โดยในหัวข้อสุดท้าย มีผู้ร่วมนำเสนอได้แก่ เดวิด สเตร็กฟัส นักวิชาการอิสระ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
เดวิด สเตร็กฟัส ผู้เขียนหนังสือ Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-Majesté อภิปรายหัวข้อ "Lese Majeste and Monarchies" (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเหล่าสถาบันพระมหากษัตริย์) นำเสนอแบบอย่างของสถาบันกษัตริย์ในยุโรป ในฐานะที่สามารถดำรงมาได้อย่างยาวนาน และอยู่ร่วมกับความเป็นประชาธิปไตยของรัฐได้อย่างไม่มีปัญหา โดยสเตร็กฟัสใช้กรอบ 5 ข้อเพื่อศึกษาสถาบันกษัตริย์ในยุโรปและในประเทศไทยเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และรัฐธรรมนูญ การทำโพล ความโปร่งใสด้านงบประมาณ การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกฎหมายกบฏ
ในแง่ความสัมพันธ์ของกษัตริย์ต่อรัฐธรรมนูญของไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปแล้ว ยังนับว่ามีความคลุมเครืออยู่มาก โดยจะเห็นตัวอย่างในประเทศเนเธอร์แลนด์ มาตรา 32 ที่กำหนดให้กษัตริย์ต้องสาบานตนต่อสาธารณะว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือประเทศนอร์เวย์ มาตรา 19 ในรัฐธรรมนูญกำหนดว่ากษัตริย์ต้องสาบานต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามธรรมนูญของ ประเทศ ในขณะที่ในประเทศไทย ยังไม่มีการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน
อีกแง่มุมที่สถาบันกษัตริย์ไทยมีความแตกต่างกับสถาบันฯของยุโรปอย่างเห็น ได้ชัด คือการทำโพลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ทำขึ้นอย่างแพร่หลาย และเป็นเรื่องปรกติ โดยเสตร็กฟัสส์กล่าวว่า ในระยะสองปีที่ผ่านมา เดนมาร์คได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อสถาบันกษัตริย์ของตนเองอย่าง น้อยสิบครั้ง โดยมีคำถามเช่น ราชินีควรสละราชบัลลังค์หรือไม่ เมื่อไร ทรงงานดีเพียงไหน ส่วนในสวีเดนก็มีการทำโพลเช่นกัน และถามคำถามที่หลากหลาย เช่น กษัตริย์ควรสละราชบัลลังค์ให้กับฟ้าชายเมื่อใด ใครในราชวงศ์ทีชื่นชอบมากที่สุด ไปจนถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ โดยในครั้งนั้นแบบสำรวจพบว่ามีชาวสวีเดนแสดงความไม่เชื่อมันในสถาบัน กษัตริย์ถึงร้อยละ 35 ในขณะที่มีผู้เชื่อมันคิดเป็นร้อยละ 39
ที่มา: จากสไลด์นำเสนอของเดวิด สเตร็กฟัสส์
สเตร็กฟัสชี้ว่า การทำแบบสำรวจเช่นนี้ จะช่วยให้สถาบันกษัตริย์ได้ทราบว่าตนเองอยู่ตรงไหนในสังคม และทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนในประเทศไทย การทำสำรวจเช่นนี้ ยังคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันฯ
สเตร็กฟัสยังชี้ให้เห็นด้านความโปร่งใสด้านงบประมาณในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งในระยะที่ผ่านมา สถาบันกษัตริย์ในยุโรปก็มีแนวโน้มเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ อนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ โฆษกของพระราชวังบักกิงแฮมก็ได้ออกมากล่าวว่า ราชวงศ์ของอังกฤษนั้นนับว่ามีราคาถูก โดยมีภาระด้านการเงินต่อประชาชนคิดเป็นหัวละ 66 เพนซ์เท่านั้น (ราว 1.04 ดอลลาร์สหรัฐ) ในขณะที่หากเปรียบเทียบกับของไทย จะคิดเป็นหัวละราว 5 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม เสตร็กฟัสส์ชี้ว่า ยังมีงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยส่วนมากที่ยังไม่ถูกเปิดเผย และอยู่กระจัดกระจายในหลายกระทรวงและหน่วยงาน อีกทั้งสถานะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ยังมีความคลุมเครือใน ตัวเองด้วย
ที่มา: จากสไลด์นำเสนอของเดวิด สเตร็กฟัสส์
ที่มา: จากสไลด์นำเสนอของเดวิด สเตร็กฟัสส์
สำหรับการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ บางประเทศในยุโรป ได้บรรจุกฎหมายนี้อยู่ในส่วนของความมั่นคงของรัฐ เช่น ในรัฐธรรมนูญของนอร์เวย์ ระบุว่า พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ จะถูกฟ้องร้องมิได้ อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการวิพากษ์วิจารณ์สามารถเป็นไปได้อย่างอิสระ เช่น ประเทศนอร์เวย์ เสปน เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม ซึ่งมีบทลงโทษระหว่าง 2-5 ปี ในขณะที่ประเทศเดนมาร์คและสวีเดน กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายธรรมดาเทียบเท่าได้กับกฎหมายหมิ่นประมาท และมีการยกเว้นความผิดหากพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ หรือหากการวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้ กฎหมายหมิ่นฯ ในยุโรปก็ไม่ค่อยได้ถูกใช้แล้ว โดยในเดนมาร์คไม่ได้ใช้แล้วตั้งแต่ปี 1934 (2477) หรือหากว่ามีการใช้ ก็เป็นแค่การปรับหรือจำคุกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
