กลยุทธ์ ปชป.ปรับปรุงอย่างไรก็เป็น ปชป.ที่คนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคอื่นๆ ไม่นิยม เพราะ เหมือนกับการขายก๋วยเตี๋ยว สูตรใครสูตรมัน และที่สำคัญการบริการของเจ้าของร้าน ฉะนั้น ร้านก๋วยเตี๋ยวเพื่อไทยจึงขายดี กว่าร้านก๋วยเตี๋ยว ปชป.และร้านอื่นๆ มาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน และคิดว่าน่าจะขายดีต่อไป ประชาชนเขาชอบรสชาติร้านไหนก็ไปกินร้านนั้น ตามหลักประชาธิปไตย จะไปใช้การข่มขู่ การใช้บารมีใดๆ ชักชวนหรือบีบบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือกล่าวหาต่างๆนานาๆให้ให้เกิดความเสียหาย สิ่งนั้น จะยิ่งเป็นการบ่อนทำลายตัวเองลงไปเรื่อยๆ จะเห็นจากผลการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง สุดท้ายจะเป็นไปไปในลักษณะที่ว่า สู้เข้าไม่ได้แล้วใส่ความคนอื่นว่าเป็นผู้ร้าย แล้วนำตำรวจและทหารเข้าจัดการ เพื่อให้ตนเองเป็นผู้ชนะและชวนเชื่อว่าเป็นความชอบธรรม สุดท้ายของสุดท้าย คือ เป็นการติดลบเส้นทางการเมืองตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตยให้กับตนเองอย่างสิ้นเชิง และในอนาคต การเมืองไทย ก็มี ปชป.เป็นฝ่ายสารพัดค้าน เพื่อไทยก็เป็นรัฐบาลสารพัดประโยชน์ และเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ต่อไป
วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรไทย สมัยกรุงธนบุรี
ความยุติธรรมมีอยู่ในโลกประชาธิปไตย
วันพุธ, ธันวาคม 28, 2011
229ปีตากสินมหาราช:กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้
ทางราชการได้ถือเอาวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี อันเป็นวันปราบดาภิเษกของพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นวันรำลึกถึงพระองค์ท่าน จากปกติมักถือธรรมเนียมเอาวันสวรรคตเป็นวันรำลึกถึงมหาวีรกษัตริย์ แต่เนื่องจากวันสวรรคตของพระองค์ท่านตรงกับ 6 เมษายน ได้ถือเป็นวันจักรีแล้ว จึงได้กำหนดวันพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีแทน อันแผกจากธรรมเนียม
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
28 ธันวาคม 2554
แม้ทหารที่จงรักภักดีกับพระเจ้าตากสิน จะพร้อมพลีชีพเพื่อพระองค์ แต่ก็มีพระราชดำรัสว่า “สิ้นบุญพ่อแล้ว อย่าให้ยากแก่ไพร่เลย” พระองค์ถูกประหารชีวิต เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 พร้อมกับเชื้อพระวงศ์และขุนนางกว่า 150 คน รวมถึง พระยาพิชัยดาบหักด้วย
อย่างไรก็ตามทางราชการได้ถือว่าวันพระเจ้าตากสินมหาราช ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม อันเป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของพระองค์ท่าน จากปกติมักถือธรรมเนียมเอาวันสวรรคตเป็นวันรำลึกถึงมหาวีรกษัตริย์ แต่เนื่องจากวันสวรรคตของพระองค์ท่านตรงกับวันที่ 6เมษายน ได้ถือเป็นวันจักรีแล้ว ประวัติศาสตร์จึงต้องได้กำหนดวันพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีแทน อันแผกจากธรรมเนียม
ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูน และเคารพบูชาจากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ไม่เพียงเพราะพระปรีชาสามารถในการรบที่กอบกู้ชาติไทยให้เป็นเอกราช และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญูและเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนอีก
ระหว่างการโฆษณาชวนเชื่อกับการเมืองที่เป็นจริงกรณีพระเจ้าตากvsรัชกาลที่1
เรื่องหนึ่งที่กลายเป็นblack propagandaที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ไทยก็คือ การโฆษณาชวนเชื่อว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งพระราชจักรีวงศ์นั้นไม่ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจและประหารชีวิตพระเจ้าตากสินมหาราชแต่ประการใด แต่เป็นข้อตกลงลับของพระเจ้าตากสินกับพระพุทธยอดฟ้าที่จะให้พระเจ้าตากสินลงจากบัลลังก์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ไทยไม่มีเงินไปชำระหนี้จีนในช่วงยืมเงินมากู้ชาติ หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 จากนั้นพระเจ้าตากได้แอบหนีไปบวช และมีชีวิตต่อมาในเพศภิกษุที่นครศรีธรรมราช
การโหมโฆษณาชวนเชื่อนี้ทำให้คนไทยชั้นหลังๆจำนวนมากเชื่อตามไปเช่นนั้นจริงๆ แต่หากจะตั้งข้อสงสัยซักเล็กน้อยว่า ในหน้าประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรไทยนั้นไม่เคยมีครั้งใดที่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้เลย และประการสำคัญก็คือพระเจ้าตากสินนั้นมีรัชทายาทที่จะสืบทอดราชบัลลังก์อยู่แล้ว...ด้วยเหตุใดเล่า จึงจะไปยกราชสมบัติให้กับ"ท่านอื่น"
ความจริงนั้นปรากฎเป็นหลักฐานเอกสารชั้นต้นว่า พระเจ้าตากสินถูกยึดอำนาจ ถูกประหารชีวิต รัชทายาทและขุนนางใกล้ชิด รวมทั้งพระกุมารเล็กๆก็ถูกสังหารเกือบเรียบ ยกเว้นพระราชโอรสที่บังเอิญเกิดกับสนมที่เป็นลูกของรัชกาลที่1 หรือมีศักดิ์เป็นหลานรัชกาลที่1ของราชวงศ์จักรีที่รอดมาได้ อย่างไรก็ตามเมื่อรัชกาลที่1สวรรคตเพียง7วัน รัชทายาทคนสุดท้ายเชื้อสายของพระเจ้าตากก็ถูกสังหาร เพื่อขจัดเสี้ยนหนามไม่ให้เหลือซาก
หากมองด้วยสายตาของคนในยุคนั้น การปราบดาภิเษกดังกล่าว นักวิชาการเห็นว่าเป็นธรรมเนียมโบราณราชประเพณีโดยปกติ หาใช่การทรยศหักหลังแต่ประการใด ดังที่เคยเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้เรื่อยมาในหน้าประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรไทย
วาระสุดท้ายของมหาราชชาตินักรบ?
ดังที่ทราบกันดีว่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แล้ว พระเจ้าตากสินที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน(ซึ่งเป็นที่ดูถูกของคนไทยสมัยนั้น แม้กระทั่งเวลาต่อมาอีกนับร้อยๆปี) ก็นำทัพกอบกู้เอกราชให้แก่ไทย แล้วสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีใหม่
ทรงรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นแล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2311 พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 เมษยา 2325 แม้จะมีคำบอกเล่าเชิงตำนานไว้บางสำนวนว่า พระองค์ได้หลีกทางให้พระยาจักรี สถาปนาราชวงศ์ใหม่ด้วยเหตุผลบางประการ และพระองค์ได้ดำรงพระชนม์ชีพอย่างสงบในสมณเพศสืบมา
แต่นั่นก็เป็นเพียงประวัติศาสตร์กระซิบ การนั่งทางใน หรือการนิมิต ทว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ชี้ว่าพระองค์ถูกพระยาจักรี สั่งให้สำเร็จโทษเพื่อปราบดาภิเษกราชวงศ์ใหม่ และมีการกำจัดเสี้ยนหนามตามมาอีกหลายระลอก
กรณีของพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นนับว่าประหลาดไปจากกรณีอื่นที่กล่าวมาแล้ว คือการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนสวรรคตลง แล้วเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ และการถูกประหารชีวิตนั้นกรณีอื่นๆมีการจับสึกจากสมณเพศก่อน แต่ในกรณีพระเจ้าตากสินนั้นบางหลักฐานชี้ว่า อาจเป็นไปได้ว่าถูกสั่งสำเร็จโทษประหารชีวิตด้วยการตัดพระเศียร ขณะที่ดำรงสมณเพศอยู่ก็เป็นได้
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในหนังสือ”การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี" หน้า 575 ว่า*
" ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้"
"ชำแหละแผนรัฐประหารยึดกรุงธนบุรี"
ในบทความเขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง ได้ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารไว้ว่า:
แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2324 ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา เวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้
แรมเดือน 4 พ.ศ. 2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุญนาค นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อกบฎขึ้น ชักชวนกันซ่องสุมประชาชนจะไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้ กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2325 ทัพพระยาสรรค์ได้เข้าล้อมกำแพงพระนคร รบกับกองทัพซึ่งรักษาเมืองจนถึงเช้า ครั้นรุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบัญชาให้หยุดรบ พระยาสรรค์ก็ถวายพระพรให้ทรงผนวช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงออกผนวชเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2325 วันรุ่งขึ้น พระยาสรรค์ก็ออกว่าราชการชั่วคราว
แต่มาภายหลัง พระยาสรรค์ได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาช่วยกันรบป้องกันพระนครจากกองทัพพระยาสุริยอภัย ทั้งสองทัพรบกันเมื่อราว 2-3 เมษายน พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์และกรมอนุรักษ์สงครามแตกพ่ายไป
จนเมื่อถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี
เมื่อมาถึงก็ชำระความถึงการกบฏ และอ้างอิงไปถึงว่าต้นเหตุเกิดจากความวิปลาสของพระเจ้าตากฯ จึงให้ชำระโทษไปเสียทั้งหมดโดยนำตัวไปประหารชีวิต และปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ขณะที่ปรีดา ศรีชลาลัย กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินฯไว้ในบทความเรื่อง”ปีสุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนธันวาคม 2524 ว่า”สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกปลงพระชนม์ ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (คือวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันนี้) รวมวันตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวชจนถึงวันถูกปลงพระชนม์ เป็น 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ ไม่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์ หรือสวรรคต ก็เพื่อยืนยันว่า พระองค์ท่านถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ จึงใช้คำว่าดับขันธ์ เพื่อให้เข้าใจว่ามิได้สวรรคตเมื่อลาผนวชออกมา ความจริงพระองค์ดำรงสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพ เมื่อการปลงพระชนม์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง (เวลานั้นยังเรียกวัดบางยี่เรือ)”
