วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สันติวิธีบน1รูปแบบ 2 ระบบ


เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคมที่ผ่านมา รายการ "ตอบโจทย์" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งมีภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้จัดเวทีสนทนาหัวข้อ "คดีอากง กับ มาตรา 112" โดยมี นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน นักประวัติศาสตร์, พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาระบบเลือกตั้ง อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และอดีตอัยการ และ กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงทัศนะ ซึ่งมีประเด็นน่าสนใจมากมาย อาทิ

ข้อเสนอของนิธิที่ว่า "ความยุติธรรม" ไม่ได้ลอยอยู่บนฟ้า และไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ "ความยุติธรรม" เป็นความเห็นของมนุษย์ในแต่ละยุค, แต่ละสมัย, แต่ละแห่ง ซึ่งกรณี "อากง" กำลังแสดงให้เห็นว่า มาตรฐาน "ความยุติธรรม" ในสังคมไทย กำลังเปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ นิธิ และ กิตติศักดิ์ ยังมีความเห็นสอดคล้องคล้ายคลึงกันว่า "สถาบันพระมหากษัตริย์" และ เสรีภาพของการแสดงออกตาม "ระบอบประชาธิปไตย" ถือเป็นคุณค่าสำคัญ 2 ประการ สำหรับสังคมไทย เราจึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างคุณค่า 2 อย่างนี้ให้ดีอยู่เสมอ และไม่ควรทำให้คุณค่าทั้งสองมีความขัดแย้งกัน

นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของสังคมไทยเสนอด้วยว่า ถ้าปล่อยให้กม.หมิ่นฯ อยู่ในวินิจฉัยของคนมากเกินไป มันจะล่วงล้ำเข้าสู่สำนึกของคน กระทั่งกลายเป็น "อาชญากรรมของสำนึก" เช่น การที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมตำหนิผู้ต้องคำพิพากษา ในเรื่องที่เป็น "ความนึกคิดจิตใจของคน" ซึ่งกฎหมายไม่สามารถควบคุมได้ และไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมาย

ตามความเห็นของนิธิ ประเด็นอาชญากรรมของสำนึกนี้ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ

สำหรับการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ประเด็นที่ถูกอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในรายการตอบโจทย์ ก็ได้แก่ การมอบหมายให้องค์กร/คนกลาง องค์กร/คนใดองค์กร/คนหนึ่ง เป็นผู้ฟ้องร้องคดีดังกล่าว มิใช่ให้สาธารณชนเป็นฝ่ายฟ้องร้องดังที่ผ่านมา

ซึ่งกิตติศักดิ์ระบุว่า ที่ผ่านมา มีข้อเสนอให้ อัยการสูงสุด หรือ สำนักราชเลขาธิการ/สำนักพระราชวัง เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯ

อย่างไรก็ตาม นิธิแสดงความเห็นแย้งว่า ถ้าจะมีหน่วยงานกลางมาทำหน้าที่ดังกล่าว 1. หน่วยงานที่ว่าต้องไม่มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกับสถาบันฯ เพราะนั่นจะเท่ากับว่าสถาบันฯ กลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีที่ฟ้องร้อง และ 2. ผู้รับหน้าที่เช่นนั้น ต้องมี "ความรับผิดชอบทางการเมือง" และสามารถถูกซักฟอกวิพากษ์วิจารณ์ได้

สอดคล้องกับพนัสที่เห็นว่า ผู้จะมารับผิดชอบตรงจุดนี้ ต้องมี "ความรับผิดชอบทางการเมือง" และต้องเชื่อมโยงกับประชาชน เพราะกรณีคดีหมิ่นฯ มักเป็นเรื่อง "ทัศนะของสังคม" ซึ่งประชาชนมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยอดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้ยกโมเดลของ "คณะกรรมการลูกขุนใหญ่" อันประกอบด้วยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ทำหน้าที่พิจารณาสั่งฟ้องคดีสำคัญๆ ในสหรัฐอเมริกา มาอธิบายประกอบ

เมื่อถูกถามถึงอนาคตของสังคมไทย นิธิกล่าวว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเกินกว่าที่เราจะสามารถรักษาโครงสร้างแบบเก่าเอาไว้ได้แล้ว

