โดยสีเลือดเดียว
การนำบทความข้างล่างนี้มาเผยแพร่ ไม่มีเจตนาหลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันใด แต่เป็นไปเพื่อการสร้างความสันติทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแบบสากล ให้กับประเทศอย่างแท้จริง โลกสมัยใหม่ที่มนุษย์จะอยู่กันอย่างสันติสุขที่แท้จริงคือ ระบอบประชาธิปไตยแบบสากล เพราะพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่มีใครยอมรับใครได้ทั้งหมด แต่ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกันบนความคิดที่แตกต่างตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้กระทั่งในทางศาสนา ยังมีหลายศาสนา ไม่มีเทพเจ้า หรือศาสดาของศาสนาใดทำให้มนุษย์มีความเชื่อ หรือนับถือศาสนาเดียวกันได้ทั้งประเทศ หรือทั้งโลก ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องประชาชนทางการเมืองทุกคนจากการใข้อำนาจรัฐในทางมิชอบ เพื่อปกป้องสถาบันอย่างแท้จริง และเพื่อสร้างความเจริญให้ชาติบ้านเมือง
มองจากรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ฉบับปัจจุบัน เหล่านายทหารระดับนายพลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านประชาธิปไตย นำโดยนายพลแมคอาเธอร์ เป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญโชวะ ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีส่วนใดที่จะทำให้มีการลักลั่นใช้อำนาจใดๆขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือทำลายอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน จึงถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์อีกฉบับหนึ่งของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
โดย Pegasus
7 สิงหาคม 2552
บทความเกี่ยวเนื่อง:บทบาทและพระราชอำนาจของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติการเมือง เกิดการแบ่งฝ่าย และมีหลักฐานชัดขึ้นทุกขณะแม้จนถึงขณะนี้ ว่ามีกลุ่มบุคคลที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ นอกเหนือระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในทางใดๆเลย แต่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการ บีบบังคับให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการในเชิงอำนาจของกลุ่มพวกตน และเป็นต้นเหตุของการใช้กำลังในการยึดอำนาจ การปราบปรามประชาชนมาโดยตลอด ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประการสำคัญคือกลุ่มคนเหล่านี้ได้อาศัยพระราชอำนาจในการอ้างอิงว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดี ทำให้กระทบกระเทือนต่อพระเกียรติยศของสถาบันเบื้องสูง
จากเหตุผลดังกล่าว การกลับมาศึกษาหลักการเบื้องต้นว่าด้วย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันอีกสักรอบด้วยความใส่ใจในรายละเอียด ไม่มองข้ามๆให้ผ่านๆไปเหมือนที่เป็นมาจนเคยชิน ก็อาจทำให้พบคำตอบสำหรับประเทศไทยได้บ้าง
บทความต่อไปนี้จะให้ความสำคัญต่อความหมายของระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศสวีเดน และญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เข้มแข็งและมีความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เพื่อการเปรียบเทียบประเด็นสำคัญบางประการในทางการเมือง
ส่วนที่จะแตกต่างจากประเทศไทยอย่างไรก็ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเอาจากรัฐธรรมนูญของไทยตามความสะดวก
เจสัน โยนัน (Jason Yonan) ได้เสนอว่าระบบการปกครองมี 2 รูปแบบคือแบบประธานาธิบดี และแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เฉพาะระบอบหลังนี้แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ระบอบกษัตริย์มีอำนาจจำกัด (limited monarchy) ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) และสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy)
รูปแบบแรกตัวอย่างได้แก่ประเทศอังกฤษที่พระมหากษัตริย์เป็นแต่เพียงพิธีการเท่านั้นไม่มีอะไรมากกว่านี้ (A limited monarchy merely has a royal family for ceremonies and in keeping with tradition)
รูปแบบที่สองซึ่งมีใช้กันในยุโรปมากกว่าตัวอย่างได้แก่ประเทศสวีเดนที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น (the monarch has powers granted to him/her by the country’s constitution)
ส่วนรูปแบบที่สามเป็นระบอบกษัตริย์ซึ่งเข้าใจกันดีอยู่แล้วที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจด้วยพระองค์เอง (the monarchy has supreme and absolute authority to do what it wishes) ตัวอย่างนี้ได้แก่ประเทศ ซาอุดิอาราเบีย เป็นต้น
