*****
บื้กจิ๋ว" ร่อนหนังสือโต้ "มาร์ค" ชี้ 66/23 ไขปมสู่ปรองดอง-สามัคคีในชาติ หนุนยกเลิกคดี คตส.วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:18:59 น.
Share39
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือออกมาตอบโต้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในประเด็นการนิรโทษกรรมจะล้มล้างอำนาจตุลาการ ทำลายระบบยุติธรรมและการยกเลิกผลคดีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้นำจดหมายมาให้เจ้าหน้าที่สภานำมาแจกแก่สื่อมวลชน
สำหรับเนื้อหาการตอบโต้นั้นในหนังสือระบุว่า พล.อ.ชวลิตเห็นว่าการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมจะช่วยให้ระบบยุติธรรมของไทยดีขึ้น เพราะจะไม่นำเอาปัญหาการเมืองที่เกิดจากระบอบการรัฐสภาและเผด็จการรัฐประหารมาแก้ไขระบบยุติธรรมของศาล นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้กลับทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น
พร้อมยืนยันการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยเชื่อว่าการใช้นโยบาย 66/23 สร้างประชาธิปไตยในอดีต จะเป็นทางออกสูงสุดของชาติ โดยนิรโทษกรรมอย่างไม่มีเงื่อนไข ช่วยให้เกิดความปรองดองและความสามัคคีในชาติได้อย่างแท้จริง
ส่วนการยกเลิกคดีที่ดำเนินโดย คตส.นั้น เห็นว่าทุกอย่างจะต้องกลับไปสู่สภาพเดิม เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการเมือง เมื่อ คตส.มีที่มาไม่ถูกต้อง จึงถือว่าผิดตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อระบอบทำให้เกิดปัญหา จึงต้องยุติทุกอย่างที่ดำเนินการโดย คตส.
สำหรับนโยบาย 66/23 คือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ทหารในการขยายบทบาทในกิจการด้านพลเรือนและการเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง
คำสั่งที่ 66/2523 ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2523 เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญของคำสั่งนี้ คือ การใช้หลัก “การเมืองนำการทหาร” ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
คำสั่งที่ 66/2523 ได้ระบุถึงสาเหตุของการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ว่าเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความไม่เท่าเทียมทางการเมือง คือ สภาพการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนไม่ได้ใช้อำนาจอธิปไตย แต่อำนาจนี้อยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและสนใจแต่ประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งข้าราชการซึ่งใช้อำนาจหน้าที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนที่ไม่มีทางต่อสู้ ส่วนความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องกับการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยคนจำนวนน้อย การขูดรีดเอารัดเอาเปรียบคนจนโดยคนที่ร่ำรวย ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ การมีโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ อันส่งผลให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นและระหว่างเมืองกับชนบทกว้างมากขึ้นทุกที
นายทหารกลุ่ม 66/2523 ระบุว่า พวกนายทุนที่เอาเปรียบและขูดรีดคนจนเป็นพวกอิทธิพลมืด เป็นผู้ที่แสวงหาความร่ำรวยทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ รวมทั้งกิจการที่ผิดกฎหมายด้วย ความคิดต่อต้านนายทุนไม่ใช่ของใหม่ในกองทัพ นายทหารระดับกลางและชั้นผู้น้อยซึ่งทำงานปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในชนบทได้พบเห็นการเอารัดเอาเปรียบของนายทุนที่มีต่อชาวบ้านรวมทั้งสภาพที่ถูกเอาเปรียบ
