรเจตน์" ผนึก "ครก.112-ม.เที่ยงคืน" เดินหน้าแก้ "ม.112" ชูธงร่างรธน.ใหม่ลงโทษพวกทำรัฐประหาร
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 20:00:00 น.








เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2555 ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายวรเจตน์  ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์  นายสมชาย  ปรีชาศิลปกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นางพวงทอง  ภวัครพันธุ์  อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครก.112 ร่วมเสวนาเรื่อง "กฎหมายรัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยไทย" มีนักศึกษา ประชาชน เสื้อแดงเข้าร่วมกว่า 500 คน พร้อมเปิดลงชื่อเพื่อเสนอแก้กฏหมายอาญามาตรา 112 มีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 100 คน


นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นการต่อสู้แนวคิด การรับรู้ และปฏิบัติการทางสังคม การเป็นรัฐธรรมนูญ ต้องมีจุดเชื่อมโยงประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นฉบับกึ่งรัฐสภากึ่งอำมาตยาธิปไตยแบบเข้มที่ให้องค์กรอิสระ และระบบราชการ เข้ามากำกับการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งการทำรัฐประหารไม่ใช่คำตอบแก้ความขัดแย้งการเมืองไทย เพราะการต่อสู้ เป็นการสร้างระเบียบการเมือง และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง


"ข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ ที่ให้แก้กฏหมาย ม.112 กระทบจารีตประเพณีรัฐประหาร จึงถูกตอบโต้จากทหารและกลุ่มคนชั้นนำ ที่ต้องการรักษาอำนาจไว้ ทำให้ข้อเสนอดังกล่าวเดินต่อไม่ได้เนื่องจากผู้คนคุ้นเคยรูปแบบปกครองแบบเดิม ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการรับรู้และปฏิบัติการทางสังคม ผลักดันให้มีการสร้างประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ไม่ซ้อนรูปเผด็จการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา และไม่มีสงครามครั้งสุดท้าย ต้องสร้างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีอำนาจ" นายสมชายกล่าว


นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ กล่าวว่า ขอมองมิติกฎหมายกับความยุติธรรม จะเห็นได้ชัดว่า ม.112 เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ถูกใช้เท่าเทียมกัน ขัดกับหลักประชาธิปไตยที่ต้องการให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม การออกมาคัดค้านหรือตอบโต้ทำให้ประชาชนตาสว่าง เรียนรู้กระบวนการประชาธิปไตย และตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว ดังนั้นคณะนิติราษฎร์ จึงล่ารายชื่อประชาชน 10,000 คน เพื่อเสนอแก้กฏหมายดังกล่าว และสังเกตเห็นได้ว่าประชาชนตื่นตัวและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสนับสนุนแนวทางคณะนิติราษฏร์ แม้รัฐบาล หรือพรรคเพื่อไทย จะปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องก็ตาม แต่มีประชาชนภาคเหนือ อีสาน และภาคใต้ตอนบนร่วมลงชื่อจำนวนมาก


"การที่พรรคเพื่อไทยปฏิเสธแก้ ม.112 ทำให้เสื้อแดงเป็นอิสระ เคลื่อนไหวการเมืองได้มากขึ้น เป็นปรากฏการณ์น่าตื่นเต้น ที่เสื้อแดงเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่สังกัดการเมืองใด ที่สำคัญรู้ถึงความต้องการของตนเอง และกำลังก้าวข้ามความกลัว ไม่ปล่อยให้กฎหมาย ม.112 เป็นเครื่องมือการเมือง แต่แปลกใจที่ไม่มีการตอบสนองจากชนชั้นสูง เพราะไม่อยากรับฟัง แต่ประชาชนต้องการเปลี่ยนแปลง โดยใช้สำนึกสร้างความยุติธรรม เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์" นางพวงทอง กล่าว


นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดประเทศ แต่ถามว่าใครเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่กุมอำนาจสูง
สุด ซึ่งมันควรเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งทุกคนมีโอกาสสัมผัสและเข้าถึงความเสมอภาค เทียมเท่ากัน ดังนั้นข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ จึงถูกต่อต้าน เพราะรากฐานความคิดแตกต่างกัน แต่ไม่ใช่เรื่องประหลาด เพราะผู้คนคุ้นเคยกับระบบเดิมมายาวนาน ต้องผลักดันประชาธิปไตยเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวให้สังคมได้ขบคิด ถ้าความคุ้นชินถูกทำลายประชาธิปไตยก็จะเดินหน้าไปได้เร็ว


"คณะนิติราษฏร์เสนอให้มีการลบล้างผลพวงรัฐประหารทั้งหมด ซึ่งต้องอาศัยแรงผลักดันทางการเมือง และให้ประชาชนลงประชามติ ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็จบไป ดังนั้นการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ควรมีหมวดว่าด้วยการทำรัฐประหาร เพื่อชิงอำนาจมาจากประชาชน โดยให้ดำเนินคดีและมีบทลงโทษผู้กระทำผิด ทั้งนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงจารีตประเพณีรัฐประหาร ความคุ้นเคยแบบเดิม และการผูกขาดอำนาจ ไม่ใช่เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ เช่นทุกวันนี้" นายวรเจตน์กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น