ปรีดานำเสนอว่า ปฐมเหตุนั้นมาจากการที่เกิดความวุ่นวายทางการเมืองของเวียดนาม เมื่อพวกกบฏไตเซินได้ก่อการรัฐประหารต่อพระเจ้าเวียดนามยาลอง พ่ายแพ้ถอยร่นลงมาทางใต้ แล้วหวังจะได้กำลังฝ่ายเขมรเข้ามาช่วยสู้รบ จึงเข้าไปแทรกแซงการเมืองเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย
พระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระมหาอุปราช องค์รัชทายาทเป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาจักรี(ด้วง) เจ้าพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา น้องชายเจ้าพระยาจักรี ด้วง)และพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศ เหล่านี้เป็นแม่ทัพรองๆลงมา ไปจัดการปราบ และเพื่อมิให้ญวนลุกลามเข้ามายึดเมืองเขมรเป็นที่มั่น โดยโปรดให้กองทัพไทยออกไปในเดือนยี่ ปีฉลู ตรงกับพ.ศ.2324
แทนที่จะจัดการปัญหาได้ตามแผน ปรีดาได้อ้างถึงพงศาวดารญวน ฉบับนายหยงทหารปืนใหญ่ แปล(เล่ม 2 หน้า 378)ว่า เรื่องผิดคาดหมด เพราะกองทัพไทยที่ยกออกไปครั้งนั้นทำงานต่างกัน แม่ทัพใหญ่พยายามจะรุดหน้าไป ฝ่ายแม่ทัพรองบางนายหาทางยับยั้งเสีย เพื่อหน่วงคอยฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี เวลานั้นญวนได้ส่งกองทหารเข้าไปช่วยอยู่ในเมืองเขมรบ้าง แต่ไม่มากนัก ว่ากันตามส่วนกำลังที่ทั้งสองฝ่ายมีและจะต้องสู้กันอย่างแตกหัก อย่างไรเสียก็ควรจะหวังได้ว่ากองทัพไทยต้องทำงานได้ผลดีเป็นแน่ หากงานที่ทำนั้นไม่มีเรื่องอื่นเข้าแทรกแซง เพราะฝ่ายญวนอ่อนเต็มทีแล้ว ย่อมจะต้องการหย่าศึกกับไทยมากกว่า เพราะญวนมีภาระจะต้องสู้รบกับพวกราชวงศ์เล้(กบฏไตเซิน) ซึ่งกำลังตีรุกลงมาจากทางเหนืออย่างรุนแรง ถ้าขืนรบกับไทยเข้าอีก จะถูกตีกระหนาบสองหน้า อาจถึงเหลวแหลกหมดทางตั้งตัว
เพราะฉะนั้นเพื่อหาทางดีกับไทย แม่ทัพญวนชื่อเหงวียงหึวถว่าย จึงลอบแต่งทูตมาทาบทามทางแม่ทัพรองฝ่ายไทย พงศาวดารญวน เล่ม 2 หน้า 382 บันทึกไว้ว่านับเป็นโชคดีของญวน เป็นอันสมประสงค์ของแม่ทัพญวนโดยง่ายดาย เพราะว่าแม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ต้องการจะให้กองทัพญวนและเขมรร่วมมือในทางลับอยู่เหมือนกัน และท่านแม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ยินดีจะช่วยกำลังแก่ญวนตามสมควรในโอกาสต่อไป เมื่อทำงานลับเสร็จสมหมายแล้ว แม่ทัพญวนกับแม่ทัพรองฝ่ายไทยได้ลอบทำสัญญาลับทางทหารต่อกัน ฝ่ายแม่ทัพญวนหักกระบี่และคันธงออกเป็น ๒ ท่อน แล้วแบ่งให้ไว้ฝ่ายละครึ่งตามธรรมเนียม เพื่อเป็นเครื่องหมายในการทำสัญญา ต่อจากนั้น แม่ทัพรองฝ่ายไทยก็ให้ญวนล้อมกองทัพสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ และทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศ ไว้อย่างแน่นหนา ตรึงทัพทั้งสองมิให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนตนรีบเดินทัพย้อนกลับมากรุงธนบุรีโดยด่วน
ส่วนทางด้านกรุงธนบุรี มีผู้ยุยงชาวกรุงเก่าให้เกิดเข้าใจผิดในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และชักชวนทำการกบฏย่อยๆขึ้น ผู้ยุยงตัวสำคัญซึ่งแอบขึ้นไปตั้งทำการยุที่กรุงเก่า มี 3คน คือ นายบุนนาค, หลวงสุระ,หลวงชะนะ รวบรวมผู้คนตั้งเป็นกองรบเข้ารุมทำร้ายผู้รักษากรุงเก่า แล้วเดินทางมายังกรุงธนบุรี ในเดือน 4 แรม 11 ค่ำ ถึงกรุงธนบุรีในตอนดึก ก็เริ่มยิงพระนครทันที ยังมีพวกกบฏแอบแฝงซ่องสุมอยู่ในกรุงธนบุรีอีก มีหลวงสรวิชิต (หน) เป็นต้น ก็ก่อการจลาจลขึ้นรับกับพวกกบฏที่ยกมาจากกรุงเก่า
ในชั้นต้น พวกกบฏขอให้พระสงฆ์เข้าไปถวายพระพร ทูลขอให้พระองค์เสด็จออกทรงผนวชเพื่อสะเดาะพระเคราะห์เมืองสัก 3 เดือน สมเด็จพระเจ้าตากสินฯทรงรับคำทูล โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ปรึกษาดูตามความสมควร เวลานั้นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีพระยาสรรคบุรี (บรรพบุรุษแห่งสกุลแพ่งสภา) พระยารามัญวงศ์ (มะซอน บรรพบุรุษแห่งสกุลศรีเพ็ญ) เป็นต้น ล้วนแต่ซื่อสัตย์จงรักภักดีในพระองค์อย่างยิ่งยวด ข้าราชการเหล่านั้นคงจะได้คำนึงถึงกำลังส่วนใหญ่ที่ต้องส่งออกไปภาคตะวันออก จะทำผลีผลามลงไปในขณะนี้ ฉวยว่ามีการผันแปรต่างประเทศด้านอื่นเกิดขึ้นแทรกแซง จะเรียกกำลังจากภาคตะวันออกกลับมาไม่ทันท่วงที
อีกประการหนึ่งพวกราษฎรก็ถูกปลุกปั่นให้เข้าใจผิดโดยการโฆษณาชวนเชื่อว่าพระเจ้าตากสินทรงมีพระสัญญาณวิปลาส คือเป็นบ้า หลงผิดว่าบรรลุโสดาบัน ทำการสั่งสอนพระสงฆ์ หากพระสงค์องค์ใดไม่ยินยอมก็ถูกจับเฆี่ยนตี(ซึ่งเป็นกล่าวหาที่ร้ายแรงมากที่สุดในเวลานั้น เป็นโทษฐานอนันตริยกรรมทีเดียว) ความเข้าใจผิดอาจลุกลามไปมาก ในเมื่อไม่รีบหาทางแก้ไข เสียแต่ในชั้นต้น ฉะนั้นควรจะมีทางมองเห็นทางเดียวที่ควรกระทำก่อน คือขอให้ทรงยอมตามความประสงค์ ดังที่พวกกบฏขอให้พระสงฆ์ทูลแล้วนั้น
พระเจ้าตากสินฯซึ่งสิ้นไร้ทั้งกำลัง และถูกโฆษณาชวนเชื่อว่าร้ายอย่างหนักหน่วงให้ขาดการสนับสนุนจากมวลชน ก็ได้ตกลงเสด็จออกทรงผนวช วันอาทิตย์ เดือน 4 แรม 12 ค่ำที่วัดแจ้ง อันเป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง (เช่นเดียวกับวัดพระแก้วมรกตในวังหลวงทุกวันนี้) ในการเสด็จออกทรงผนวชนี้ ความจริงหาขาดจากพระราชตำแหน่งไม่ เพราะมีกำหนดแน่นอน ว่าจะเสด็จนิวัติกลับสู่ราชบัลลังก์ ภายหลังเมื่อทรงผนวชแล้ว 3 เดือน ส่วนราชการบ้านเมืองก็มีข้าหลวงรักษาพระนครตามธรรมเนียม
พระเจ้าตากสินทรงผนวชแล้ว 12 วัน พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) หลานเจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ซึ่งโปรดให้ออกไปเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ยกทัพมาจากนครราชสีมา โดยมิได้รับพระบรมราชานุญาต (ซึ่งถือเป็นพฤติการณ์กบฎในสมัยนั้น แม้กระทั่งสมัยนี้หากเคลื่อนย้ายกำลังโดยไม่มีคำสั่ง)
แต่ในพงศาวดารว่าเจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ให้รีบยกเข้ามาฟังเหตุการณ์ในกรุงก่อน (ดูพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 3) พวกกบฏมีนายบุนนาค หลวงสุระเป็นต้น เข้าสมทบกับพระยาสุริยอภัย (ทองอิน)
กาลครั้งนั้นพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงครามจึงระดมกำลังเท่าที่จะหาได้ในเวลานั้น รีบยกไปตีกองทัพพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) ที่ตำบลบ้านปูน ณ วันอังคาร ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นเวลาภายหลังที่พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เดินทัพเข้ามาในกรุง และตั้งมั่นอยู่ 11 วัน แต่กำลังของกรมขุนอนุรักษ์สงครามไม่สามารถตีทำลายกองทัพพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) ลงได้ตามความประสงค์ เพราะกำลังน้อยกว่า ต้องล่าถอยไปทางวัดยาง ในที่สุดถูกพวกพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) จับได้ พระยาสุริยอภัย (ทองอิน)จึงขยายวงค่ายแผ่กว้างออกมา จนใกล้พระราชวังหลวง
เมื่อกรมขุนอนุรักษ์สงครามถูกจับแล้ว 3 วัน พอเช้าวันที่ 6 เมษายน 2325 เจ้าพระยาจักรี (ด้วง) ก็รีบเดินกองทัพใหญ่มาถึงพระนคร ได้มีการสอบถามความเห็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก(ซึ่งส่วนมากก็ล้วนอยู่ในสายของพระยาจักรีนั่นเอง) ว่าเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้แล้วจะควรทำอย่างไรต่อไป
บรรดาข้าราชการที่ยังจงรักภักดีในพระองค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน และเชื่อในพระราชปรีชาสามารถ ของพระองค์ ก็ยืนคำว่าควรไปกราบทูลอัญเชิญเสด็จ ขอให้ทรงลาผนวชออกมาครองราชสมบัติบริหารการแผ่นดินโดยด่วน หาไม่ก็ควรยกราชสมบัติให้รัชทายาทของพระองค์แทน เพราะมีรัชทายาทหลายพระองค์ ในเรื่องนี้ได้ความตามคำบอกเล่าจากเจ้านายบางองค์ในราชวงศ์จักรีว่า ข้าราชการพวกที่กล้าพูดเช่นนั้น ในที่สุดก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด
ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากก็ถูกปลงพระชนม์ในวันนั้นเอง ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (คือวัดอรุณราชวราราม ปัจจุบันนี้) รวมวันตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวช จนถึงวันถูกปลงพระชนม์ เป็น 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ ไม่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์หรือสวรรคต ก็เพื่อยืนยันว่า พระองค์ท่านถูกปลงพระชนม์ทั้งที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ จึงใช้คำว่าดับขันธ์ เพื่อให้เข้าใจว่ามิได้สวรรคตเมื่อลาผนวชออกมา ความจริงพระองค์ดำรงสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพ
เมื่อการปลงพระชนม์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู คลองบางหลวง (เวลานั้นยังเรียกวัดบางยี่เรือ) บรรดาศพข้าราชการที่จงรักภักดีในพระองค์ มีเจ้าพระยานครราชสีมา (บุญคง ต้นสกุลกาญจนาคม) พระยาสรรค์ (บรรพบุรุษสกุลแพ่งสภา) พระยารามัญวงศ์ (ต้นสกุลศรีเพ็ญ) พระยาพิชัยดาบหัก (ทองดี ต้นสกุลวิชัยขัทคะ และพิชัยกุล) เป็นต้น จำนวนมากกว่า 150 นาย ก็ถูกฝังเรียงรายใกล้พระศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น
ฝ่ายพระราชวงศ์ของพระเจ้าตากสินที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายชั้นทรงพระเจริญวัยก็ถูกจับปลงพระชนม์หมด เอาไว้แต่ที่ทรงพระเยาว์ และเจ้าหญิง ถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม เหมือนกันทุกพระองค์ แม้จนกระทั่งสมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระน้านาง เป็นการถอดอย่างที่ไม่เคยมีมา ฝ่ายเจ้าพระยาอินทวงศา อัครมหาเสนาธิบดีฝ่ายกลาโหม ขณะนั้นตั้งวังปราบบัญชาการทัพอยู่ที่ปากพระ ใกล้เมืองถลาง ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินฯถูกปลงพระชนม์แล้ว ก็ฆ่าตัวตายตามเสด็จ เพราะไม่ยอมเป็นข้าคนอื่น
ยังเหลือไว้แต่กรมขุนกษัตรานุชิต(เจ้าฟ้าเหม็น)ราชโอรสที่เกิดแต่ลูกสาวของพระยาจักรีที่ไว้ชีวิต(แต่เมื่อรัชกาลที่1สวรรคตลง ก็มีการหาเหตุขจัดเสี้ยนหนามในที่สุด โดยอ้างว่าเจ้าฟ้าเหม็นจะทำการกบฎ โดยมีหลักฐานคือกาได้คาบข่าวมาบอกว่าเจ้าฟ้าเหม็นจะก่อกบฎ..)