ระบอบการปกครองที่บทความนี้สนใจได้แก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งประเทศไทยใช้ระบอบเดียวกันนี้ในทางการเมือง
การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญจึงขอเริ่มจากประเทศสวีเดนก่อนจากนั้นจึงเป็นประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการรักษาตัวบทของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศไว้ จึงจะนำมาลงไว้เป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วจะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญไว้ด้านล่างของแต่ละส่วนเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มั่นใจว่าการแปลโดยสรุปความนั้นไม่มีความผิดพลาดจากความหมายเดิม ดังนี้
รัฐธรรมนูญสวีเดนมีประเด็นที่น่าสนใจคือ อำนาจอธิปไตยของสวีเดนมาจากประชาชนและระบุไว้ชัดว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรและการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้อำนาจและตรวจสอบรัฐบาลได้ ราชบัลลังก์ปกครองโดยพระราชาหรือพระราชินีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฯในฐานะประมุขของชาติ
องค์พระประมุขจะได้รับข้อมูลจากรัฐบาลและในกรณีจำเป็นสามารถเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษโดยมีองค์พระประมุขเป็นองค์ประธานได้ ในกรณีที่ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ รัชทายาทลำดับต่อไปที่ไม่ถูกห้ามไว้ (โดยกฎหมาย) จะได้เป็นผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่ไม่มีรัชทายาทดังกล่าว รัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นประมุขชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันรัฐสภาจะแต่งตั้งรองผู้สำเร็จราชการด้วย กรณีนี้ใช้เมื่อองค์รัชทายาทยังไม่มีพระชนมายุครบ 25 ชันษาด้วย หากพระมหากษัตริย์ไม่สามารถครองราชย์ได้ติดต่อกันหกเดือนหรือทรงไร้ความสามารถ รัฐบาลจะแจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภา ซึ่งจะมีมติว่าจะให้ทรงสละราชสมบัติหรือไม่
รัฐสภาอาจแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราวด้วยการเสนอแนะของรัฐบาล และ ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการด้วยการเสนอแนะของรัฐบาลเมื่อไม่มีผู้เหมาะสมกว่า
พระมหากษัตริย์ จะไม่ถูกฟ้องร้อง หรือละเมิดใดๆได้
รัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ(คงให้เป็นลักษณะเดียวกับของอังกฤษคือทรงงานแต่พิธีการเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น) การขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาตราไว้ ในกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำแนะนำและรับผิดชอบแทน
องค์พระจักรพรรดิทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องไม่ทรงมีอำนาจฝ่ายบริหาร พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐสภาเสนอ พระจักรพรรดิแต่งตั้งประธานศาลฎีกาตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ และพระราชกรณียกิจอื่นที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ห้ามมีการถวายทรัพย์สินใดๆ ของขวัญหรือทรงรับทรัพย์สินใดๆผ่านสำนักพระราชวังโดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภา
จากรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลของต่างประเทศทั้งสองประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าให้ความสำคัญต่อรัฐสภาซึ่งมีที่มาจากประชาชนไว้เป็นอย่างสูง ต่างจากประเทศไทยที่มีความพยายามบั่นทอน ทำลายระบอบรัฐสภาไทยอย่างต่อเนื่องมานับเป็นสิบๆปี (เริ่มจากการยึดอำนาจครั้งแรกของไทย) ความเจริญของประเทศไทยจึงไม่ไปถึงไหนกันอย่างที่มีหลายคนสงสัยว่า ประเทศไทยมีอาถรรพ์อะไรที่มีทุกอย่างพร้อม มีทั้งทรัพยากร ทั้งที่ตั้ง ทั้งคนไทยก็มีฝีมือดี เปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่นแล้วเกิดอะไรขึ้น
ผลสรุปก็คงอยู่ที่ประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชนผ่านทางรัฐสภานั่นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ประชาชนคนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้มข้น กดดันให้ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องฟังเสียงความต้องการของประชาชน โมเดลของสกลนครและศรีสะเกษ รวมถึงการเลือกตั้งอื่นๆอีกหลายที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนคนไทยลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตนแล้ว นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งเพราะเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ก็หมายถึงวุฒิภาวะที่จะนำประเทศก้าวหน้าไปด้วยลำพังตัวของประชาชนเองได้ ไม่ต้องมีการชี้นำจากคนดี คนเก่งอย่างที่เคยถูกล้างสมองให้เชื่อตลอดมา
ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลกไม่จำกัดไว้ที่สองประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น
และหากเป็นระบบ limited monarchy จะไม่สามารถเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารได้เลย (แม้ในอังกฤษจะมีองค์กรดังกล่าวก็ตาม) อย่างไรก็ตามในทุกกรณี รัฐสภาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ อย่างเช่นกรณีของสวีเดนที่เป็นระบบ constitutional monarchy เหมือนไทย กำหนดไว้เลยว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง
ส่วนประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันตกบางแห่งกำหนดให้รัชทายาทที่จะขึ้นครองบัลลังก์ต้องทรงปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของรัฐ ในหลายประเทศแม้แต่พระบรมราโชวาทก็ต้องผ่านการร่างจากฝ่ายบริหารด้วยเป็นต้น
และหลายท่านคงทราบแล้วว่า เมื่อประเทศภูฎานเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเมื่อเร็วๆนี้นั้น พระมหากษัตริย์ที่ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ทรงกำหนดให้รัฐสภาสามารถถอดถอนพระมหากษัตริย์ได้
สำหรับประเทศไทย หากได้ไปศึกษารัฐธรรมนูญแล้วจะพบที่มาว่าหลักการใหญ่ๆที่กำหนดว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักนั้นจริงๆเป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น และมีการละเมิดหลักที่ไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงงานด้านการบริหารเนื่องจากมีผู้แอบอ้างพระราชอำนาจใช้กลไกแทรกแซงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติอยู่ตลอดเวลาตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ได้แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารที่ใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนการทำงานของกลไกสำคัญด้านการใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆ และมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และเจ้าของบ้านนี้อย่างยิ่ง
ทางรอดของประเทศไทย บางทีอาจจะต้องทบทวนเรื่องของรัฐธรรมนูญเสียใหม่ และหากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญของไทยล้วนเป็นบริวารของฝ่ายอำนาจแฝงในประเทศไทยแล้ว การยกเอารัฐธรรมนูญในระบบ constitutional monarchy อย่างสวีเดนมาใช้ทั้งชุดหรือ ถ้าเห็นว่าจะให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงอำนาจของประชาชนแล้วจะนำระบบ limited monarchy ของญี่ปุ่นมาใช้ก็น่าจะเป็นการดีเนื่องจากประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของการปกครองระบบนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ระบบยังเป็นเช่นเดียวกัน ทำให้เหมาะกับประเทศไทย
สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุด และสามารถรักษาสถาบันฯให้คงคู่ประเทศไทยไปได้ยาวนานคือการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนมีเป้าหมายในการปกครองประเทศเดียวกันและยกเอาสถาบันฯให้อยู่เหนือการเมือง ด้วยการให้ทุกพระราชกรณียกิจมีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบแทนองค์พระมหากษัตริย์ (ด้วยการลงนามร่วมกับพระปรมาภิไธย) ดังเช่นรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2475 กำหนดไว้
หากเป็นเช่นนี้ การกล่าวหา หรือก้าวล่วงในทางมิบังควรต่อสถาบันฯก็จะไม่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมืองแทน และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเมืองได้ตลอดเวลา
ในทางตรงกันข้ามการมีสถาบันระดับรองได้แก่องคมนตรีซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ มาแสดงความเห็นทางทางการเมืองซึ่งจะถูกมองว่ากระทำไปในฐานะผู้แทนของพระมหากษัตริย์ ก็จะมีแต่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากการเมืองนั้นมีผู้ได้ และผู้เสียตลอดเวลา
การที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพยายามยกให้สถาบันฯอยู่เหนือการเมืองนั้น เป็นการถนอมรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้องและเป็นสากลทุกหนแห่งอยู่แล้ว และเมื่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดได้เสียแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด แต่ถ้าหากเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy) ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งเนื่องจากจะทรงใช้พระราชอำนาจ จึงจะถูกต่อต้านและล้มล้างได้ง่ายการมีกฎหมายรูปแบบนี้จึงจะจำเป็น แต่ประเทศไทยไม่ใช่การปกครองรูปแบบนี้
