วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กำปั้นทุบดิน


นี้เป็นกฏหมายที่ทำลายความน่าเชื่อถือในประเทศไทยไปหลายส่วนเพราะการมอบความสิ้นอิสรภาพ หรือความตายให้กับประชาชน ไม่ใช่การปกป้องสถาบันอย่างชาญฉลาด เป็นการปกป้องแบบกำปั้นทุบดิน  ยิ่งทุบยิ่งแตกแยกมากขึ้น   กฏหมายต้องบังคับใช้กับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ออกมาฆ่าคน ออกมาสร้างความวุ่นวายแล้วบอกว่าปกป้องสถาบัน  และผู้กระทำก็ไม่ได้รับการพิจารณาให้มีการลงโทษตามกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมซักราย 
ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงฯต่อไป แต่ไม่ส่งเสริมสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคลใดๆที่ใช้กฏหมายอย่างมีอคติ หรือใช้ความรุนแรงกับผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือที่ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย
มองจากอาณาจักรกรีก,อียิปต์,โรมัน,เยอรมันนี,ฝรั่งเศล,จีน,ญี่ปุน,สหภาพโซเวีต ในอดีตยิ่งใหญ่ แต่ก็ล่มสลายเปลี่ยนแปลงพัฒนามาเป็นลำดับ  ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเช่นกัน กล่าวถึงกันมากตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย,อยุธยา,ธนบุรี,และรัตนโกสินทร์ ครั้งสำคัญ พ.ศ.2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่พฤตินัยยังเป็นเผด็จการ นี้แหละที่แปลกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยฯแต่การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยอัตตาธิปไตย   อย่างเช่น ปี 2516,2519,2535 ,2549 และในปัจจุบัน ก็ยังบังคับใช้กฏหมายตามแรงเชียร์กับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่คนที่ออกมาใช้อาวุธทำร้ายประชาชนหรือดูหมิ่นประชาชน ขู่เข็นประชาชน  กลับได้รับการปกป้อง   
              
               


                                                    แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรณีอากงและกฎหมายหมิ่นฯ
                                              วันที่ 01 ธันวาคม  พ.ศ. 2554



แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง ความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในห้วงเวลาที่ความขัดแย้งในการเมืองไทยมีความรุนแรงมากขึ้น กฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมืในการใส่ร้ายป้ายสีบรรดาผู้คนที่ยืนอยู่ในฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งนำไปสู่การลงโทษอย่างรุนแรงมาอย
ต่อเนื่อง อันมีผลทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายออกไปมากขึ้นโดยที่กฎหมายนี้มีปัญหาและข้อบกพร่องปรากฏอยู่อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะทั้งในด้านของเนื้อหาสาระของกฎหมายและกระบวนการในการดำเนินคดีดังกล่าวนี้
ในด้านของเนื้อหา จะพบว่าในแง่ของการริเริ่มคดีที่เปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้สามารถที่จะริเริ่มคดีกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ  อันนำมาซึ่งการกล่าวโทษกันอย่างง่ายดายและกว้างขวาง บทลงโทษของการกระทำความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่งแต่มีโทษ

ในด้านของกระบวนการ จะพบว่านับตั้งแต่ขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะพบกับความยุ่งยากในการประกันตัว และชั้นพิจารณาคดีก็จะต้องเผชิญกับความยุ่งยากในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่มักถูกให้เหตุผลก็คือเป็นคดีที่มีโทษรุนแรงหรือเป็นคดีที่กระทบต่อสถาบัน และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึงมักจะทำให้การวินิจฉัยคดีอยู่ภายใต้แรงกดดันหรือความเชื่อซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยที่ละเลยหรือตีความที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานขอประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

ด้วยปัญหาที่กล่าวมาจึงทำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ใช่เพียงเครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ ในทางการเมืองเท่านั้น หากยังขยายรวมออกไปถึงประชาชนอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่ต้องได้รับโทษจากกฎหมายนี้อย่างไม่เป็นธรรม กรณีคำวินิจฉัยใน "คดีอากง" เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่กระทำต่อประชาชนได้อย่างง่ายดาย ทำให้เกิดการใช้กฎหมายนี้อย่างฟุ่มเฟือยโดยมีวาระทางการเมืองแอบแฝง และหากเปรียบเทียบกับการลงโทษที่เกิดขึ้นในหลายคดีที่แม้เป็นการฆาตกรรมต่อชีวิตของบุคคลอื่นก็ยังไม่ได้รับโทษเทียบเท่ากับกรณีนี้ ย่อมสะท้อนให้เห็นบทลงโทษที่รุนแรงและไม่สอดคล้องกับการกระทำที่ได้บังเกิดขึ้น

การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับกรณี "อากง" ส่งผลให้คนจำนวนมากในสังคมรู้สึกอึดอัดและไม่พอใจเพราะผลการวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเนื่องไปถึงสถาบันฯ อย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความเห็นว่าหากไม่ต้องการที่จะเปิดโอกาสให้การใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายผู้คนดังเช่นที่ได้เกิดขึ้นมา จำเป็นที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงการป้องกันผู้บริสุทธิ์จากการรังแกของกฎหมายเพียงอย่างเดียว หากจะเป็นการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น

1 ธันวาคม 2554



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น