ส่วนความเกี่ยวข้องกับญวน ตามสัญญาลับ ไทยต้องช่วยญวนต่อรบกับพวกราชวงศ์เล้ (ที่เรียกพวกกบฎไตเซิน) 2 ครั้ง และช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน ผลสุดท้ายเมื่อญวนกลับตั้งราชวงศ์องเชียงสือสำเร็จ มีอำนาจใหญ่โตขึ้น ไทยต้องเสียเมืองพุทไธมาศแก่ญวน
พงศาวดารจากการบันทึกความทรงจำของคนร่วมสมัยระบุด้วยว่า หลังจากประหารชีวิตพระเจ้าตากไปไม่นาน มีการขุดพระบรมศพขึ้นถวายพระเพลิง พระพุทธยอดฟ้าและกรมพระราชวังบวรฯเสด็จไปทอดพระเนตร เห็นนางในน้อยใหญ่ร้องไห้รักอาลัยพระเจ้าตากก็ทรงกริ้ว สั่งเฆี่ยนนางในเหล่านั้น
อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เขียนถึงพระราชอุตสาหะและน้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในบทความเรื่อง พระเจ้าตากสินมหาราช กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในยุคกรุงธนบุรี ว่า คงเป็นเพราะการศึกสงครามที่ยังมีอยู่แทบตลอดรัชกาลนั่นเอง ซึ่งปัญหาความอดอยากนี้ นับว่าเป็นปัญหาหนักทีเดียว จนพระองค์ถึงกับเคยเอ่ยพระโอษฐ์ด้วยความทุกข์พระทัยว่า
“...บุคคลผู้ใด เป็นอาทิ คือ เทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์ มากระทำ ให้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้ผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้ ความกรุณาเป็นสัตย์ฉะนี้...”
จากพระราชปรารภข้างต้น คงจะทำให้เราได้เห็นน้ำพระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ว่าทรงตั้งใจเสียสละเพื่อราษฎรเพียงใด ตลอดรัชกาล พระองค์ต้องคิดทั้งเรื่องการรบข้าศึกศัตรู คิดเรื่องการฟื้นฟูและทำนุบำรุงบ้านเมือง คิดถึงการแก้ปัญหาปากท้องราษฎร แต่ละเรื่องนับเป็นภาระที่หนักยิ่ง
หากมิใช่เพราะพระปรีชาสามารถ น้ำพระทัยที่ห้าวหาญ และความเสียสละของพระองค์ท่านแล้ว คงยากที่คนไทยเราจะมีวันนี้ได้
ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก
#กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(วังหน้าพระยาเสือ)
ภายหลังเจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าขึ้นเป็นรัชกาลที่ 1 แห่งพระราชจักรีวงศ์นั้น สมเด็จพระอนุชาในรัชกาลที่ 1 คือ กรมพระราชวังบวรฯ(บุญมา) เสด็จลงมาเฝ้าฯ กราบทูลว่าบรรดาบุตรชายน้อยๆ ของเจ้าตากสิน จะรับพระราชทานเอาไปใส่เรือล่มน้ำเสียให้สิ้น คำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามไปภายหน้า" (พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, คลังวิทยา, ๒๕๑๖, น. ๔๖๐)
อย่างไรก็ดีลูกของพระเจ้าตากสินองค์หนึ่งเหลือรอดมาได้ คือเจ้าฟ้าเหม็น เพราะเป็นหลานของรัชกาลที่ 1 ได้ขอยกเว้นชีวิตไว้ และโปรดสร้างวังท่าพระให้อยู่(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร)แต่พอต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 สวรรคตได้เพียง 7 วัน และผลัดแผ่นดินมาสู่รัชกาลที่ 2 พระราโชบายที่เคยมีมาแต่ต้นรัชกาลก็มาประสบผล
โดยคดีนี้พิลึกพิลั่นว่า อีกาได้คาบข่าวมาบอกว่าเจ้าฟ้าเหม็นจะก่อการกบฎแย่งชิงราชบัลลังก์ ในที่สุดก็มีการตั้งตุลาการขึ้นชำระความ ซึ่งตุลาการสมัยโน้นก็คงอาการประมาณเดียวกับสมัยนี้หละกระมัง คือหาหลักฐานไม่พบ โดยมีความตอนหนึ่งว่าไว้ดังนี้
มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ว่า อ้ายเมืองให้การถึงหม่อมเหม็น ทั้งนี้ยังเลื่อนลอยอยู่เห็นหาจริงไม่ แต่ทะว่าเป็นความแผ่นดิน จึงให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ตริตรองชำระเอาความจริง
ตุลาการศาลยุติธรรมในเวลานั้นตริตรองแล้วก็ชำระความออกมา ด้วยการที่เจ้าฟ้าเหม็นทรงถูกถอดยศเป็น "หม่อมเหม็น" นำไปสำเร็จโทษที่วัดปทุมคงคา ส่วนพระโอรส 6 พระองค์ของเจ้าฟ้าเหม็นก็ต้องโทษ "ตัดหวายอย่า่ไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก" คือ หม่อมเจ้าชายใหญ่ หม่อมเจ้าชายสุวรรณ หม่อมเจ้าชายหนูเผือก หม่อมเจ้าชายสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชายเล็ก และ หม่อมเจ้าชายแดง ทรงถูกนำไป "ถ่วงน้ำ" ที่ปากอ่าว
ก็เป็นอันว่าพระราโชบายที่กำหนดไว้นับแต่ปราบดาภิเษกสถาปนาพระราชจักรีวงศ์ ก็มาบรรลุผลในตอนหลังรัชกาลที่ 1 สวรรคตลงเพียง 7 วันนั่นแล
แม้จะสิ้นวงศ์ไปแล้ว และแม้เหตุการณ์ผ่านไปนานถึง 229 ปี แต่กฤษฎาภินิหารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นก็บดบังมิได้..
******
“แต้อ๊วง”ในมุมมองลูกหลานจีนVSพระเจ้าตากสินบวชเป็นพระที่เมืองนครตามการโฆษณาชวนเชื่อ
วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย
จุดมุ่งหมายของประชาธิปไตย คือ การทำให้ทุกคนสามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ทุกระดับ ทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยไม่เป็นภัยต่อประชาธิปไตย ภัยต่อชีวิตมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นภัยยาเสพติด ภัยอาชญากรรมต่างๆเป็นต้น ทั้งระดับประเทศและระดับโลก การกระทำใดๆที่เป็นภัยต่อประชาธิปไตย ต่อชีวิตมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถื่อว่าการกระทำนั้นๆเป็นการทำลายประชาธิปไตยสากล และเป็นทำลายมนุษยชาติ สมควรได้รับการประณามว่าเป็นอาชญากรของโลก และฆาตกรมนุษยชาติ
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปกป้องสถาบันเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน
โดยสีเลือดเดียว
การนำบทความข้างล่างนี้มาเผยแพร่ ไม่มีเจตนาหลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันใด แต่เป็นไปเพื่อการสร้างความสันติทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแบบสากล ให้กับประเทศอย่างแท้จริง โลกสมัยใหม่ที่มนุษย์จะอยู่กันอย่างสันติสุขที่แท้จริงคือ ระบอบประชาธิปไตยแบบสากล เพราะพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่มีใครยอมรับใครได้ทั้งหมด แต่ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกันบนความคิดที่แตกต่างตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้กระทั่งในทางศาสนา ยังมีหลายศาสนา ไม่มีเทพเจ้า หรือศาสดาของศาสนาใดทำให้มนุษย์มีความเชื่อ หรือนับถือศาสนาเดียวกันได้ทั้งประเทศ หรือทั้งโลก ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องประชาชนทางการเมืองทุกคนจากการใข้อำนาจรัฐในทางมิชอบ เพื่อปกป้องสถาบันอย่างแท้จริง และเพื่อสร้างความเจริญให้ชาติบ้านเมือง
มองจากรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ฉบับปัจจุบัน เหล่านายทหารระดับนายพลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านประชาธิปไตย นำโดยนายพลแมคอาเธอร์ เป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญโชวะ ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีส่วนใดที่จะทำให้มีการลักลั่นใช้อำนาจใดๆขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือทำลายอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน จึงถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์อีกฉบับหนึ่งของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
โดย Pegasus
7 สิงหาคม 2552
บทความเกี่ยวเนื่อง:บทบาทและพระราชอำนาจของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ในขณะที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติการเมือง เกิดการแบ่งฝ่าย และมีหลักฐานชัดขึ้นทุกขณะแม้จนถึงขณะนี้ ว่ามีกลุ่มบุคคลที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ นอกเหนือระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในทางใดๆเลย แต่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการ บีบบังคับให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการในเชิงอำนาจของกลุ่มพวกตน และเป็นต้นเหตุของการใช้กำลังในการยึดอำนาจ การปราบปรามประชาชนมาโดยตลอด ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประการสำคัญคือกลุ่มคนเหล่านี้ได้อาศัยพระราชอำนาจในการอ้างอิงว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดี ทำให้กระทบกระเทือนต่อพระเกียรติยศของสถาบันเบื้องสูง
จากเหตุผลดังกล่าว การกลับมาศึกษาหลักการเบื้องต้นว่าด้วย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันอีกสักรอบด้วยความใส่ใจในรายละเอียด ไม่มองข้ามๆให้ผ่านๆไปเหมือนที่เป็นมาจนเคยชิน ก็อาจทำให้พบคำตอบสำหรับประเทศไทยได้บ้าง
บทความต่อไปนี้จะให้ความสำคัญต่อความหมายของระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศสวีเดน และญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เข้มแข็งและมีความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เพื่อการเปรียบเทียบประเด็นสำคัญบางประการในทางการเมือง
ส่วนที่จะแตกต่างจากประเทศไทยอย่างไรก็ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเอาจากรัฐธรรมนูญของไทยตามความสะดวก
เจสัน โยนัน (Jason Yonan) ได้เสนอว่าระบบการปกครองมี 2 รูปแบบคือแบบประธานาธิบดี และแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เฉพาะระบอบหลังนี้แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ระบอบกษัตริย์มีอำนาจจำกัด (limited monarchy) ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) และสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy)
รูปแบบแรกตัวอย่างได้แก่ประเทศอังกฤษที่พระมหากษัตริย์เป็นแต่เพียงพิธีการเท่านั้นไม่มีอะไรมากกว่านี้ (A limited monarchy merely has a royal family for ceremonies and in keeping with tradition)
รูปแบบที่สองซึ่งมีใช้กันในยุโรปมากกว่าตัวอย่างได้แก่ประเทศสวีเดนที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น (the monarch has powers granted to him/her by the country’s constitution)
ส่วนรูปแบบที่สามเป็นระบอบกษัตริย์ซึ่งเข้าใจกันดีอยู่แล้วที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจด้วยพระองค์เอง (the monarchy has supreme and absolute authority to do what it wishes) ตัวอย่างนี้ได้แก่ประเทศ ซาอุดิอาราเบีย เป็นต้น
ระบอบการปกครองที่บทความนี้สนใจได้แก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งประเทศไทยใช้ระบอบเดียวกันนี้ในทางการเมือง
การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญจึงขอเริ่มจากประเทศสวีเดนก่อนจากนั้นจึงเป็นประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการรักษาตัวบทของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศไว้ จึงจะนำมาลงไว้เป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วจะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญไว้ด้านล่างของแต่ละส่วนเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มั่นใจว่าการแปลโดยสรุปความนั้นไม่มีความผิดพลาดจากความหมายเดิม ดังนี้
รัฐธรรมนูญสวีเดนมีประเด็นที่น่าสนใจคือ อำนาจอธิปไตยของสวีเดนมาจากประชาชนและระบุไว้ชัดว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรและการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้อำนาจและตรวจสอบรัฐบาลได้ ราชบัลลังก์ปกครองโดยพระราชาหรือพระราชินีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฯในฐานะประมุขของชาติ
องค์พระประมุขจะได้รับข้อมูลจากรัฐบาลและในกรณีจำเป็นสามารถเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษโดยมีองค์พระประมุขเป็นองค์ประธานได้ ในกรณีที่ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ รัชทายาทลำดับต่อไปที่ไม่ถูกห้ามไว้ (โดยกฎหมาย) จะได้เป็นผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่ไม่มีรัชทายาทดังกล่าว รัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นประมุขชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันรัฐสภาจะแต่งตั้งรองผู้สำเร็จราชการด้วย กรณีนี้ใช้เมื่อองค์รัชทายาทยังไม่มีพระชนมายุครบ 25 ชันษาด้วย หากพระมหากษัตริย์ไม่สามารถครองราชย์ได้ติดต่อกันหกเดือนหรือทรงไร้ความสามารถ รัฐบาลจะแจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภา ซึ่งจะมีมติว่าจะให้ทรงสละราชสมบัติหรือไม่
รัฐสภาอาจแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราวด้วยการเสนอแนะของรัฐบาล และ ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการด้วยการเสนอแนะของรัฐบาลเมื่อไม่มีผู้เหมาะสมกว่า
พระมหากษัตริย์ จะไม่ถูกฟ้องร้อง หรือละเมิดใดๆได้
รัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ(คงให้เป็นลักษณะเดียวกับของอังกฤษคือทรงงานแต่พิธีการเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น) การขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาตราไว้ ในกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำแนะนำและรับผิดชอบแทน
องค์พระจักรพรรดิทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องไม่ทรงมีอำนาจฝ่ายบริหาร พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐสภาเสนอ พระจักรพรรดิแต่งตั้งประธานศาลฎีกาตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ และพระราชกรณียกิจอื่นที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ห้ามมีการถวายทรัพย์สินใดๆ ของขวัญหรือทรงรับทรัพย์สินใดๆผ่านสำนักพระราชวังโดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภา
จากรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลของต่างประเทศทั้งสองประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าให้ความสำคัญต่อรัฐสภาซึ่งมีที่มาจากประชาชนไว้เป็นอย่างสูง ต่างจากประเทศไทยที่มีความพยายามบั่นทอน ทำลายระบอบรัฐสภาไทยอย่างต่อเนื่องมานับเป็นสิบๆปี (เริ่มจากการยึดอำนาจครั้งแรกของไทย) ความเจริญของประเทศไทยจึงไม่ไปถึงไหนกันอย่างที่มีหลายคนสงสัยว่า ประเทศไทยมีอาถรรพ์อะไรที่มีทุกอย่างพร้อม มีทั้งทรัพยากร ทั้งที่ตั้ง ทั้งคนไทยก็มีฝีมือดี เปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่นแล้วเกิดอะไรขึ้น
ผลสรุปก็คงอยู่ที่ประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชนผ่านทางรัฐสภานั่นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ประชาชนคนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้มข้น กดดันให้ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องฟังเสียงความต้องการของประชาชน โมเดลของสกลนครและศรีสะเกษ รวมถึงการเลือกตั้งอื่นๆอีกหลายที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนคนไทยลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตนแล้ว นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งเพราะเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ก็หมายถึงวุฒิภาวะที่จะนำประเทศก้าวหน้าไปด้วยลำพังตัวของประชาชนเองได้ ไม่ต้องมีการชี้นำจากคนดี คนเก่งอย่างที่เคยถูกล้างสมองให้เชื่อตลอดมา
ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลกไม่จำกัดไว้ที่สองประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น
และหากเป็นระบบ limited monarchy จะไม่สามารถเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารได้เลย (แม้ในอังกฤษจะมีองค์กรดังกล่าวก็ตาม) อย่างไรก็ตามในทุกกรณี รัฐสภาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ อย่างเช่นกรณีของสวีเดนที่เป็นระบบ constitutional monarchy เหมือนไทย กำหนดไว้เลยว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง
ส่วนประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันตกบางแห่งกำหนดให้รัชทายาทที่จะขึ้นครองบัลลังก์ต้องทรงปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของรัฐ ในหลายประเทศแม้แต่พระบรมราโชวาทก็ต้องผ่านการร่างจากฝ่ายบริหารด้วยเป็นต้น
และหลายท่านคงทราบแล้วว่า เมื่อประเทศภูฎานเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเมื่อเร็วๆนี้นั้น พระมหากษัตริย์ที่ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ทรงกำหนดให้รัฐสภาสามารถถอดถอนพระมหากษัตริย์ได้
สำหรับประเทศไทย หากได้ไปศึกษารัฐธรรมนูญแล้วจะพบที่มาว่าหลักการใหญ่ๆที่กำหนดว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักนั้นจริงๆเป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น และมีการละเมิดหลักที่ไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงงานด้านการบริหารเนื่องจากมีผู้แอบอ้างพระราชอำนาจใช้กลไกแทรกแซงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติอยู่ตลอดเวลาตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ได้แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารที่ใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนการทำงานของกลไกสำคัญด้านการใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆ และมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และเจ้าของบ้านนี้อย่างยิ่ง
ทางรอดของประเทศไทย บางทีอาจจะต้องทบทวนเรื่องของรัฐธรรมนูญเสียใหม่ และหากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญของไทยล้วนเป็นบริวารของฝ่ายอำนาจแฝงในประเทศไทยแล้ว การยกเอารัฐธรรมนูญในระบบ constitutional monarchy อย่างสวีเดนมาใช้ทั้งชุดหรือ ถ้าเห็นว่าจะให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงอำนาจของประชาชนแล้วจะนำระบบ limited monarchy ของญี่ปุ่นมาใช้ก็น่าจะเป็นการดีเนื่องจากประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของการปกครองระบบนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ระบบยังเป็นเช่นเดียวกัน ทำให้เหมาะกับประเทศไทย
สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุด และสามารถรักษาสถาบันฯให้คงคู่ประเทศไทยไปได้ยาวนานคือการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนมีเป้าหมายในการปกครองประเทศเดียวกันและยกเอาสถาบันฯให้อยู่เหนือการเมือง ด้วยการให้ทุกพระราชกรณียกิจมีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบแทนองค์พระมหากษัตริย์ (ด้วยการลงนามร่วมกับพระปรมาภิไธย) ดังเช่นรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2475 กำหนดไว้
หากเป็นเช่นนี้ การกล่าวหา หรือก้าวล่วงในทางมิบังควรต่อสถาบันฯก็จะไม่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมืองแทน และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเมืองได้ตลอดเวลา
ในทางตรงกันข้ามการมีสถาบันระดับรองได้แก่องคมนตรีซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ มาแสดงความเห็นทางทางการเมืองซึ่งจะถูกมองว่ากระทำไปในฐานะผู้แทนของพระมหากษัตริย์ ก็จะมีแต่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากการเมืองนั้นมีผู้ได้ และผู้เสียตลอดเวลา
การที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพยายามยกให้สถาบันฯอยู่เหนือการเมืองนั้น เป็นการถนอมรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้องและเป็นสากลทุกหนแห่งอยู่แล้ว และเมื่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดได้เสียแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด แต่ถ้าหากเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy) ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งเนื่องจากจะทรงใช้พระราชอำนาจ จึงจะถูกต่อต้านและล้มล้างได้ง่ายการมีกฎหมายรูปแบบนี้จึงจะจำเป็น แต่ประเทศไทยไม่ใช่การปกครองรูปแบบนี้
บทความนี้ไม่ได้มุ่งหมายก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แต่ต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันรักษาสถาบันฯไว้คู่กับประเทศไทย เพื่อรักษาประเพณีที่สืบเนื่องกันมายาวนาน หากศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจะปรากฏว่าผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกประเทศนั้นแท้จริงไม่ได้เกิดจากประชาชน
แต่เกิดจากเหล่าอำมาตย์ ขุนศึกและชนชั้นนำที่ช่วงชิงอำนาจกันนั่นเอง
การนำบทความข้างล่างนี้มาเผยแพร่ ไม่มีเจตนาหลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันใด แต่เป็นไปเพื่อการสร้างความสันติทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยแบบสากล ให้กับประเทศอย่างแท้จริง โลกสมัยใหม่ที่มนุษย์จะอยู่กันอย่างสันติสุขที่แท้จริงคือ ระบอบประชาธิปไตยแบบสากล เพราะพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่มีใครยอมรับใครได้ทั้งหมด แต่ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกันบนความคิดที่แตกต่างตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้กระทั่งในทางศาสนา ยังมีหลายศาสนา ไม่มีเทพเจ้า หรือศาสดาของศาสนาใดทำให้มนุษย์มีความเชื่อ หรือนับถือศาสนาเดียวกันได้ทั้งประเทศ หรือทั้งโลก ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด เพื่อเป็นการปกป้องประชาชนทางการเมืองทุกคนจากการใข้อำนาจรัฐในทางมิชอบ เพื่อปกป้องสถาบันอย่างแท้จริง และเพื่อสร้างความเจริญให้ชาติบ้านเมือง
มองจากรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ฉบับปัจจุบัน เหล่านายทหารระดับนายพลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านประชาธิปไตย นำโดยนายพลแมคอาเธอร์ เป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญโชวะ ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่มีส่วนใดที่จะทำให้มีการลักลั่นใช้อำนาจใดๆขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือทำลายอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน จึงถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์อีกฉบับหนึ่งของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
โดย Pegasus
7 สิงหาคม 2552
บทความเกี่ยวเนื่อง:บทบาทและพระราชอำนาจของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลก ไม่จำกัดไว้ที่สองประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น
ในขณะที่ประเทศไทยเกิดวิกฤติการเมือง เกิดการแบ่งฝ่าย และมีหลักฐานชัดขึ้นทุกขณะแม้จนถึงขณะนี้ ว่ามีกลุ่มบุคคลที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญ นอกเหนือระบอบประชาธิปไตย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในทางใดๆเลย แต่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายข้าราชการ บีบบังคับให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการในเชิงอำนาจของกลุ่มพวกตน และเป็นต้นเหตุของการใช้กำลังในการยึดอำนาจ การปราบปรามประชาชนมาโดยตลอด ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประการสำคัญคือกลุ่มคนเหล่านี้ได้อาศัยพระราชอำนาจในการอ้างอิงว่าเป็นกลุ่มที่จงรักภักดี ทำให้กระทบกระเทือนต่อพระเกียรติยศของสถาบันเบื้องสูง
จากเหตุผลดังกล่าว การกลับมาศึกษาหลักการเบื้องต้นว่าด้วย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกันอีกสักรอบด้วยความใส่ใจในรายละเอียด ไม่มองข้ามๆให้ผ่านๆไปเหมือนที่เป็นมาจนเคยชิน ก็อาจทำให้พบคำตอบสำหรับประเทศไทยได้บ้าง
บทความต่อไปนี้จะให้ความสำคัญต่อความหมายของระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรของประเทศสวีเดน และญี่ปุ่น ที่ได้ชื่อว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่เข้มแข็งและมีความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับสูง ทั้งในซีกโลกตะวันตกและตะวันออก เพื่อการเปรียบเทียบประเด็นสำคัญบางประการในทางการเมือง
ส่วนที่จะแตกต่างจากประเทศไทยอย่างไรก็ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาเอาจากรัฐธรรมนูญของไทยตามความสะดวก