บทความนี้ไม่ได้มุ่งหมายก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แต่ต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันรักษาสถาบันฯไว้คู่กับประเทศไทย เพื่อรักษาประเพณีที่สืบเนื่องกันมายาวนาน หากศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจะปรากฏว่าผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกประเทศนั้นแท้จริงไม่ได้เกิดจากประชาชน
แต่เกิดจากเหล่าอำมาตย์ ขุนศึกและชนชั้นนำที่ช่วงชิงอำนาจกันนั่นเอง
การนำบทความข้างล่างนี้มาเผยแพร่ ไม่มีเจตนาหลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันใด แต่เป็นไปเพื่อการสร้างความสันติทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแบบสากล ให้กับประเทศอย่างแท้จริง โลกสมัยใหม่ที่มนุษย์จะอยู่กันอย่างสันติสุขที่แท้จริงคือ ระบอบประชาธิปไตยแบบสากล เพราะพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่มีใครยอมรับใครได้ทั้งหมด แต่ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกันบนความคิดที่แตกต่างตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้กระทั่งในทางศาสนา ยังมีหลายศาสนา ไม่มีเทพเจ้า หรือศาสดาของศาสนาใดทำให้มนุษย์มีความเชื่อ หรือนับถือศาสนาเดียวกันได้ทั้งประเทศ หรือทั้งโลก ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องประชาชนทางการเมืองทุกคนจากการใข้อำนาจรัฐในทางมิชอบ เพื่อปกป้องสถาบันอย่างแท้จริง และเพื่อสร้างความเจริญให้ชาติบ้านเมือง
มองจากรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ฉบับปัจจุบัน เหล่านายทหารระดับนายพลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านประชาธิปไตย นำโดยนายพลแมคอาเธอร์ เป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญโชวะ ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีส่วนใดที่จะทำให้มีการลักลั่นใช้อำนาจใดๆขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือทำลายอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน จึงถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์อีกฉบับหนึ่งของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
โดย Pegasus
7 สิงหาคม 2552
บทความเกี่ยวเนื่อง:บทบาทและพระราชอำนาจของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลก ไม่จำกัดไว้ที่สองประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น
ในขณะที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติการเมือง เกิดการแบ่งฝ่าย และมีหลักฐานชัดขึ้นทุกขณะแม้จนถึงขณะนี้ ว่ามีกลุ่มบุคคลที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ นอกเหนือระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในทางใดๆเลย แต่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการ บีบบังคับให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการในเชิงอำนาจของกลุ่มพวกตน และเป็นต้นเหตุของการใช้กำลังในการยึดอำนาจ การปราบปรามประชาชนมาโดยตลอด ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประการสำคัญคือกลุ่มคนเหล่านี้ได้อาศัยพระราชอำนาจในการอ้างอิงว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดี ทำให้กระทบกระเทือนต่อพระเกียรติยศของสถาบันเบื้องสูง
จากเหตุผลดังกล่าว การกลับมาศึกษาหลักการเบื้องต้นว่าด้วย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันอีกสักรอบด้วยความใส่ใจในรายละเอียด ไม่มองข้ามๆให้ผ่านๆไปเหมือนที่เป็นมาจนเคยชิน ก็อาจทำให้พบคำตอบสำหรับประเทศไทยได้บ้าง
บทความต่อไปนี้จะให้ความสำคัญต่อความหมายของระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศสวีเดน และญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เข้มแข็งและมีความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เพื่อการเปรียบเทียบประเด็นสำคัญบางประการในทางการเมือง
ส่วนที่จะแตกต่างจากประเทศไทยอย่างไรก็ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเอาจากรัฐธรรมนูญของไทยตามความสะดวก
เจสัน โยนัน (Jason Yonan) ได้เสนอว่าระบบการปกครองมี 2 รูปแบบคือแบบประธานาธิบดี และแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เฉพาะระบอบหลังนี้แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ระบอบกษัตริย์มีอำนาจจำกัด (limited monarchy) ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) และสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy)
