วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความถูกต้อง แต่ไม่ใช่ความจริง

บทบรรณาธิการ - จาก "คดีอากง"จาก ′คดีอากง′

บทบรรณาธิการ

ยิ่งเวลาล่วงเลยไปนานเท่าใด เสียงกล่าวขวัญในเชิงวิชาการต่อ ′คดีอากง′ ผู้ต้องโทษจำคุก 20 ปีด้วยข้อหาว่าส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากประเด็นหลักฐานในคดี ที่เป็นหัวข้อพูดคุยถกเถียงไม่น้อยไปกว่ากัน

ก็คือสถานภาพของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขอบเขตของตัวบทกฎหมายหรือการถูกนำมาใช้ในฐานะ′เครื่องมือทางการเมือง′อย่างหนึ่ง

ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสถาบันที่คนไทยเคารพเทิดทูนและต้องการจะปก ป้องมากเสียยิ่งกว่า
นจำนวนความเห็นของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนมากนั้น มีข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าวรวมอยู่ด้วย

โดยเหตุผลว่ากฎหมายนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองซึ่งยิ่งทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายออกไป

ทั้งที่ตัวกฎหมายเองมีปัญหาและข้อบกพร่องทั้งในด้านของเนื้อหาสาระและกระบวนการในการดำเนินคดี

ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้สามารถที่จะริเริ่มคดีได้อันนำมาซึ่งการกล่าวโทษกันอย่างง่ายดาย

ขณะที่บทลงโทษของการกระทำความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่ง

ก็ให้จำคุกรุนแรงถึง15ปี
นด้านของกระบวนการ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะพบกับความยุ่งยากในการประกันตัว ทั้งชั้นตำรวจและชั้นพิจารณาคดี

′คดีอากง′ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เปรียบเทียบให้เห็นในหลายแง่มุม

อันส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยในสังคมรู้สึกอึดอัดเพราะผลการวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม

การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่เพียงการป้องกันผู้บริสุทธิ์เท่านั้นหากยังเป็นการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตย

และเป็นการพิทักษ์สถาบันสูงสุดของชาติไปด้วยในคราวเดียวกัน
วันที่ 08 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7679 ข่าวสดรายวัน


ต้องอยู่บนความเป็นจริง เพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนก็ใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกันไปตามมุมมองที่คิดว่าน่ากระทำได้ตามหลักสากล บางครั้งก็อาจไปกระทบบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ถึงแม้ไม่เหมือนประเทศเสรีนิยมอื่นๆ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสถาบันฯเป็นสถาบันสูงสุดของประเทศ ฉะนั้นการปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ จึงอยู่ที่การปรับปรุงพัฒนาการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง ไม่เหยียดสี ไม่เหยียดความคิด ของทุกภาคส่วน และที่สำคัญต้องไม่ใช้อำนาจใดๆทำลายประชาธิปไตย เพราะหมายถึงการทำร้ายชีวิตและจิตใจของเสรีนิยม


จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น