วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

เมื่อเดือนแห่งการปฏิวัติ รัฐประหารโคจรมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง...กันยายน และ ตุลาคม จึงย้อนอดีตตั้งแต่ 2475 ถึง 2549 การเมืองไทย ยังเวียนว่าย ตายเกิดอยู่อย่างซ้ำซาก ไม่บรรลุสู่เจตนารมณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ทำให้ภาพลักษณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เสียหายทั้งในระดับประเทศ สู่ระดับโลก หรือจะเป็นเจตนาของคน/กลุ่มบุคคลที่จะทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพื่อกลับย้อนสู่ตามแนวทางของอดีตที่ขมขื่น โดยพวกศักดินารับสุขบนกองทุกข์ของชนชั้นล่างอย่างเลือดเย็น. หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเหตุการณ์อัปยศต่อระบอบประชาธิปไตย ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ครั้งล่าสุด 19 กันยายน 2549   ซึ่งเป็นปัญหาคลางแคลงใจอยู่จนทุกวันนี้ และนี้เป็นบทพิสูจน์ ว่าประเทศไทยจะคิดเดินหน้า สู่ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ หรือ ยังคงจะดำรงเอกลักษณ์อันน่าอัปยศ จนนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองและก่อให้เกิดการปฏิวัติ รัฐประหารและเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอย่างในอดีตทั้ง 24 ครั้ง ที่ผ่านมา  ถ้าเป็นเช่นนั้นต่อไป หมายความว่า ประเทศไทย ไม่มีวันปลอดจากการปฏิวัติ รัฐประหาร แม้กระทั่งการทุจริตคอร์รัปชั่น การค้ายาเสพติด และก่ออาชญากรรม เพราะปัญหาเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ประเทศไทยไม่มีเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพที่แท้จริง  แต่มีการใช้เส้นสายสร้างเสรีภาพ ความเสอมภาคและภราดรภาพ เพื่อสร้างความชอบธรรม โดยวิธีการของอธรรม และกฎหมายไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค.  ดังนั้น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ศักดินาสูญเสียอำนาจไปในภาครัฐ  แต่ต้องการคงรักษาอำนาจส่วนกลางไว้ในนามประมุขของประเทศไว้ เพื่อสร้างโชคและสร้างวาสนาให้ตนเองคงอยู่ต่อไป  โดยที่จริงการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นั้น ก็เพราะว่าจะได้ใช้อำนาจ บารมีของประมุขของประเทศ สร้างผลประโยชน์ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจให้กับตนเองเป็นสำคัญ โดยไม่ได้มุ่งหวังสร้างให้ประชาชนรู้จักใช้เสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดร สร้างตนเอง โดยตนเอง เพื่อตนเองและประเทศชาติเป็นสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เมื่อคนดีที่คิดสร้างบ้านแปลงเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าคิดต่างกับเหล่าศักดินา เขาถือว่าเป็นคนไม่ดี และจะถูกสร้างเรื่องเพื่อขจัดออกไปจากวงโครจรทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม  อย่างคน/กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาในอดีต .
*** 

วิเคราะห์เดือนที่ทำการปฏิวัติ รัฐประหาร และเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองของประเทศไทย

เดือน ตุลาคม  จำนวน 6 ครั้ง
1.กบฏบวชเดช ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐ                     
2.กบฏเสนาธิการ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๑    พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง   
3.รัฐประหาร ๒๐  ตุลาคม ๒๕๐๑ เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร
4.ปฏิวัติโดยประชาชน ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชน
5.ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล
6.รัฐประหาร ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐  พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง ๑๒ ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว
เดือน มิถุนายน  จำนวน 4 ครั้ง
1. ปฏิวัติ 24 มิถุนายน  2475 คณะราษฎร์ เปลี่ยนแปลงการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ราชาธิปไตย )
2. รัฐประหาร ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่ง
3.  กบฏวังหลวง ๒๖ มิถุนายน ๒๔๙๒ นาย ปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย
4.  กบฏแมนฮัตตัน ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๔ นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา
เดือน พฤศจิกายน  จำนวน 4 ครั้ง
                1.  รัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ
                2.  รัฐประหาร ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้
3.กบฏสันติภาพ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๗นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ  เพราะเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก
4.รัฐประหาร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร
เดือน กันยายน  จำนวน 3 ครั้ง
                1.รัฐประหาร ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐อมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
2.การก่อความไม่สงบ ๙ กันยายน ๒๕๒๘พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน ๔ ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ
3.รัฐประหาร ๑๙กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙รัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ
และขณะ เดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟน อินไปยังช่อง ๙ ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ
ต่อ มาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือน ตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

 รัฐประหารดังกล่าวไม่มี การเสีย เลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็น พันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้”
ภาย หลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน ๔๑ จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ ๓๕ จังหวัด
เดือน กุมภาพันธ์  จำนวน 2 ครั้ง
1.รัฐประหาร ๒๓กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
2.กบฏแบ่งแยกดินแดน ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง

เดือน เมษายน  จำนวน 2 ครั้ง
1.รัฐประหาร ๖ เมษายน ๒๔๙๑คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ บังคับให้นายควง  อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป
2.กบฎ ๑ เมษายน ๒๕๒๔พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้

เดือน มกราคม จำนวน 1 ครั้ง
1.กบฏพระยาทรงสุรเดช ๒๙ มกราคม ๒๔๘๑ ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
เดือน มีนาคม  จำนวน 1 ครั้ง
2.กบฎ ๒๖ มีนาคม ๒๕๒๐  พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ ๙ จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ ๔ แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๐
เดือน สิงหาคม  จำนวน 1 ครั้ง
1.กบฏนายสิบ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๘ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา
***
*เอกสารอ้างอิง : ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543, 482 หน้า, วิกิพีเดีย รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
*M Thai โดนใจ ทุก talk






















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น