รูปแบบแรกตัวอย่างได้แก่ประเทศอังกฤษที่พระมหากษัตริย์เป็นแต่เพียงพิธีการเท่านั้นไม่มีอะไรมากกว่านี้ (A limited monarchy merely has a royal family for ceremonies and in keeping with tradition)
รูปแบบที่สองซึ่งมีใช้กันในยุโรปมากกว่าตัวอย่างได้แก่ประเทศสวีเดนที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น (the monarch has powers granted to him/her by the country’s constitution)
ส่วนรูปแบบที่สามเป็นระบอบกษัตริย์ซึ่งเข้าใจกันดีอยู่แล้วที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจด้วยพระองค์เอง (the monarchy has supreme and absolute authority to do what it wishes) ตัวอย่างนี้ได้แก่ประเทศ ซาอุดิอาราเบีย เป็นต้น
ระบอบการปกครองที่บทความนี้สนใจได้แก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งประเทศไทยใช้ระบอบเดียวกันนี้ในทางการเมือง
การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญจึงขอเริ่มจากประเทศสวีเดนก่อนจากนั้นจึงเป็นประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการรักษาตัวบทของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศไว้ จึงจะนำมาลงไว้เป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วจะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญไว้ด้านล่างของแต่ละส่วนเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มั่นใจว่าการแปลโดยสรุปความนั้นไม่มีความผิดพลาดจากความหมายเดิม ดังนี้
Sweden - Constitution
Chapter 1 Basic Principles
Article 1
(1) All public power in Sweden proceeds from the people.
(2) Swedish democracy is founded on freedom of opinion and on universal and equal suffrage. It shall be realized through a representative and parliamentary polity and through local self-government.
(3) Public power shall be exercised under the law.
Article 3
The Instrument of Government, the Act of Succession and the Freedom of the Press Act are the fundamental laws of the Realm.
Article 4
(1) The Parliament is the foremost representative of the people.
(2) The Parliament enacts the laws, determines taxes and decides how public funds shall be used. The Parliament shall examine the government and administration of the country.
Article 5
(1) The King or Queen who occupies the throne of Sweden in accordance with the Act of Succession shall be the Head of State.
(2) The provisions of this Instrument of Government which relate to the King shall relate also to the Queen if she is the Head of State.
Chapter 5 The Head of State
Article 1
The Head of State shall be kept informed by the Prime Minister concerning the affairs of the Realm. When so required the Government shall convene in a special Cabinet meeting under the presidency of the Head of State.
Article 2
(1) Only a person who is a Swedish citizen and has attained the age of twenty-five years may serve as Head of State. The Head of State may not at the same time be a member of the Government or hold a mandate as Speaker or as a member of the Parliament.
(2) The Head of State shall consult the Prime Minister before travelling abroad.
Article 3
If by reason of illness, foreign travel, or any other cause the King is prevented from carrying out his duties, then that member of the Royal Family under the valid order of succession who is not prevented therefrom shall take over and perform the duties of the Head of State in the capacity of temporary Regent.
Article 4
(1) Should the Royal Family become extinct, the Parliament shall appoint a Regent to perform the duties of Head of State until further notice. The Parliament shall at the same time appoint a Deputy Regent.
(2) The same applies if the King dies or abdicates and the heir to the throne has not yet attained the age of twenty-five years.
Article 5
If the King has been continuously prevented for a period of six months from carrying out his duties, or has failed to carry them out, the Government shall notify the matter to the Parliament. The Parliament shall decide whether the King shall be deemed to have abdicated.