ในสายตาของนายทหารกลุ่มที่ 66/2523 การปกครองแบบเผด็จการเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คอมมิวนิสต์เติบโต ส่งผลกระทบให้คอมมิวนิสต์ขยายตัวได้ง่าย ดังนั้น การแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์ต้องแก้ไขด้วยวิถีทางทางการเมืองเท่านั้น การแก้ไขปัญหาทางการเมืองตามพวกนี้เชื่อว่าประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะเอาชนะคอมมิวนิสต์ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงวิธีการพัฒนาประชาธิปไตยทางทหารยังไม่มีความแน่ใจว่าวิธีการนั้นควรเป็นอย่างไร ทางทหารระบุว่าประชาธิปไตยเป็นระบบที่ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้อย่างเต็มที่ อิทธิพลและอำนาจมืดต้องถูกขจัดออกไปในการเมืองทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ นอกจากนั้นจะต้องทำให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาของประชาชนอย่างแท้จริงไม่ใช่เป็นสภาผู้แทนราษฎรของนายทุน รายละเอียดอื่นๆ นอกจากนี้ยังคงเป็นสิ่งที่โต้เถียงกันอยู่ในวงการทหาร
ความสำคัญของคำสั่ง 66/2523 ที่มีต่อการเมืองคือ ทางฝ่ายทหารอ้างว่าเมื่อทหารรับผิดชอบในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ทหารต้องมีส่วนในการพัฒนาประชาธิปไตยเพราะประชาธิปไตยเป็นวิธีการเอาชนะคอมมิวนิสต์ในประเทศที่ประชาธิปไตยมั่นคงแล้ว ทหารมีบทบาทค้ำจุนประชาธิปไตย แต่ประเทศที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทหารต้องเป็นผู้สร้างประชาธิปไตย
การแทรกแซงทางการเมืองหลายครั้งที่ทหารนำเอาเหตุผลนี้ขึ้นมาอ้าง เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยตามคำสั่งที่ 66/2523 เนื่องจากทหารเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะครอบงำด้วยนายทุนเป็นส่วนใหญ่ บางทีการคัดเลือกคนจากอาชีพต่างๆ ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกอาจได้สมาชิกรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า ทหารควรเข้าเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติได้ เพราะการปฏิวัติที่พูดถึงนี้ไม่ใช่เป็นการรัฐประหาร แต่เป็นเรื่องของการปรับปรุงให้ประเทศดีขึ้น ถือว่าเป็นการดำเนินงานตามคำสั่งที่ 66/2523
แม้ว่าเหตุผลข้างต้นได้รับการคัดค้านไม่น้อยจากบรรดานักการเมือง สื่อมวลชน และปัญญาชนทั้งหลายแต่คำสั่งที่ 66/2523 ยังคงใช้อยู่และจะถูกอ้างเพื่อความชอบธรรมในบทบาททางการเมืองของทหารอีกเมื่อใดก็ได้
บื้กจิ๋ว" ร่อนหนังสือโต้ "มาร์ค" ชี้ 66/23 ไขปมสู่ปรองดอง-สามัคคีในชาติ หนุนยกเลิกคดี คตส.วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16:18:59 น.
Share39
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือออกมาตอบโต้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในประเด็นการนิรโทษกรรมจะล้มล้างอำนาจตุลาการ ทำลายระบบยุติธรรมและการยกเลิกผลคดีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้นำจดหมายมาให้เจ้าหน้าที่สภานำมาแจกแก่สื่อมวลชน
สำหรับเนื้อหาการตอบโต้นั้นในหนังสือระบุว่า พล.อ.ชวลิตเห็นว่าการออก พ.ร.บ. นิรโทษกรรมจะช่วยให้ระบบยุติธรรมของไทยดีขึ้น เพราะจะไม่นำเอาปัญหาการเมืองที่เกิดจากระบอบการรัฐสภาและเผด็จการรัฐประหารมาแก้ไขระบบยุติธรรมของศาล นอกจากจะแก้ไขปัญหาไม่ได้กลับทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้น
พร้อมยืนยันการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยเชื่อว่าการใช้นโยบาย 66/23 สร้างประชาธิปไตยในอดีต จะเป็นทางออกสูงสุดของชาติ โดยนิรโทษกรรมอย่างไม่มีเงื่อนไข ช่วยให้เกิดความปรองดองและความสามัคคีในชาติได้อย่างแท้จริง
ส่วนการยกเลิกคดีที่ดำเนินโดย คตส.นั้น เห็นว่าทุกอย่างจะต้องกลับไปสู่สภาพเดิม เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการเมือง เมื่อ คตส.มีที่มาไม่ถูกต้อง จึงถือว่าผิดตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อระบอบทำให้เกิดปัญหา จึงต้องยุติทุกอย่างที่ดำเนินการโดย คตส.
