วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คืนอำนาจอธิปไตย 2

ประชาธิปไตย สร้างรัฐธรรมนูญ 2540 รัฐประหารสร้างรัฐธรรมนูญ 2550 วิธีการใดที่เหมาะสมอย่างชอบธรรมที่สุด ในการแก้ปัญหาทางการเมือง ที่ได้ชื่อว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งระบบการปกครองดังกล่าวถ้าเป็นจริง ทุกประเทศไม่มีการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการรัฐประหารระบอบประชาธิปไตย. ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงสามารถดำเนินการได้อย่างชอบธรรม แต่จะเป็นวิธีการใดก็เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เสนอเป็นวิธีการที่ชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย ทั้งสิ้น และเป็นประเด็นที่ต้องเกิดขึ้น เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่สำคัญ อะไรที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำเนินการก่อนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรต้องเป็นวิธีการนั้นก่อน คือการดำเนินการ 3 วาระ ตั้งสสร.แล้วจึงมีการทำประชามติภายหลัง นี้คือมาตรฐานการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้ว ใคร/คนกลุ่มการเมืองใด จะได้อานิสงค์ก็เป็นเรื่องของบุญวาสนา ที่คน/กลุ่มคนการเมือง ในประเทศนั้น โชคดีที่เกิดในประเทศที่มีการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่สำคัญอีกประการหนึ่งการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนฉบับ 2550 ก็ไม่ได้เกิดจากการะบอบเผด็จการโดยการรัฐประหารระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นการสร้าง การพัฒนาประเทศที่มีการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างแท้จริง.
 
 ปฏิรูปการเมืองสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
 
**********************************
การเมืองระบอบเผด็จการ
 
 ***************************
อนุสาวรีย์ต่อต้านการรัฐประหาร/ต่อต้านเผด็จการ
 
 วงแขนสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ
 

 

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คืนอำนาจอธิปไตย





 

รัฐธรรมนูญ 2550 ได้มาโดยกฎเผด็จการ ด้วยการรัฐประหารประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 ทุกขั้นตอนของการดำเนินการ เต็มไปด้วยกฎเผด็จการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คณะรัฐประหาร ใช้วิธีการเผด็จการให้ได้มาซึ่งรัฐ
ธรรมนูญ 2550 ถ้าจะมาใช้ระบอบประชาธิปไตย ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ 2540กำหนด เขียนรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่มีนักการเมืองส่วนใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย เห็นชอบด้วย และที่สำคัญเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่เอื้อต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยวิธีการแบบเผด็จการทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น กลุ่มรัฐประหารและผู้เกี่ยวข้อง จึงต้องใช้วิธีการเผด็จการทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกขั้นตอน แม้กระทั่งการบังคบใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 ก็เต็มไปด้วยวิธีการเผด็จการทั้งสิ้น โดยเนื่อหาส่วนใหญ่ในทางการเมือง ผูกโยงไว้กับมาตรา 68 ทั้งนี้ ก็คงเพราะป้องกันไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข.
สำหรับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ควรต้องเดินหน้าและเกิดขึ้นด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. เพื่อต่อต้านการรัฐประหารระบอบประชาธิปไตย
2. เพื่อต่อต้านการได้มาซึ่งรัฐบาลโดยการรัฐประหาร ไม่ให้มาปกครองประเทศ ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. เพื่อจัดให้มี/ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการแก่ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามกระบวนการตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยกำหนด โดยรัฐสภา
4. เพื่อให้มีการนำความคิดต่างทางการเมืองไปใช้อย่างชอบธรรม ตามที่รัฐธรรมนูญ ที่มาจากระบอบประชาธิปไตย กำหนด
5. เพื่อพัฒนาสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหกษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างมีคุณภาพ
6.เพื่อพัฒนาการแก้ไขและป้องกันปัญหาทางการเมือง ด้วยวิธีที่ช
อบธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย กำหนด
7. เพื่อเป็นการคืนกรรมสิทธิ์อำนาจอธิปไตยที่เป็นไปอย่างชอบธรรมให้ประชาชน พรรคการเมือง องค์กรอิสระ ให้ใช้สิทธิ และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างชอบธรรมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย กำหนด ที่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เลิกทาส เลิกเผด็จการ สานระบอบประชาธิปไตย


รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เกิดจากการทำรัฐประหาร ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 19 กันยายน 2549  ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย จึงเปรียบเสมือนการปล้นเงิน ปล้นทอง  ถึงแม้จะเป็นของมีค่าสำหรับมนุษย์มากเพียงใด  แต่ถ้าว่ากันด้วยกฎหมายจริงๆเต็มภูมิปัญญา จริงๆ  สิ่งมีค่าก็ไร้ค่าและเสื่อมราคาในสังคมส่วนใหญ่ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ. ดังนั้น การเปลี่ยนปก เปลียน พ.ศ. แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหา ให้การเมืองเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยที่สมบูณ์ โดยคณะบุคคลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย และผ่านกระบวนการระบอบประชาธิปไตย  เพื่อให้ประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาธิปไตย พ.ศ..........ใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ  พ.ศ.2550  จึงเป็นสิ่งที่ชอบธรรม เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับระบอบประชาธิปไตย อันเป็นเจตนารมณ์ของมนุษย์ตั้งแต่โบราณกาล จวบจนปัจจุบัน.

ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ เมื่อ 3 ก.ค.2554  พรรครัฐบาลที่โดนรัฐประหาร คือ พรรคเพื่อไทย ยังได้รับความคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง 
จากสถิติการเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
46,921,682 คน
มาใช้สิทธิ
35,203,107 คน
มาใช้สิทธิ
35,119,885 คน
(ร้อยละ)
75.03%
บัตรเสีย
1,726,051 ใบ
(ร้อยละ)
4.9%
(ร้อยละ)
5.79%
โหวตโน
958,052 ใบ
(ร้อยละ)
2.72%

---------
คะแนน
ส.ส.บัญชีรายชื่อ
เพื่อไทย
(พท.)
15,744,190
ประชาธิปัตย์
(ปชป.)
11,433,762
ภูมิใจไทย
(ภท.)
1,281,577
ชาติไทยพัฒนา
(ชทพ.)
906,656
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)
494,894
พลังชล
(พช.)
178,110

รักประเทศไทย
(ร.ป.ท.)
998,603
พรรคมาตุภูมิ
(มภ.)
251,702
พรรครักษ์สันติ
(รส.)
284,132
พรรคมหาชน (พมช.)
133,772
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.)
125,784
จึงชึ้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่ภาพลวงตาและมีมาตั้งแต่ ก่อนพ.ศ.2475 นานแล้ว เพียงแต่มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมเผด็จการประชาธิปไตย คอยขัดขวางความเจริญเติบโตของการเมืองไทยสู่การเมืองประชาธิปไตยมาตรฐานโลก  ดั่งเห็นได้จาก

ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น ส่วนทหารเรือได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณีกบฏ วังหลวง ใน พ.ศ. 2492 และ กบฏแมนฮัตตันใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป
  1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
  2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
  3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
  7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
  8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
  10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
  11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
  12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปต่างประเทศ