Article 6
(1) The Parliament may appoint someone, on the Government's recommendation, to serve as Temporary Regent when no one competent under Article 3 or 4 is in a position to serve.
(2) The Speaker, or, if he is prevented from attending, one of the Deputy Speakers, shall serve as Temporary Regent, on the Government's recommendation, when no other competent person is in a position to serve.
Article 7
The King cannot be prosecuted for his act or omissions. A Regent cannot be prosecuted for his act or omissions as Head of State.
รัฐธรรมนูญสวีเดนมีประเด็นที่น่าสนใจคือ อำนาจอธิปไตยของสวีเดนมาจากประชาชนและระบุไว้ชัดว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรและการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้อำนาจและตรวจสอบรัฐบาลได้ ราชบัลลังก์ปกครองโดยพระราชาหรือพระราชินีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฯในฐานะประมุขของชาติ
องค์พระประมุขจะได้รับข้อมูลจากรัฐบาลและในกรณีจำเป็นสามารถเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษโดยมีองค์พระประมุขเป็นองค์ประธานได้ ในกรณีที่ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ รัชทายาทลำดับต่อไปที่ไม่ถูกห้ามไว้ (โดยกฎหมาย) จะได้เป็นผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่ไม่มีรัชทายาทดังกล่าว รัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นประมุขชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันรัฐสภาจะแต่งตั้งรองผู้สำเร็จราชการด้วย กรณีนี้ใช้เมื่อองค์รัชทายาทยังไม่มีพระชนมายุครบ 25 ชันษาด้วย หากพระมหากษัตริย์ไม่สามารถครองราชย์ได้ติดต่อกันหกเดือนหรือทรงไร้ความสามารถ รัฐบาลจะแจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภา ซึ่งจะมีมติว่าจะให้ทรงสละราชสมบัติหรือไม่
รัฐสภาอาจแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราวด้วยการเสนอแนะของรัฐบาล และ ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการด้วยการเสนอแนะของรัฐบาลเมื่อไม่มีผู้เหมาะสมกว่า
พระมหากษัตริย์ จะไม่ถูกฟ้องร้อง หรือละเมิดใดๆได้
Japan - Constitution
Preamble
We, the Japanese people, acting through our elected representatives in the National Diet, determined that we should secure for ourselves and our posterity the fruits of peaceful cooperation with all nations and the blessings of liberty all over this land, and resolved that never again shall we be visited with the horrors of war through the action of government, do proclaim that sovereign power resides with the people and do firmly establish this Constitution. Government is a sacred trust of the people, the authority for which is derived from the people, the powers of which are exercised by the representatives of the people, and the benefits of which are enjoyed by the people. This is a universal principle of mankind upon which this Constitution is founded. We reject and revoke all constitutions, laws, ordinances, and rescripts in conflict herewith.
We, the Japanese people, desire peace for all time and are deeply conscious of the high ideals controlling human relationship, and we have determined to preserve our security and existence, trusting in the justice and faith of the peace-loving peoples of the world. We desire to occupy an honored place in an international society striving for the preservation of peace, and the banishment of tyranny and slavery, oppression, and intolerance for all time from the earth. We recognize that all peoples of the world have the right to live in peace, free from fear and want.
We believe that no nation is responsible to itself alone, but that laws of political morality are universal; and that obedience to such laws is incumbent upon all nations who would sustain their own sovereignty and justify their sovereign relationship with other nations.
We, the Japanese people, pledge our national honor to accomplish these high ideals and purposes with all our resources.
Chapter I The Emperor
Article 1 [Symbol of State]
The Emperor shall be the symbol of the State and of the unity of the people, deriving his position from the will of the people with whom resides sovereign power.
Article 2 [Dynastic Throne]
The Imperial Throne shall be dynastic and succeeded to in accordance with the Imperial House Law passed by the Diet.
Article 3 [Cabinet Approval and Responsibility]
The advice and approval of the Cabinet shall be required for all acts of the Emperor in matters of state, and the Cabinet shall be responsible therefor.
Article 4 [Rule of Law for Emperor]
(1) The Emperor shall perform only such acts in matters of state as are provided for in this Constitution and he shall not have powers related to government.