เจสัน โยนัน (Jason Yonan) ได้เสนอว่าระบบการปกครองมี 2 รูปแบบคือแบบประธานาธิบดี และแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เฉพาะระบอบหลังนี้แบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ระบอบกษัตริย์มีอำนาจจำกัด (limited monarchy) ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) และสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy)
รูปแบบแรกตัวอย่างได้แก่ประเทศอังกฤษที่พระมหากษัตริย์เป็นแต่เพียงพิธีการเท่านั้นไม่มีอะไรมากกว่านี้ (A limited monarchy merely has a royal family for ceremonies and in keeping with tradition)
รูปแบบที่สองซึ่งมีใช้กันในยุโรปมากกว่าตัวอย่างได้แก่ประเทศสวีเดนที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น (the monarch has powers granted to him/her by the country’s constitution)
ส่วนรูปแบบที่สามเป็นระบอบกษัตริย์ซึ่งเข้าใจกันดีอยู่แล้วที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจด้วยพระองค์เอง (the monarchy has supreme and absolute authority to do what it wishes) ตัวอย่างนี้ได้แก่ประเทศ ซาอุดิอาราเบีย เป็นต้น
ระบอบการปกครองที่บทความนี้สนใจได้แก่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งประเทศไทยใช้ระบอบเดียวกันนี้ในทางการเมือง
การเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญจึงขอเริ่มจากประเทศสวีเดนก่อนจากนั้นจึงเป็นประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเป็นการรักษาตัวบทของรัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศไว้ จึงจะนำมาลงไว้เป็นภาษาอังกฤษในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้วจะสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญไว้ด้านล่างของแต่ละส่วนเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มั่นใจว่าการแปลโดยสรุปความนั้นไม่มีความผิดพลาดจากความหมายเดิม ดังนี้
Sweden - Constitution
Chapter 1 Basic Principles
Article 1
(1) All public power in Sweden proceeds from the people.
(2) Swedish democracy is founded on freedom of opinion and on universal and equal suffrage. It shall be realized through a representative and parliamentary polity and through local self-government.
(3) Public power shall be exercised under the law.
Article 3
The Instrument of Government, the Act of Succession and the Freedom of the Press Act are the fundamental laws of the Realm.
Article 4
(1) The Parliament is the foremost representative of the people.
(2) The Parliament enacts the laws, determines taxes and decides how public funds shall be used. The Parliament shall examine the government and administration of the country.
Article 5
(1) The King or Queen who occupies the throne of Sweden in accordance with the Act of Succession shall be the Head of State.
(2) The provisions of this Instrument of Government which relate to the King shall relate also to the Queen if she is the Head of State.
Chapter 5 The Head of State
Article 1
The Head of State shall be kept informed by the Prime Minister concerning the affairs of the Realm. When so required the Government shall convene in a special Cabinet meeting under the presidency of the Head of State.
Article 2
(1) Only a person who is a Swedish citizen and has attained the age of twenty-five years may serve as Head of State. The Head of State may not at the same time be a member of the Government or hold a mandate as Speaker or as a member of the Parliament.
(2) The Head of State shall consult the Prime Minister before travelling abroad.
Article 3
If by reason of illness, foreign travel, or any other cause the King is prevented from carrying out his duties, then that member of the Royal Family under the valid order of succession who is not prevented therefrom shall take over and perform the duties of the Head of State in the capacity of temporary Regent.
Article 4
(1) Should the Royal Family become extinct, the Parliament shall appoint a Regent to perform the duties of Head of State until further notice. The Parliament shall at the same time appoint a Deputy Regent.
(2) The same applies if the King dies or abdicates and the heir to the throne has not yet attained the age of twenty-five years.
Article 5
If the King has been continuously prevented for a period of six months from carrying out his duties, or has failed to carry them out, the Government shall notify the matter to the Parliament. The Parliament shall decide whether the King shall be deemed to have abdicated.
Article 6
(1) The Parliament may appoint someone, on the Government's recommendation, to serve as Temporary Regent when no one competent under Article 3 or 4 is in a position to serve.
(2) The Speaker, or, if he is prevented from attending, one of the Deputy Speakers, shall serve as Temporary Regent, on the Government's recommendation, when no other competent person is in a position to serve.
Article 7
The King cannot be prosecuted for his act or omissions. A Regent cannot be prosecuted for his act or omissions as Head of State.
รัฐธรรมนูญสวีเดนมีประเด็นที่น่าสนใจคือ อำนาจอธิปไตยของสวีเดนมาจากประชาชนและระบุไว้ชัดว่า ให้สภาผู้แทนราษฎรและการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ใช้อำนาจและตรวจสอบรัฐบาลได้ ราชบัลลังก์ปกครองโดยพระราชาหรือพระราชินีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฯในฐานะประมุขของชาติ
องค์พระประมุขจะได้รับข้อมูลจากรัฐบาลและในกรณีจำเป็นสามารถเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษโดยมีองค์พระประมุขเป็นองค์ประธานได้ ในกรณีที่ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ รัชทายาทลำดับต่อไปที่ไม่ถูกห้ามไว้ (โดยกฎหมาย) จะได้เป็นผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราว ในกรณีที่ไม่มีรัชทายาทดังกล่าว รัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการเป็นประมุขชั่วคราวจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนแปลงในขณะเดียวกันรัฐสภาจะแต่งตั้งรองผู้สำเร็จราชการด้วย กรณีนี้ใช้เมื่อองค์รัชทายาทยังไม่มีพระชนมายุครบ 25 ชันษาด้วย หากพระมหากษัตริย์ไม่สามารถครองราชย์ได้ติดต่อกันหกเดือนหรือทรงไร้ความสามารถ รัฐบาลจะแจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภา ซึ่งจะมีมติว่าจะให้ทรงสละราชสมบัติหรือไม่
รัฐสภาอาจแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการเป็นการชั่วคราวด้วยการเสนอแนะของรัฐบาล และ ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการด้วยการเสนอแนะของรัฐบาลเมื่อไม่มีผู้เหมาะสมกว่า
พระมหากษัตริย์ จะไม่ถูกฟ้องร้อง หรือละเมิดใดๆได้
Japan - Constitution
Preamble
We, the Japanese people, acting through our elected representatives in the National Diet, determined that we should secure for ourselves and our posterity the fruits of peaceful cooperation with all nations and the blessings of liberty all over this land, and resolved that never again shall we be visited with the horrors of war through the action of government, do proclaim that sovereign power resides with the people and do firmly establish this Constitution. Government is a sacred trust of the people, the authority for which is derived from the people, the powers of which are exercised by the representatives of the people, and the benefits of which are enjoyed by the people. This is a universal principle of mankind upon which this Constitution is founded. We reject and revoke all constitutions, laws, ordinances, and rescripts in conflict herewith.
We, the Japanese people, desire peace for all time and are deeply conscious of the high ideals controlling human relationship, and we have determined to preserve our security and existence, trusting in the justice and faith of the peace-loving peoples of the world. We desire to occupy an honored place in an international society striving for the preservation of peace, and the banishment of tyranny and slavery, oppression, and intolerance for all time from the earth. We recognize that all peoples of the world have the right to live in peace, free from fear and want.
We believe that no nation is responsible to itself alone, but that laws of political morality are universal; and that obedience to such laws is incumbent upon all nations who would sustain their own sovereignty and justify their sovereign relationship with other nations.
We, the Japanese people, pledge our national honor to accomplish these high ideals and purposes with all our resources.
Chapter I The Emperor
Article 1 [Symbol of State]
The Emperor shall be the symbol of the State and of the unity of the people, deriving his position from the will of the people with whom resides sovereign power.
Article 2 [Dynastic Throne]
The Imperial Throne shall be dynastic and succeeded to in accordance with the Imperial House Law passed by the Diet.
Article 3 [Cabinet Approval and Responsibility]
The advice and approval of the Cabinet shall be required for all acts of the Emperor in matters of state, and the Cabinet shall be responsible therefor.
Article 4 [Rule of Law for Emperor]
(1) The Emperor shall perform only such acts in matters of state as are provided for in this Constitution and he shall not have powers related to government.
(2) The Emperor may delegate the performance of his acts in matters of state as may be provided by law.
Article 5 [Regency]
(1) When, in accordance with the Imperial House Law, a Regency is established, the Regent shall perform his acts in
matters of state in the Emperor's name.
(2) In this case, Article 4 (1) will be applicable.
Article 6 [Appointments]
(1) The Emperor shall appoint the Prime Minister as designated by the Diet.
(2) The Emperor shall appoint the Chief Judge of the Supreme Court as designated by the Cabinet.
Article 7 [Functions]
The Emperor, with the advice and approval of the Cabinet, shall perform the following acts in matters of state on behalf of the people:
1. Promulgation of amendments of the constitution, laws, cabinet orders and treaties.
2. Convocation of the Diet.
3. Dissolution of the House of Representatives.
4. Proclamation of general election of members of the Diet.
5. Attestation of the appointment and dismissal of Ministers of State and other officials as provided for by law, and of full powers and credentials of Ambassadors and Ministers.