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความไม่ลับของTHAILAND


สิ่งสำคัญ ก่อนทำให้การศึกษาเข้าสู่มาตรฐานโลก ต้องพัฒนาการเมืองการปกครองต้องเข้าสู่มาตรฐานโลก ก่อนเป็นอันดับแรก จึงจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม สู่มาตรฐานโลกได้อย่างแท้จริง. แต่ถ้าตราบใดมนุษย์ ยังโคจรอยู่กับยศฐาบรรดาศักดิ์ การเดินทางสู่มาตรโลก คือ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ก็เป็นเพียงภาพลวงตา จวบจนปัจจุบัน."ปรากฎการณ์การนำรัฐธรรมนูญ มาตรา68 มาสร้างประัโยชน์โดยมิชอบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ก็คงยังเป็นประเพณีวัฒนธรรม ที่ขัดแย้งกับมาตรฐานโลกทั้งระบบ คือ มาตรฐานการเมืองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นมาตรฐานนำสู่มาตรฐานสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทางเศรษฐกิจ และสังคม .
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 จึงถือว่าเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาทางการเมือง ที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างซ้ำซาก  และนำพาปัญหาทั้งปวงสู่ประเทศทั้งระบบ และผู้ที่ได้รับผลกระทบคือสรรพสิ่งในประเทศและอาจขยายสร้างความเสียหายต่อสรรพสิ่งบนโลก เช่น การกดขี่ข่มเหง การฆ่าล้างกันและกัน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโลก อย่างในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งเปรียบดั่งการใช้ชีวิตมนุษย์ เป็นเครื่องบูชายัญเทพเจ้า ตามความเชื่อโบราณ/มนุษย์เผามายา ที่ฆ่ามนุษย์เพื่อบูชายัญเทพเจ้า  สุดท้ายจึงไม่เหลือแม้แต่เทพเจ้า ปัจจุบัน เหลือเพียงซากปรักหักพัง เป็นอนุสรณ์เตือนใจว่า "สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวง ไม่ใช่สิ่งทำให้ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวงอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ เป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวง อยู่ได้อย่างไม่มีวันล่มสลาย จากโลกนี้"

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุของการทำรัฐประหารในประเทศไทย


พรรคการเมืองใด/รัฐบาลใดที่เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาทั้งในทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจริง เศรษฐกิจ และสังคม เกินขอบเขตตามรัฐอธรรมนูญของกลุ่มอนุรักษ์นิยม พรรคการเมืองนั้น/คนการเมืองนั้น/กลุ่มคนการเมืองและรัฐบาลการเมืองในระบอบประชาธิปไตย มีอันต้องโดนรัฐประหารจาก กลุ่มอนุรักษ์นิยม ทุกครั้งไป โดยไม่สนใจแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาในมาตราใดของประเทศ และของโลก เช่น 14ต.ค.2516,6ต.ค.2519 และการสลายการชุมนุมนปช.ที่สีแยกราชประสงค์
จะเห็นว่ากลุ่มอนุรักษ์นิยมสามารถเกเรได้ถึงขนาดนั้น แต่ความเกเรที่ทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาฆ่าคนตายโดยเจตนาชัดแจ้งด้วยหลักฐาน กลับถูกลบล้างลงด้วยการกล่า่วนำถึงสถาบันทุกครั้งไป. จึงถือว่าความยุติธรรมในทางการเมืองในประเทศไทย จึงเป็นไปอย่างไม่เต็มภูมิปัญญาที่แท้จริง .
กรณี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ปรากฎตัวทางโทรทัศน์ ช่อง 11 เมื่อคืน 9 ธ.ค.55 ภายหลังโดนต่อต้านจากกลุ่มตรงข้าม ทั้งที่การกระทำ การพูด การแสดงออกของอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ทั้งกล้ามเนื้อเล็ก และกล้ามเนื่อใหญ่ไม่ได้ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอาญามาตราใดเลย.
ความเป็นอัจฉริยะ บวกความมุ่งมั่น ขยันพรากเพียร บวกความเก่งความเฮง และบุญวาสนา ถึงอย่างไรประเทศไทยก็ไม่สามารถทำให้การเมืองของประเทศไทยปลอดจากพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ปลอดจากพรรคเพื่อไทย และ นปช.เพราะนั้น คือ เจตนารมณ์ของมนุษย์ตามระบอบประชาธิปไตย ที่สอดคล้องกับมาตรฐานประชาธิปไตยโลก รวมทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งหมายถึง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งระบบ ตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยกำหนด.