ขณะที่สำหรับกิตติศักดิ์ นอกจากจะกล่าวถึงภยันตรายที่อาจเกิดกับสถาบันฯ เมื่อมีการใช้กฎหมายอย่างเกินกว่าเหตุ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นภัยมาจากผู้ที่เป็น "ราชาธิปไตย" ยิ่งกว่าองค์ราชันเสียเองแล้ว เขายังเสนอว่า ในสังคมใด หากคุณค่าเรื่องสัจจะ เหตุผล และสติปัญญา ไม่เจริญ สังคมนั้นก็จะต้องตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยอำนาจ หรือ การใช้กำลัง ทั้งที่สถาบันการเมืองต่างๆ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยปัจจัยเรื่องอำนาจแต่เพียงประการเดียว

ด้านพนัสเห็นตรงกันกับกิตติศักดิ์ว่าสังคมต้องการสัจจะ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของเขา ขณะนี้ สังคมไทยกลับถูกปกคลุมไว้ด้วยความกลัว

ช่วงท้ายรายการในเทปที่ 3 ภิญโญสรุปว่ากรณี "อากง" อาจเป็นเพียง "ยอดภูเขาน้ำแข็ง" ของปัญหาต่างๆ ในสังคมไทย เขาจึงถามผู้ร่วมรายการทั้งสามว่า ภูเขาน้ำแข็งทั้งลูกที่ซ่อนอยู่ในสังคมไทยคืออะไร? และควรทำอย่างไรจึงจะสามารถหลบหลีกภูเขาน้ำแข็งดังกล่าวไปได้พ้น? ในช่วงเวลาที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ นิยามว่า เป็น "ยุคสมัยเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย


ข้อคิดเห็นสีเลือดเดียว

ประเทศไทยปกครองด้วย 1รูปแบบ 2 ระบบ   ประชาธิปไตย เป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน   และมีสถาบันฯจึงเป็นการปกครองที่มีมุมมอง2ด้าน  1.มุมมองด้านประชาธิปไตยเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพตามหลักสากล 2. มุมมองในด้านอนุรักษ์นิยม   มุมมอง 2ด้าน เป็นมุมมองในความสำนึกของแต่ละมุมมอง  แต่ ไม่ได้สร้างความแตกแยกในประเทศ หากไม่มีการก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของกันและกัน โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย  ซึงอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน  โดยประชาชน และเพื่อประชาชน  ที่เป็นเป้าหมายของประเทศเกือบทั่วโลกไปแล้ว  และมุมมองด้านประชาธิปไตย อย่างนี้เราต้องยอมรับมีมานานแล้ว จึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพ.ศ. 2475 คงเพื่อให้ทุกมุมมองอยู่ได้อย่างสันติวิธี  ประเทศไทยจึงมีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เป็นเวลา 79 ปี  เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ที่ไม่มีเสถียรถาพทางการเมือง   และควรต้องแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกมุมมองอยู่ด้วยกันสงบสุขอย่างสันติวิธีตามระบอบประชาธิปไตยสากล และเพื่อให้มีการหลีกเลี้ยงการใช้อำนาจใดๆที่ไม่มีในระบอบประชาธิปไตย ทำการวิสามัญประชาธิไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม  ในมุมมองที่สอดคล้องกับประชาธิปไตยโลก การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ควรเป็นการสร้างเสริมชีวิตในสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดสันติวิธีประชาธิปไตยสากลเป็นมาตรฐาน       ไม่ใช่การพยายามสร้างกระแสหรือการกระทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและอิสรภาพในระบอบประชาธิปไตย  เพราะเป็นพื้นฐานนำมาซึ่งการทำลายล้างทั้งชีวิตและทรัพย์สิน  อย่างในอดีตเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศและของโลก ในประเทศ เหตุการณ์ ปี          พ.ศ.2516,2519,2535และ2549  ของโลก  สงครมโลกครั้งที่ 1-2  กระทั่งในอิรักและลิเบียเป็นต้น สุดท้ายก็ล่มสลายของผู้ที่พยายามรักษาอำนาจ หรือกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยขัดต่อเจตนารมณ์ หลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนของโลก     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น