6. Attestation of general and special amnesty, commutation of punishment, reprieve, and restoration of rights.
7. Awarding of honors.
8. Attestation of instruments of ratification and other diplomatic documents as provided for by law.
9. Receiving foreign ambassadors and ministers.
10. Performance of ceremonial functions.
Article 8 [Property Authorization]
No property can be given to, or received by, the Imperial House, nor can any gifts be made therefrom, without the authorization of the Diet.
รัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ องค์พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ(คงให้เป็นลักษณะเดียวกับของอังกฤษคือทรงงานแต่พิธีการเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น) การขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาตราไว้ ในกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ให้คำแนะนำและรับผิดชอบแทน
องค์พระจักรพรรดิทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และต้องไม่ทรงมีอำนาจฝ่ายบริหาร พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐสภาเสนอ พระจักรพรรดิแต่งตั้งประธานศาลฎีกาตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ และพระราชกรณียกิจอื่นที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ห้ามมีการถวายทรัพย์สินใดๆ ของขวัญหรือทรงรับทรัพย์สินใดๆผ่านสำนักพระราชวังโดยที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภา
จากรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลของต่างประเทศทั้งสองประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าให้ความสำคัญต่อรัฐสภาซึ่งมีที่มาจากประชาชนไว้เป็นอย่างสูง ต่างจากประเทศไทยที่มีความพยายามบั่นทอน ทำลายระบอบรัฐสภาไทยอย่างต่อเนื่องมานับเป็นสิบๆปี (เริ่มจากการยึดอำนาจครั้งแรกของไทย) ความเจริญของประเทศไทยจึงไม่ไปถึงไหนกันอย่างที่มีหลายคนสงสัยว่า ประเทศไทยมีอาถรรพ์อะไรที่มีทุกอย่างพร้อม มีทั้งทรัพยากร ทั้งที่ตั้ง ทั้งคนไทยก็มีฝีมือดี เปิดประเทศพร้อมๆกับญี่ปุ่นแล้วเกิดอะไรขึ้น
ผลสรุปก็คงอยู่ที่ประเทศไทย ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชนผ่านทางรัฐสภานั่นเอง อย่างไรก็ตามขณะนี้ประชาชนคนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเข้มข้น กดดันให้ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องฟังเสียงความต้องการของประชาชน โมเดลของสกลนครและศรีสะเกษ รวมถึงการเลือกตั้งอื่นๆอีกหลายที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนคนไทยลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตนแล้ว นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดียิ่งเพราะเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง ก็หมายถึงวุฒิภาวะที่จะนำประเทศก้าวหน้าไปด้วยลำพังตัวของประชาชนเองได้ ไม่ต้องมีการชี้นำจากคนดี คนเก่งอย่างที่เคยถูกล้างสมองให้เชื่อตลอดมา
ข้อสังเกตที่สำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆทั่วโลกไม่จำกัดไว้ที่สองประเทศนี้ก็คือ จะไม่มีองค์กรอะไรมาคั่นกลางระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่ปรากฏตามข้อเท็จจริงอย่างในประเทศไทย ในต่างประเทศนั้นหากเป็นระบบ constitutional monarchy พระมหากษัตริย์จะเข้ามาทรงงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามจะทรงงานได้เท่าที่กำหนดไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น เช่นการประกาศสงคราม เป็นต้น
และหากเป็นระบบ limited monarchy จะไม่สามารถเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารได้เลย (แม้ในอังกฤษจะมีองค์กรดังกล่าวก็ตาม) อย่างไรก็ตามในทุกกรณี รัฐสภาจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้กำหนดทิศทางของประเทศ อย่างเช่นกรณีของสวีเดนที่เป็นระบบ constitutional monarchy เหมือนไทย กำหนดไว้เลยว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง
ส่วนประเทศอื่นๆในยุโรปตะวันตกบางแห่งกำหนดให้รัชทายาทที่จะขึ้นครองบัลลังก์ต้องทรงปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของรัฐ ในหลายประเทศแม้แต่พระบรมราโชวาทก็ต้องผ่านการร่างจากฝ่ายบริหารด้วยเป็นต้น
และหลายท่านคงทราบแล้วว่า เมื่อประเทศภูฎานเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเมื่อเร็วๆนี้นั้น พระมหากษัตริย์ที่ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ทรงกำหนดให้รัฐสภาสามารถถอดถอนพระมหากษัตริย์ได้
สำหรับประเทศไทย หากได้ไปศึกษารัฐธรรมนูญแล้วจะพบที่มาว่าหลักการใหญ่ๆที่กำหนดว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขนั้น ไม่ได้เป็นไปตามหลักนั้นจริงๆเป็นแต่เพียงรูปแบบเท่านั้น และมีการละเมิดหลักที่ไม่ให้พระมหากษัตริย์ทรงงานด้านการบริหารเนื่องจากมีผู้แอบอ้างพระราชอำนาจใช้กลไกแทรกแซงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติอยู่ตลอดเวลาตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ได้แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานเป็นเอกสารที่ใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบิดเบือนการทำงานของกลไกสำคัญด้านการใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆ และมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และเจ้าของบ้านนี้อย่างยิ่ง
ทางรอดของประเทศไทย บางทีอาจจะต้องทบทวนเรื่องของรัฐธรรมนูญเสียใหม่ และหากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญของไทยล้วนเป็นบริวารของฝ่ายอำนาจแฝงในประเทศไทยแล้ว การยกเอารัฐธรรมนูญในระบบ constitutional monarchy อย่างสวีเดนมาใช้ทั้งชุดหรือ ถ้าเห็นว่าจะให้ปลอดภัยจากการแทรกแซงอำนาจของประชาชนแล้วจะนำระบบ limited monarchy ของญี่ปุ่นมาใช้ก็น่าจะเป็นการดีเนื่องจากประเทศอังกฤษที่เป็นต้นแบบของการปกครองระบบนี้ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ระบบยังเป็นเช่นเดียวกัน ทำให้เหมาะกับประเทศไทย
สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุด และสามารถรักษาสถาบันฯให้คงคู่ประเทศไทยไปได้ยาวนานคือการที่พระมหากษัตริย์และประชาชนมีเป้าหมายในการปกครองประเทศเดียวกันและยกเอาสถาบันฯให้อยู่เหนือการเมือง ด้วยการให้ทุกพระราชกรณียกิจมีคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบแทนองค์พระมหากษัตริย์ (ด้วยการลงนามร่วมกับพระปรมาภิไธย) ดังเช่นรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2475 กำหนดไว้
หากเป็นเช่นนี้ การกล่าวหา หรือก้าวล่วงในทางมิบังควรต่อสถาบันฯก็จะไม่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบทางการเมืองแทน และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเมืองได้ตลอดเวลา
ในทางตรงกันข้ามการมีสถาบันระดับรองได้แก่องคมนตรีซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ มาแสดงความเห็นทางทางการเมืองซึ่งจะถูกมองว่ากระทำไปในฐานะผู้แทนของพระมหากษัตริย์ ก็จะมีแต่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเสื่อมเสียพระเกียรติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากการเมืองนั้นมีผู้ได้ และผู้เสียตลอดเวลา
การที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขพยายามยกให้สถาบันฯอยู่เหนือการเมืองนั้น เป็นการถนอมรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้องและเป็นสากลทุกหนแห่งอยู่แล้ว และเมื่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดได้เสียแล้ว กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใด แต่ถ้าหากเป็นระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monarchy) ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งเนื่องจากจะทรงใช้พระราชอำนาจ จึงจะถูกต่อต้านและล้มล้างได้ง่ายการมีกฎหมายรูปแบบนี้จึงจะจำเป็น แต่ประเทศไทยไม่ใช่การปกครองรูปแบบนี้
บทความนี้ไม่ได้มุ่งหมายก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แต่ต้องการให้ทุกฝ่ายช่วยกันรักษาสถาบันฯไว้คู่กับประเทศไทย เพื่อรักษาประเพณีที่สืบเนื่องกันมายาวนาน หากศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจะปรากฏว่าผู้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกประเทศนั้นแท้จริงไม่ได้เกิดจากประชาชน
แต่เกิดจากเหล่าอำมาตย์ ขุนศึกและชนชั้นนำที่ช่วงชิงอำนาจกันนั่นเอง
วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สันติวิธีบน1รูปแบบ 2 ระบบ
เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคมที่ผ่านมา รายการ "ตอบโจทย์" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งมีภิญโญ ไตรสุริยธรรมา เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้จัดเวทีสนทนาหัวข้อ "คดีอากง กับ มาตรา 112" โดยมี นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน นักประวัติศาสตร์, พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาระบบเลือกตั้ง อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และอดีตอัยการ และ กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงทัศนะ ซึ่งมีประเด็นน่าสนใจมากมาย อาทิ
ข้อเสนอของนิธิที่ว่า "ความยุติธรรม" ไม่ได้ลอยอยู่บนฟ้า และไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่ "ความยุติธรรม" เป็นความเห็นของมนุษย์ในแต่ละยุค, แต่ละสมัย, แต่ละแห่ง ซึ่งกรณี "อากง" กำลังแสดงให้เห็นว่า มาตรฐาน "ความยุติธรรม" ในสังคมไทย กำลังเปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้ นิธิ และ กิตติศักดิ์ ยังมีความเห็นสอดคล้องคล้ายคลึงกันว่า "สถาบันพระมหากษัตริย์" และ เสรีภาพของการแสดงออกตาม "ระบอบประชาธิปไตย" ถือเป็นคุณค่าสำคัญ 2 ประการ สำหรับสังคมไทย เราจึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างคุณค่า 2 อย่างนี้ให้ดีอยู่เสมอ และไม่ควรทำให้คุณค่าทั้งสองมีความขัดแย้งกัน
นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของสังคมไทยเสนอด้วยว่า ถ้าปล่อยให้กม.หมิ่นฯ อยู่ในวินิจฉัยของคนมากเกินไป มันจะล่วงล้ำเข้าสู่สำนึกของคน กระทั่งกลายเป็น "อาชญากรรมของสำนึก" เช่น การที่บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมตำหนิผู้ต้องคำพิพากษา ในเรื่องที่เป็น "ความนึกคิดจิตใจของคน" ซึ่งกฎหมายไม่สามารถควบคุมได้ และไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมาย
ตามความเห็นของนิธิ ประเด็นอาชญากรรมของสำนึกนี้ ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมากๆ
สำหรับการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ประเด็นที่ถูกอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในรายการตอบโจทย์ ก็ได้แก่ การมอบหมายให้องค์กร/คนกลาง องค์กร/คนใดองค์กร/คนหนึ่ง เป็นผู้ฟ้องร้องคดีดังกล่าว มิใช่ให้สาธารณชนเป็นฝ่ายฟ้องร้องดังที่ผ่านมา