(2) The Emperor may delegate the performance of his acts in matters of state as may be provided by law.
Article 5 [Regency]
(1) When, in accordance with the Imperial House Law, a Regency is established, the Regent shall perform his acts in
matters of state in the Emperor's name.
(2) In this case, Article 4 (1) will be applicable.
Article 6 [Appointments]
(1) The Emperor shall appoint the Prime Minister as designated by the Diet.
(2) The Emperor shall appoint the Chief Judge of the Supreme Court as designated by the Cabinet.
Article 7 [Functions]
The Emperor, with the advice and approval of the Cabinet, shall perform the following acts in matters of state on behalf of the people:
1. Promulgation of amendments of the constitution, laws, cabinet orders and treaties.
2. Convocation of the Diet.
3. Dissolution of the House of Representatives.
4. Proclamation of general election of members of the Diet.
5. Attestation of the appointment and dismissal of Ministers of State and other officials as provided for by law, and of full powers and credentials of Ambassadors and Ministers.
6. Attestation of general and special amnesty, commutation of punishment, reprieve, and restoration of rights.
7. Awarding of honors.
8. Attestation of instruments of ratification and other diplomatic documents as provided for by law.
9. Receiving foreign ambassadors and ministers.
10. Performance of ceremonial functions.
Article 8 [Property Authorization]
No property can be given to, or received by, the Imperial House, nor can any gifts be made therefrom, without the authorization of the Diet.
รัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ(คงให้เป็นลักษณะเดียวกับของอังกฤษคือทรงงานแต่พิธีการเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น) การขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาตราไว้ ในกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำแนะนำและรับผิดชอบแทน
องค์พระจักรพรรดิทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องไม่ทรงมีอำนาจฝ่ายบริหาร พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐสภาเสนอ พระจักรพรรดิแต่งตั้งประธานศาลฎีกาตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ และพระราชกรณียกิจอื่นที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ห้ามมีการถวายทรัพย์สินใดๆ ของขวัญหรือทรงรับทรัพย์สินใดๆผ่านสำนักพระราชวังโดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภา
จากรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลของต่างประเทศทั้งสองประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าให้ความสำคัญต่อรัฐสภาซึ่งมีที่มาจากประชาชนไว้เป็นอย่างสูง ต่างจากประเทศไทยที่มีความพยายามบั่นทอน ทำลายระบอบรัฐสภาไทยอย่างต่อเนื่องมานับเป็นสิบๆปี (เริ่มจากการยึดอำนาจครั้งแรกของไทย) ความเจริญของประเทศไทยจึงไม่ไปถึงไหนกันอย่างที่มีหลายคนสงสัยว่า ประเทศไทยมีอาถรรพ์อะไรที่มีทุกอย่างพร้อม มีทั้งทรัพยากร ทั้งที่ตั้ง ทั้งคนไทยก็มีฝีมือดี เปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่นแล้วเกิดอะไรขึ้น
ผลสรุปก็คงอยู่ที่ประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชนผ่านทางรัฐสภานั่นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ประชาชนคนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้มข้น กดดันให้ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องฟังเสียงความต้องการของประชาชน โมเดลของสกลนครและศรีสะเกษ รวมถึงการเลือกตั้งอื่นๆอีกหลายที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนคนไทยลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตนแล้ว นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งเพราะเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ก็หมายถึงวุฒิภาวะที่จะนำประเทศก้าวหน้าไปด้วยลำพังตัวของประชาชนเองได้ ไม่ต้องมีการชี้นำจากคนดี คนเก่งอย่างที่เคยถูกล้างสมองให้เชื่อตลอดมา
ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลกไม่จำกัดไว้ที่สองประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น
และหากเป็นระบบ limited monarchy จะไม่สามารถเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารได้เลย (แม้ในอังกฤษจะมีองค์กรดังกล่าวก็ตาม) อย่างไรก็ตามในทุกกรณี รัฐสภาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ อย่างเช่นกรณีของสวีเดนที่เป็นระบบ constitutional monarchy เหมือนไทย กำหนดไว้เลยว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง
ส่วนประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันตกบางแห่งกำหนดให้รัชทายาทที่จะขึ้นครองบัลลังก์ต้องทรงปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของรัฐ ในหลายประเทศแม้แต่พระบรมราโชวาทก็ต้องผ่านการร่างจากฝ่ายบริหารด้วยเป็นต้น
และหลายท่านคงทราบแล้วว่า เมื่อประเทศภูฎานเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเมื่อเร็วๆนี้นั้น พระมหากษัตริย์ที่ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ทรงกำหนดให้รัฐสภาสามารถถอดถอนพระมหากษัตริย์ได้
สำหรับประเทศไทย หากได้ไปศึกษารัฐธรรมนูญแล้วจะพบที่มาว่าหลักการใหญ่ๆที่กำหนดว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักนั้นจริงๆเป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น และมีการละเมิดหลักที่ไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงงานด้านการบริหารเนื่องจากมีผู้แอบอ้างพระราชอำนาจใช้กลไกแทรกแซงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติอยู่ตลอดเวลาตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ได้แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารที่ใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนการทำงานของกลไกสำคัญด้านการใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆ และมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และเจ้าของบ้านนี้อย่างยิ่ง
ทางรอดของประเทศไทย บางทีอาจจะต้องทบทวนเรื่องของรัฐธรรมนูญเสียใหม่ และหากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญของไทยล้วนเป็นบริวารของฝ่ายอำนาจแฝงในประเทศไทยแล้ว การยกเอารัฐธรรมนูญในระบบ constitutional monarchy อย่างสวีเดนมาใช้ทั้งชุดหรือ ถ้าเห็นว่าจะให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงอำนาจของประชาชนแล้วจะนำระบบ limited monarchy ของญี่ปุ่นมาใช้ก็น่าจะเป็นการดีเนื่องจากประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของการปกครองระบบนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ระบบยังเป็นเช่นเดียวกัน ทำให้เหมาะกับประเทศไทย
สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุด และสามารถรักษาสถาบันฯให้คงคู่ประเทศไทยไปได้ยาวนานคือการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนมีเป้าหมายในการปกครองประเทศเดียวกันและยกเอาสถาบันฯให้อยู่เหนือการเมือง ด้วยการให้ทุกพระราชกรณียกิจมีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบแทนองค์พระมหากษัตริย์ (ด้วยการลงนามร่วมกับพระปรมาภิไธย) ดังเช่นรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2475 กำหนดไว้
หากเป็นเช่นนี้ การกล่าวหา หรือก้าวล่วงในทางมิบังควรต่อสถาบันฯก็จะไม่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมืองแทน และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเมืองได้ตลอดเวลา
ในทางตรงกันข้ามการมีสถาบันระดับรองได้แก่องคมนตรีซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ มาแสดงความเห็นทางทางการเมืองซึ่งจะถูกมองว่ากระทำไปในฐานะผู้แทนของพระมหากษัตริย์ ก็จะมีแต่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากการเมืองนั้นมีผู้ได้ และผู้เสียตลอดเวลา
การที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพยายามยกให้สถาบันฯอยู่เหนือการเมืองนั้น เป็นการถนอมรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้องและเป็นสากลทุกหนแห่งอยู่แล้ว และเมื่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดได้เสียแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด แต่ถ้าหากเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy) ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งเนื่องจากจะทรงใช้พระราชอำนาจ จึงจะถูกต่อต้านและล้มล้างได้ง่ายการมีกฎหมายรูปแบบนี้จึงจะจำเป็น แต่ประเทศไทยไม่ใช่การปกครองรูปแบบนี้
บทความนี้ไม่ได้มุ่งหมายก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แต่ต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันรักษาสถาบันฯไว้คู่กับประเทศไทย เพื่อรักษาประเพณีที่สืบเนื่องกันมายาวนาน หากศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจะปรากฏว่าผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกประเทศนั้นแท้จริงไม่ได้เกิดจากประชาชน
แต่เกิดจากเหล่าอำมาตย์ ขุนศึกและชนชั้นนำที่ช่วงชิงอำนาจกันนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น