เมื่อเทียบกับการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ของประเทศไทย จะเห็นว่านอกจากสถิติการใช้จะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 เป็นต้นมา ยังมีบทลงโทษรุนแรงที่สุดในโลกด้วย ถึงแม้ว่าสถิติของปีที่ผ่านมา (2554) จะมีจำนวนการดำเนินคดีหมิ่นฯ 85 คดี จาก 478 คดีในปี 2553 แต่หากเปรียบเทียบกับจำนวนคดีก่อนปี 2549 ที่มีเพียง 2-3 คดีต่อปี ก็นับว่ายังเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมาก
ที่มา: จากสไลด์นำเสนอของเดวิด สเตร็กฟัสส์
สเตร็กฟัสเปรียบเทียบการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย กับกฎหมายหมิ่นศาสนา (Blaspheme) ว่าแท้จริงแล้วไม่ต่างกันนัก เนื่องจากเป็นเรื่องของการดูหมิ่น “ศรัทธา” หรือ “ความเชื่อ” โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ พิสูจน์ข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าหากดูจากกระแสที่คัดค้านการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 จากกลุ่มนักวิชาการ ทหาร หรือสว. โดยอ้างเรื่อง “ความรู้สึก” “จิตวิญญาณ” และ “ความศรัทธา” ก็น่าจะเป็นหลักฐานที่ยืนยันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
“[การคัดค้านของกลุ่มดังกล่าว] ไม่ได้พูดถึงว่ากฎหมายนี้ควรจะถูกปฏิรูปหรือไม่ แต่พวกเขากลับพูดคนละภาษาเหมือนกับว่ามาจากมุมองคนละโลก ไม่ว่าจะเรื่องความ “ศรัทธา” หรือ “ความรู้สึกของประชาชน” เปรียบได้กับการหมิ่นศาสนาเพราะคุณไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ ซึ่งขัดแย้งกับหลักสากลที่คุ้มครองเรื่องสิทธิการแสดงออกของพลเมืองตามหลัก สหประชาชาติ และเป็นการโจมตีคนที่ไม่ยอมรับคนที่เห็นตางจากอุดมการณ์ต่างของรัฐ” ส เตร็กฟัสกล่าว
สำหรับตัวชี้วัดข้อสุดท้าย เขากล่าวถึงการใช้กฎหมายกบฏในยุโรป ที่แยกจากการนิยมสาธารณรัฐออกจากการกำหนดความผิดฐานเป็นกบฏ เช่นในประเทศสวีเดน การจับกุมประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการมีสถาบัน ถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน โดยรัฐมองว่า การที่ประชาชนนิยมการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยและเป็นความใฝ่ฝันทางการเมืองมากกว่า ซึ่งสเตร็กฟัสชี้ว่า ถึงแม้รัฐจะเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้ได้ แต่แนวโน้มการเติบโตของฝ่ายสาธารณรัฐนิยมก็ไม่ได้เติบโตขึ้นเท่าใดนัก ในทางตรงกันข้าม ความนิยมของสถาบันกษัตริย์เอง จะเสื่อมลง ก็ต่อเมื่อมีประเด็นเรื่องการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้น
เขากล่าวว่า ข้อสังเกตที่แสดงให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์จะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ยาวนาน ก็คือ การไม่ทำอะไรที่ผิดเกินไป ควรทำให้สถาบันโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเอื้อให้เกิดเสรีภาพในการแสดงออก ดังจะเห็นตัวอย่างจากหลายประเทศในยุโรปที่ประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ ติดลำดับประเทศที่มีเสรีภาพสื่อสูงมากที่สุดในโลก เช่น ในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และเนเธอร์แลนด์
ที่มา: จากสไลด์นำเสนอของเดวิด สเตร็กฟัสส์
สำหรับการอภิปรายของนักวิชาการอีกสองท่าน ประชาไทจะทยอยมานำเสนอต่อไป
จาก บทความข้างต้น เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ6 ตุลาคม 2519 หรือ พฤษภาทมิฬ คงเป็นบทเรียนสอนใจ และประวัติศาสตร์ที่โหดเหี้ยมผิดมนุษย์ ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด การป้องกันที่ดี คือการปรับปรุงกฏหมาย ที่จะคอยทำลายประชาชน เหมือน เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ6 ตุลาคม 2519หรือ พฤษภาทมิฬ ยิ่งด้วยการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่กำลังเข้มข้นมากขึ้น เพราะประชาชน ประชาธิปไตยก้าวหน้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และประเทศในโลกปัจจุบัน เกือบทุกประเทศบ้างก็เปลียนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง บ้างก็ปรับปรุงพัฒนาการเมืองการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะฉะนั้น ประเทศไทยที่ประชาชนมีความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ มาตร 112 จึงไม่ใส่เรื่องการทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ แต่เป็นความคิดนำประเทศพัฒนาการเมืองกรปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธปไตยมากขึ้น ซึ่งเป็นการปกครองที่เป็นสากลนิยม เพราะการเมืองการปกครองของประเทศชาติ ต้องให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นได้ เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒาการการปกครองของประเทศให้เจริญก้าวหน้าและมนุษย์ทุกคนสามารถอยู่รวมกันได้อย่างบูรณาการ แม้กระทั่งในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเอง ประเพณีการไหว้พระจันทร์ก็ไม่ได้เคร่งครัดอะไรมาก เป็นประชาธิปไตย ครอบครัวไหน หรือคนๆไหนอยากไหว้ก็ไหว้ ไม่อยากไหว้ก็เป็นสิทธิ์และเหตุผลที่สามารถกระทำได้ เพราะประเทศที่พัฒนาแล้ว พิสูนจ์ให้เห็นแล้วว่า บนดวงจันทร์คือความว่างเปล่า และจีนเองก็เคยส่งยานอาวกาศขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ด้วย