ซึ่งกิตติศักดิ์ระบุว่า ที่ผ่านมา มีข้อเสนอให้ อัยการสูงสุด หรือ สำนักราชเลขาธิการ/สำนักพระราชวัง เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯ
อย่างไรก็ตาม นิธิแสดงความเห็นแย้งว่า ถ้าจะมีหน่วยงานกลางมาทำหน้าที่ดังกล่าว 1. หน่วยงานที่ว่าต้องไม่มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกับสถาบันฯ เพราะนั่นจะเท่ากับว่าสถาบันฯ กลายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีที่ฟ้องร้อง และ 2. ผู้รับหน้าที่เช่นนั้น ต้องมี "ความรับผิดชอบทางการเมือง" และสามารถถูกซักฟอกวิพากษ์วิจารณ์ได้
สอดคล้องกับพนัสที่เห็นว่า ผู้จะมารับผิดชอบตรงจุดนี้ ต้องมี "ความรับผิดชอบทางการเมือง" และต้องเชื่อมโยงกับประชาชน เพราะกรณีคดีหมิ่นฯ มักเป็นเรื่อง "ทัศนะของสังคม" ซึ่งประชาชนมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยอดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้ยกโมเดลของ "คณะกรรมการลูกขุนใหญ่" อันประกอบด้วยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ทำหน้าที่พิจารณาสั่งฟ้องคดีสำคัญๆ ในสหรัฐอเมริกา มาอธิบายประกอบ
เมื่อถูกถามถึงอนาคตของสังคมไทย นิธิกล่าวว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเกินกว่าที่เราจะสามารถรักษาโครงสร้างแบบเก่าเอาไว้ได้แล้ว
ขณะที่สำหรับกิตติศักดิ์ นอกจากจะกล่าวถึงภยันตรายที่อาจเกิดกับสถาบันฯ เมื่อมีการใช้กฎหมายอย่างเกินกว่าเหตุ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นภัยมาจากผู้ที่เป็น "ราชาธิปไตย" ยิ่งกว่าองค์ราชันเสียเองแล้ว เขายังเสนอว่า ในสังคมใด หากคุณค่าเรื่องสัจจะ เหตุผล และสติปัญญา ไม่เจริญ สังคมนั้นก็จะต้องตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยอำนาจ หรือ การใช้กำลัง ทั้งที่สถาบันการเมืองต่างๆ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยปัจจัยเรื่องอำนาจแต่เพียงประการเดียว
ด้านพนัสเห็นตรงกันกับกิตติศักดิ์ว่าสังคมต้องการสัจจะ อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของเขา ขณะนี้ สังคมไทยกลับถูกปกคลุมไว้ด้วยความกลัว
ช่วงท้ายรายการในเทปที่ 3 ภิญโญสรุปว่ากรณี "อากง" อาจเป็นเพียง "ยอดภูเขาน้ำแข็ง" ของปัญหาต่างๆ ในสังคมไทย เขาจึงถามผู้ร่วมรายการทั้งสามว่า ภูเขาน้ำแข็งทั้งลูกที่ซ่อนอยู่ในสังคมไทยคืออะไร? และควรทำอย่างไรจึงจะสามารถหลบหลีกภูเขาน้ำแข็งดังกล่าวไปได้พ้น? ในช่วงเวลาที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ นิยามว่า เป็น "ยุคสมัยเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
ข้อคิดเห็นสีเลือดเดียว
ประเทศไทยปกครองด้วย 1รูปแบบ 2 ระบบ ประชาธิปไตย เป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน และมีสถาบันฯจึงเป็นการปกครองที่มีมุมมอง2ด้าน 1.มุมมองด้านประชาธิปไตยเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพตามหลักสากล 2. มุมมองในด้านอนุรักษ์นิยม มุมมอง 2ด้าน เป็นมุมมองในความสำนึกของแต่ละมุมมอง แต่ ไม่ได้สร้างความแตกแยกในประเทศ หากไม่มีการก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของกันและกัน โดยเฉพาะสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ซึงอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ที่เป็นเป้าหมายของประเทศเกือบทั่วโลกไปแล้ว และมุมมองด้านประชาธิปไตย อย่างนี้เราต้องยอมรับมีมานานแล้ว จึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปีพ.ศ. 2475 คงเพื่อให้ทุกมุมมองอยู่ได้อย่างสันติวิธี ประเทศไทยจึงมีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นเวลา 79 ปี เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ที่ไม่มีเสถียรถาพทางการเมือง และควรต้องแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกมุมมองอยู่ด้วยกันสงบสุขอย่างสันติวิธีตามระบอบประชาธิปไตยสากล และเพื่อให้มีการหลีกเลี้ยงการใช้อำนาจใดๆที่ไม่มีในระบอบประชาธิปไตย ทำการวิสามัญประชาธิไตยทั้งทางตรงและทางอ้อม ในมุมมองที่สอดคล้องกับประชาธิปไตยโลก การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ควรเป็นการสร้างเสริมชีวิตในสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดสันติวิธีประชาธิปไตยสากลเป็นมาตรฐาน ไม่ใช่การพยายามสร้างกระแสหรือการกระทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและอิสรภาพในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นพื้นฐานนำมาซึ่งการทำลายล้างทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อย่างในอดีตเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศและของโลก ในประเทศ เหตุการณ์ ปี พ.ศ.2516,2519,2535และ2549 ของโลก สงครมโลกครั้งที่ 1-2 กระทั่งในอิรักและลิเบียเป็นต้น สุดท้ายก็ล่มสลายของผู้ที่พยายามรักษาอำนาจ หรือกระทำให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยขัดต่อเจตนารมณ์ หลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนของโลก
วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554
หนึ่งเสียงประชาธิปไตย
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากฏหมายที่เกี่ยวกับข้องกับการเมือง ด้วยจุดประสงค์ 1.เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยของประเทศให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยโลก 2.เพื่อป้องกันการบังคับใช้กฏหมายอย่างไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ไม่ให้โดนผลักตกหน้าผา 3. เพื่อปกป้องสถาบันฯ อย่างแท้จริง เพราะการปกป้องสถาบันโดยการบังคับใช้กฏหมายลงโทษประชาชนเกินกว่าเหตุนั้น ไม่สอดคล้องหลักสิทธิมนุษยชนของประชาชน แต่เป็นการตอกย้ำความแตกต่างด้านความคิดให้กับทุกฝ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทุกฝ่ายทุกความคิด ต่างยึดมั่นในหลักการต่างๆตามความคิด และจะอาศัยเป็นเหตุผลทำลายซึ่งกันและกันไม่มีวันจบสิ้น ดังนั้น ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริงของประเทศประชาธิปไตยโลก โดยแก้ไขกฏหมายรัฐธรรมนูญและกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย ให้เป็นไปตามแบบอย่างการปกครองระบอบประชาธืปไตยฯ ของประเทศประชาธิปไตย ในปัจจุบัน อย่าพยายามรัษามาตรฐานการเมืองของประเทศไทยแบบเดิมๆ เพราะไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และที่สำคัญ มีแต่ความสูญเสียอิสรภาพของความเป็นมนุษย์ ทั้งชีวิตและจิตใจ ของประชาชน อย่างที่แล้วๆมา คงไม่มีตนใดออกมาบอกว่าฆ่าคนคดีหมิ่นไม่บาป เหมือนเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย ปี 2516 และ2519 ที่มีการกล่าวหานิสิตนักศึกษา ว่าเป็นคอมมิวนิตส์ แล้วยุยงให้มีการทำร้าย โดยกล่าวว่า " ฆ่าคอมมิวนิตส์ไม่บาป" การอยู่กับประวัติศาสตร์ที่มีการได้มาซึ่งอำนาจโดยการทร้ายชีวิตและจิตใจของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะหมายถึงความเสื่อมถอยด้านชีวิตและจิตใจของประเทศในภาพรวม อยูกับประชาธืปไตยที่แท้จริงในปัจจุบันและอนาคต เวทีอาเซียนและเวทีโลกคงปลื้มกันทั่วหน้า
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ความถูกต้อง แต่ไม่ใช่ความจริง
บทบรรณาธิการ - จาก "คดีอากง"จาก ′คดีอากง′
บทบรรณาธิการ
ยิ่งเวลาล่วงเลยไปนานเท่าใด เสียงกล่าวขวัญในเชิงวิชาการต่อ ′คดีอากง′ ผู้ต้องโทษจำคุก 20 ปีด้วยข้อหาว่าส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากประเด็นหลักฐานในคดี ที่เป็นหัวข้อพูดคุยถกเถียงไม่น้อยไปกว่ากัน
ก็คือสถานภาพของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขอบเขตของตัวบทกฎหมายหรือการถูกนำมาใช้ในฐานะ′เครื่องมือทางการเมือง′อย่างหนึ่ง
ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสถาบันที่คนไทยเคารพเทิดทูนและต้องการจะปก ป้องมากเสียยิ่งกว่า
ในจำนวนความเห็นของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนมากนั้น มีข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าวรวมอยู่ด้วย
โดยเหตุผลว่ากฎหมายนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองซึ่งยิ่งทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายออกไป
ทั้งที่ตัวกฎหมายเองมีปัญหาและข้อบกพร่องทั้งในด้านของเนื้อหาสาระและกระบวนการในการดำเนินคดี
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้สามารถที่จะริเริ่มคดีได้อันนำมาซึ่งการกล่าวโทษกันอย่างง่ายดาย
ขณะที่บทลงโทษของการกระทำความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่ง
ก็ให้จำคุกรุนแรงถึง15ปี
ในด้านของกระบวนการ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะพบกับความยุ่งยากในการประกันตัว ทั้งชั้นตำรวจและชั้นพิจารณาคดี
′คดีอากง′ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เปรียบเทียบให้เห็นในหลายแง่มุม
อันส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยในสังคมรู้สึกอึดอัดเพราะผลการวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม
การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่เพียงการป้องกันผู้บริสุทธิ์เท่านั้นหากยังเป็นการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตย
และเป็นการพิทักษ์สถาบันสูงสุดของชาติไปด้วยในคราวเดียวกันวันที่ 08 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7679 ข่าวสดรายวัน
ต้องอยู่บนความเป็นจริง เพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนก็ใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองกันไปตามมุมมองที่คิดว่าน่ากระทำได้ตามหลักสากล บางครั้งก็อาจไปกระทบบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆ
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ถึงแม้ไม่เหมือนประเทศเสรีนิยมอื่นๆ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสถาบันฯเป็นสถาบันสูงสุดของประเทศ ฉะนั้นการปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ จึงอยู่ที่การปรับปรุงพัฒนาการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง ไม่เหยียดสี ไม่เหยียดความคิด ของทุกภาคส่วน และที่สำคัญต้องไม่ใช้อำนาจใดๆทำลายประชาธิปไตย เพราะหมายถึงการทำร้ายชีวิตและจิตใจของเสรีนิยม
จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]
บทบรรณาธิการ
ยิ่งเวลาล่วงเลยไปนานเท่าใด เสียงกล่าวขวัญในเชิงวิชาการต่อ ′คดีอากง′ ผู้ต้องโทษจำคุก 20 ปีด้วยข้อหาว่าส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากประเด็นหลักฐานในคดี ที่เป็นหัวข้อพูดคุยถกเถียงไม่น้อยไปกว่ากัน
ก็คือสถานภาพของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ไม่ว่าจะเป็นในแง่ขอบเขตของตัวบทกฎหมายหรือการถูกนำมาใช้ในฐานะ′เครื่องมือทางการเมือง′อย่างหนึ่ง
ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสถาบันที่คนไทยเคารพเทิดทูนและต้องการจะปก ป้องมากเสียยิ่งกว่า
ในจำนวนความเห็นของนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวนมากนั้น มีข้อเสนอของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ที่ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าวรวมอยู่ด้วย
โดยเหตุผลว่ากฎหมายนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการใส่ร้ายป้ายสีผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองซึ่งยิ่งทำให้ความขัดแย้งยิ่งบานปลายออกไป
ทั้งที่ตัวกฎหมายเองมีปัญหาและข้อบกพร่องทั้งในด้านของเนื้อหาสาระและกระบวนการในการดำเนินคดี
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลใดก็ได้สามารถที่จะริเริ่มคดีได้อันนำมาซึ่งการกล่าวโทษกันอย่างง่ายดาย
ขณะที่บทลงโทษของการกระทำความผิดฐานนี้ซึ่งเป็นการแสดงออกประเภทหนึ่ง
ก็ให้จำคุกรุนแรงถึง15ปี
ในด้านของกระบวนการ บุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาจะพบกับความยุ่งยากในการประกันตัว ทั้งชั้นตำรวจและชั้นพิจารณาคดี
′คดีอากง′ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เปรียบเทียบให้เห็นในหลายแง่มุม
อันส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยในสังคมรู้สึกอึดอัดเพราะผลการวินิจฉัยนั้นขัดแย้งกับสามัญสำนึกแห่งความยุติธรรม
การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ใช่เพียงการป้องกันผู้บริสุทธิ์เท่านั้นหากยังเป็นการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นในสังคมประชาธิปไตย
และเป็นการพิทักษ์สถาบันสูงสุดของชาติไปด้วยในคราวเดียวกันวันที่ 08 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7679 ข่าวสดรายวัน
ต้องอยู่บนความเป็นจริง เพราะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบป
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีสิท
จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]
วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554
กำปั้นทุบดิน
นี้เป็นกฏหมายที่ทำลายความน่าเชื่อถือในประเทศไทยไปหลายส่วนเพราะการมอบความสิ้นอิสรภาพ หรือความตายให้กับประชาชน ไม่ใช่การปกป้องสถาบันอย่างชาญฉลาด เป็นการปกป้องแบบกำปั้นทุบดิน ยิ่งทุบยิ่งแตกแยกมากขึ้น กฏหมายต้องบังคับใช้กับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ออกมาฆ่าคน ออกมาสร้างความวุ่นวายแล้วบอกว่าปกป้องสถาบัน และผู้กระทำก็ไม่ได้รับการพิจารณาให้มีการลงโทษตามกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมซักราย
ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงฯต่อไป แต่ไม่ส่งเสริมสนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคลใดๆที่ใช้กฏหมายอย่างมีอคติ หรือใช้ความรุนแรงกับผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมืองหรือที่ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย
มองจากอาณาจักรกรีก,อียิปต์,โรมัน,เยอรมันนี,ฝรั่งเศล,จีน,ญี่ปุน,สหภาพโซเวีต ในอดีตยิ่งใหญ่ แต่ก็ล่มสลายเปลี่ยนแปลงพัฒนามาเป็นลำดับ ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเช่นกัน กล่าวถึงกันมากตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย,อยุธยา,ธนบุรี,และรัตนโกสินทร์ ครั้งสำคัญ พ.ศ.2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่พฤตินัยยังเป็นเผด็จการ นี้แหละที่แปลกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยฯแต่การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยอัตตาธิปไตย อย่างเช่น ปี 2516,2519,2535 ,2549 และในปัจจุบัน ก็ยังบังคับใช้กฏหมายตามแรงเชียร์กับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่คนที่ออกมาใช้อาวุธทำร้ายประชาชนหรือดูหมิ่นประชาชน ขู่เข็นประชาชน กลับได้รับการปกป้อง
มองจากอาณาจักรกรีก,อียิปต์,โรมัน,เยอรมันนี,ฝรั่งเศล,จีน,ญี่ปุน,สหภาพโซเวีต ในอดีตยิ่งใหญ่ แต่ก็ล่มสลายเปลี่ยนแปลงพัฒนามาเป็นลำดับ ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเช่นกัน กล่าวถึงกันมากตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย,อยุธยา,ธนบุรี,และรัตนโกสินทร์ ครั้งสำคัญ พ.ศ.2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่พฤตินัยยังเป็นเผด็จการ นี้แหละที่แปลกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยฯแต่การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยอัตตาธิปไตย อย่างเช่น ปี 2516,2519,2535 ,2549 และในปัจจุบัน ก็ยังบังคับใช้กฏหมายตามแรงเชียร์กับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่คนที่ออกมาใช้อาวุธทำร้ายประชาชนหรือดูหมิ่นประชาชน ขู่เข็นประชาชน กลับได้รับการปกป้อง
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรณีอากงและกฎหมายหมิ่นฯ
วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ประชาธิปไตยใต้เงามืด
Ruttakorn Chanviriyawat ผู้นี้เป็นสมาชิกของขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊คที่ใช้ชื้อล็อกอินว่า Ruttakorn Chanviriyawat โดยแจ้งข้อมูลว่าจบการศึกษาที่ ม.เอเซียอาคเนย์ ในปี 2000 ทำงานที่ เติมฝัน@home
เขาเขียนแสดงความเห็นว่า
Ruttakorn Chanviriyawat ปรองดองกับมันไม่ได้แล้ว ต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผมว่ามันต้องมีกลุ่มนึงอยู่ กลุ่มหนึ่งตายนะ ถ้าอยู่แบบนี้ไม่จบแน่ เพราะไอ้พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ ที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีเลย
ถึงเวลาที่ต้องเอาชีวิตพวกมันมาต่อชีวิตประเทศแล้ว ไม่ต้องเสียดาย ท่านประยุทธ สิ่งที่ท่านคิดจะทำ ผมว่าไม่ต้องรอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องทำแล้วท่านประยุทธ คอมมานโด ที่จงรักภักดีหลายคน รอท่านสั่งอยู่นะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
จากความคิดของคนที่มีชื่อตามข้อความด้านบนนี้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ถ้าฝ่ายหนึ่ง ถือว่าส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตย ทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นประชาชนคนส่วนมากของประเทศในระบอบประชาธิปไตย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง โดยลืมคำว่าคุณธรรม จริยธรรมต่อประชาชน ต่อประชาธิปไตย ถ้าคนๆหนึ่ง หรือ คนกลุ่มหนึ่ง คิดว่าการทำร้าย หรือ ฆ่าคนๆหนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีความคิดขัดแย้งกันทางการเมือง ไม่ผิดกฏหมาย ถือว่าเป็นความคิดและการกระทำที่ไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์ ยกเว้นเหตุการณ์ในลิเบีย และอิรัก ฯลฯ เป็นอุทาหรณ์ สำหรับที่ชอบใช้กำลังอาวุธและความคิดกำจัดประชาชนที่มีความคิดเห็นต่าง ทางการเมือง สุดท้ายล่มสลาย อย่างอาณาจักรขนาดใหญ่ในอดีต เช่นกรีก,อียิปต์,โรมัน,เยอรมัน,สหภาพโซเวีย,จีน ฯลฯ แม้กระทั่งประเทศสยามหรือประเทศไทย ก็เปลี่ยนแปลงพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มาหลายยุคหลายสมัย ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่กล่าวขานกันมาเริ่มจากอาณาจักรสุโขทัย,อาณาจักรอยุธยา,อาณาจักรธนบุรี และอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเรื่อยมา ถึงแม้ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ฝ่ายที่เสียน้ำตา เสียเลื้อด เสียเนื้อ เป็นฝ่ายนิสิตนักศึกษา ประชาชน บุคคล และกลุ่มบุคคลผู้นำประชาธิปไตย แต่การศูนย์เสียเหล่านั้นคงไม่สูญเปล่า เพราะความสงบทางการเมืองที่เกิดจากการปรามปราบ และการครอบงำไม่มีวันที่สงบได้จริง
สุดท้าย การที่มีคนตาย การที่มีคนติดคุกจากปัญหาทางการเมือง ที่สะสมมาเรื่อยๆ จะเป็นกุศลครั้งใหญ่ให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยที่แท้จริง ในโลกประชาธิปไตยที่แท้จริงทุกคนจะต้องได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอย่างเทียมกัน
เขาเขียนแสดงความเห็นว่า
Ruttakorn Chanviriyawat ปรองดองกับมันไม่ได้แล้ว ต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผมว่ามันต้องมีกลุ่มนึงอยู่ กลุ่มหนึ่งตายนะ ถ้าอยู่แบบนี้ไม่จบแน่ เพราะไอ้พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์ ที่ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีเลย
ถึงเวลาที่ต้องเอาชีวิตพวกมันมาต่อชีวิตประเทศแล้ว ไม่ต้องเสียดาย ท่านประยุทธ สิ่งที่ท่านคิดจะทำ ผมว่าไม่ต้องรอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องทำแล้วท่านประยุทธ คอมมานโด ที่จงรักภักดีหลายคน รอท่านสั่งอยู่นะครับ
---------------------------------------------------------------------------------------------------
จากความคิดของคนที่มีชื่อตามข้อความด้านบนนี้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ถ้าฝ่ายหนึ่ง ถือว่าส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตย ทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นประชาชนคนส่วนมากของประเทศในระบอบประชาธิปไตย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง โดยลืมคำว่าคุณธรรม จริยธรรมต่อประชาชน ต่อประชาธิปไตย ถ้าคนๆหนึ่ง หรือ คนกลุ่มหนึ่ง คิดว่าการทำร้าย หรือ ฆ่าคนๆหนึ่ง หรือคนกลุ่มหนึ่ง ที่มีความคิดขัดแย้งกันทางการเมือง ไม่ผิดกฏหมาย ถือว่าเป็นความคิดและการกระทำที่ไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์ ยกเว้นเหตุการณ์ในลิเบีย และอิรัก ฯลฯ เป็นอุทาหรณ์ สำหรับที่ชอบใช้กำลังอาวุธและความคิดกำจัดประชาชนที่มีความคิดเห็นต่าง ทางการเมือง สุดท้ายล่มสลาย อย่างอาณาจักรขนาดใหญ่ในอดีต เช่นกรีก,อียิปต์,โรมัน,เยอรมัน,สหภาพโซเวีย,จีน ฯลฯ แม้กระทั่งประเทศสยามหรือประเทศไทย ก็เปลี่ยนแปลงพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มาหลายยุคหลายสมัย ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่กล่าวขานกันมาเริ่มจากอาณาจักรสุโขทัย,อาณาจักรอยุธยา,อาณาจักรธนบุรี และอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเรื่อยมา ถึงแม้ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ฝ่ายที่เสียน้ำตา เสียเลื้อด เสียเนื้อ เป็นฝ่ายนิสิตนักศึกษา ประชาชน บุคคล และกลุ่มบุคคลผู้นำประชาธิปไตย แต่การศูนย์เสียเหล่านั้นคงไม่สูญเปล่า เพราะความสงบทางการเมืองที่เกิดจากการปรามปราบ และการครอบงำไม่มีวันที่สงบได้จริง
สุดท้าย การที่มีคนตาย การที่มีคนติดคุกจากปัญหาทางการเมือง ที่สะสมมาเรื่อยๆ จะเป็นกุศลครั้งใหญ่ให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่ ประชาธิปไตยที่แท้จริง ในโลกประชาธิปไตยที่แท้จริงทุกคนจะต้องได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอย่างเทียมกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)