สำหรับนโยบาย 66/23 คือคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ทหารในการขยายบทบาทในกิจการด้านพลเรือนและการเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางการเมือง
คำสั่งที่ 66/2523 ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2523 เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญของคำสั่งนี้ คือ การใช้หลัก “การเมืองนำการทหาร” ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
คำสั่งที่ 66/2523 ได้ระบุถึงสาเหตุของการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ว่าเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความไม่เท่าเทียมทางการเมือง คือ สภาพการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนไม่ได้ใช้อำนาจอธิปไตย แต่อำนาจนี้อยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและสนใจแต่ประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งข้าราชการซึ่งใช้อำนาจหน้าที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนที่ไม่มีทางต่อสู้ ส่วนความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องกับการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยคนจำนวนน้อย การขูดรีดเอารัดเอาเปรียบคนจนโดยคนที่ร่ำรวย ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ การมีโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ อันส่งผลให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นและระหว่างเมืองกับชนบทกว้างมากขึ้นทุกที
นายทหารกลุ่ม 66/2523 ระบุว่า พวกนายทุนที่เอาเปรียบและขูดรีดคนจนเป็นพวกอิทธิพลมืด เป็นผู้ที่แสวงหาความร่ำรวยทางเศรษฐกิจทุกรูปแบบ รวมทั้งกิจการที่ผิดกฎหมายด้วย ความคิดต่อต้านนายทุนไม่ใช่ของใหม่ในกองทัพ นายทหารระดับกลางและชั้นผู้น้อยซึ่งทำงานปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในชนบทได้พบเห็นการเอารัดเอาเปรียบของนายทุนที่มีต่อชาวบ้านรวมทั้งสภาพที่ถูกเอาเปรียบ
ในสายตาของนายทหารกลุ่มที่ 66/2523 การปกครองแบบเผด็จการเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้คอมมิวนิสต์เติบโต ส่งผลกระทบให้คอมมิวนิสต์ขยายตัวได้ง่าย ดังนั้น การแก้ไขปัญหาคอมมิวนิสต์ต้องแก้ไขด้วยวิถีทางทางการเมืองเท่านั้น การแก้ไขปัญหาทางการเมืองตามพวกนี้เชื่อว่าประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะเอาชนะคอมมิวนิสต์ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงวิธีการพัฒนาประชาธิปไตยทางทหารยังไม่มีความแน่ใจว่าวิธีการนั้นควรเป็นอย่างไร ทางทหารระบุว่าประชาธิปไตยเป็นระบบที่ประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้อย่างเต็มที่ อิทธิพลและอำนาจมืดต้องถูกขจัดออกไปในการเมืองทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ นอกจากนั้นจะต้องทำให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาของประชาชนอย่างแท้จริงไม่ใช่เป็นสภาผู้แทนราษฎรของนายทุน รายละเอียดอื่นๆ นอกจากนี้ยังคงเป็นสิ่งที่โต้เถียงกันอยู่ในวงการทหาร
ความสำคัญของคำสั่ง 66/2523 ที่มีต่อการเมืองคือ ทางฝ่ายทหารอ้างว่าเมื่อทหารรับผิดชอบในการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ทหารต้องมีส่วนในการพัฒนาประชาธิปไตยเพราะประชาธิปไตยเป็นวิธีการเอาชนะคอมมิวนิสต์ในประเทศที่ประชาธิปไตยมั่นคงแล้ว ทหารมีบทบาทค้ำจุนประชาธิปไตย แต่ประเทศที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทหารต้องเป็นผู้สร้างประชาธิปไตย
การแทรกแซงทางการเมืองหลายครั้งที่ทหารนำเอาเหตุผลนี้ขึ้นมาอ้าง เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยตามคำสั่งที่ 66/2523 เนื่องจากทหารเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะครอบงำด้วยนายทุนเป็นส่วนใหญ่ บางทีการคัดเลือกคนจากอาชีพต่างๆ ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นวุฒิสมาชิกอาจได้สมาชิกรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า ทหารควรเข้าเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติได้ เพราะการปฏิวัติที่พูดถึงนี้ไม่ใช่เป็นการรัฐประหาร แต่เป็นเรื่องของการปรับปรุงให้ประเทศดีขึ้น ถือว่าเป็นการดำเนินงานตามคำสั่งที่ 66/2523
แม้ว่าเหตุผลข้างต้นได้รับการคัดค้านไม่น้อยจากบรรดานักการเมือง สื่อมวลชน และปัญญาชนทั้งหลายแต่คำสั่งที่ 66/2523 ยังคงใช้อยู่และจะถูกอ้างเพื่อความชอบธรรมในบทบาททางการเมืองของทหารอีกเมื่อใดก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น