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ปลดแอกให้แก่ประชาธิปไตย




ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยคณะราษฎร์ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ต้องยอมรับความจริง ดังนี้
1.             มนุษย์ส่วนใหญ่มีความต้องการสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง และเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ได้รับโอกาสในสิ่งเหล่านี้อย่างเสมอภาค ทั่วถึง และมีคุณภาพ ด้วยตนเองและเป็นผู้มีส่วนร่วมในการกระทำทั้งระบบแล้ว ถือว่ามนุษย์ได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ –อารมณ์  สังคม และสติปัญญา อย่างสมบูรณ์และต่อเนื่องตลอดชีวิต. ความด้อยโอกาสของคนส่วนใหญ่ ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งปวง ทั้งในประเทศและโลก . การคิดค้นหาวิธีการเมืองการปกครอง ที่จะทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ ในทุกด้าน จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคโบราณ จวบจนปัจจุบัน.
2.             กระแสของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของโลก ส่งผลให้จิตสำนึกที่มีตัวในตัวของมนุษย์
ส่วนใหญ่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว กลายเป็นพลังบวกในการที่จะทำให้อุดมการณ์เป็นรูปธรรมมากที่สุด ในที่สุด
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ต้องยอมรับความจริง ดังนี้
1.             ความคิดต่างทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แบบ ราชาธิปไตย โดยมีรัฐสภา เป็นสถาบันนิติ
บัญญัติของประเทศ ระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยม และ กลุ่มประชาธิปไตยแนวมาตรฐานโลก ที่ไม่สามารถผสมผสานความคิดต่างทางการเมืองเข้าด้วยกันได้อย่างแท้จริง โดยยึดเจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริงเป็นเป้าหมายของประเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานประชาธิปไตยโลก คือ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ
2.             การปฏิวัติรัฐประหาร/การยกเลิกรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย เกิดจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม ก่อ
เชื้อไฟและเติมเชื้อไฟ ทำลายระบอบประชาธิปไตย เพราะการที่คนส่วนน้อยกว่าจะชนะคนส่วนใหญ่กว่าได้อย่างเบ็ดเสร็จและกระทำการทุกอย่างได้ตามอำเภอใจของกลุ่มอนุรักษ์นิยม/กลุ่มเผด็จการ คือ การใช้วิธี         กดขี่ ข่มเหง ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยใช้กำลังทางร่างกาย อาวุธ และการโฆษณาชวนเชื่อแบบโบราณเป็นสำคัญ ที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้ความสำคัญ และกำหนดไว้
3.             ประเทศไทยเรา ได้ชื่อว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา  โดยดูจากข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม และ
โดยเฉพาะการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ยังเป็นเพียงภาพลวงตา เป็นการหลอกเด็กและหลอกสามัญชนไปวันๆ ซึ่งเห็นแล้วว่า เมื่อ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519  พฤษภาทมิฬ ระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 การชุมนุมของกลุ่มนปช.หลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งเด็ก  เยาวชนและประชาชน ของระบอบประชาธิปไตย ไม่ยอมรับวิธีการใดๆที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย.
4.             การปลดแอกให้ประชาชน ปลดแอกให้ประเทศ จาก ประเทศกำลังพัฒนา ให้
เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ตามระบอบประชาธิปไตย   ที่ยังเป็นความมุ่งหวังของคนส่วนใหญ่อย่างไม่มีวันเสื่อมคลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ . ดังนั้น  การที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้งโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ  กำลังพัฒนาประเทศ สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ที่สอดคล้องกับมาตรฐานประชาธิปไตยของโลก.
ในการดำเนินการ  สิ่งที่ถือว่าเป็นเครื่องยืนยันและทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ ความเสอมภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย
5.             เมื่อประชาธิปไตย เดินหน้า พัฒนาประเทศทั้งระบบ เพื่อให้ประเทศมีการปกครอง                           
แบบราชาธิปไตย ที่สอดคล้องกับมาตรฐานราชาธิปไตยของโลก  ก็ไปกระทบผลประโยชน์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  การต่อต้านและล้มรัฐบาลประชาธิปไตย โดยการรัฐประหาร จึงเกิดขึ้นแบบซ้ำซาก 3 เวลา ทั้งก่อนและหลังตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยและทั้งก่อนเขียนและหลังเขียนรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย จวบจนปัจจุบัน
6.             การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 การออกพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ ไม่ใช่การแก้ไข เพื่อคนใด
คนหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นสำคัญ แต่เป็นเจตนารมณ์อันสำคัญที่สุด ของกลุ่มประชาธิปไตย ที่มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  ทั้งในและต่างประเทศที่มีความมุ่งหวังมาตั้งแต่โบราณของความเป็นมนุษย์ทั้งในประเทศและโลก ที่ต้องการให้คนทุกคนหรือสรรพสิ่งในประเทศและโลก มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ที่ควรต้องเป็นตามมาตรฐานประชาธิปไตยของโลก หรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นต่อกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถ้าคิดในหลักของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คิดด้วยสามัญสำนึก คิดอย่างบริสุทธิ์  ทุกอย่างไม่มีเจตนารมณ์ในการล้มล้างสถาบันใดในประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน แต่เป็นเจตนารมณ์ของประชาธิปไตย ที่ต้องการปลดแอกประชาชน ปลดแอกประเทศ จากประเทศกำลังพัฒนา สู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบ อย่างแท้จริง ด้วยวิจารณญาณแห่งระบอบประชาธิปไตย อันหมายถึง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ  การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 การออกพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ /แม้แต่อาจมีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา112  ในยุคโลกาภิวัฒน์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีแต่ได้ในเชิงการพัฒนาประเทศทั้งระบบและการสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยให้ประเทศและโลก  แต่ถ้าเสียก็คงเป็นการเสียความรู้สึกตามทัศนคติของคนส่วนหนึ่ง ที่มีต่อบุคคลคนๆหนึ่ง กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ แต่คงไม่มากไปกว่าคน ที่ เกิดความรู้สึกดีๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  แต่การเสียความรู้สึกของคนส่วนหนึ่งในประเทศ ก็คงต้องไม่ทำให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารระบอบประชาธิปไตยทั้งระบบขึ้นได้  ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่กว่าในประเทศและต่างประเทศ ต้องเสียความรู้สึกต่อการทำลายระบอบประชาธิปไตย ต่อการทำลายสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์/อุดมการณ์ของมนุษย์ทั้งโลก.
7.             รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ถือเป็นรัฐธรรมนูญ ที่ได้มาและได้รับการรับรองจากระบบเผด็จการทั้ง
ทางตรงและอ้อม แต่เราก็ต้องทำใจเชิงเผด็จการตนเองอีก ในการทำใจยอมรับชั่วคราว  
  ในเมื่อรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญของประเทศ  โดยไม่ต้องใช้ดุลพินิจหรือส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความในการเป็นรัฐบาล  มีเจตนาดีในการแก้ไขปัญหาการปฏิวัติรัฐประหารทั้งทางตรงและทางอ้อมในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางการเมืองทั้งระบบ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ทั้งฉบับ และการออกพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ ควรต้องดำเนินการต่อไป ตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง โดยรัฐสภาเป็นสถาบันนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจสูงสุด และภาคประชาชน เป็นสถาบันที่ให้การรับรองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด  ในการดำเนินการ/ผลการดำเนินการ ก็อาจมีทั้งคนเสียความรู้สึกและได้ความรู้สึก เป็นเรื่องปกติ  แต่การได้ความรู้สึกและเสียความรู้สึกต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย  แต่ถึงอย่างไร การเสียความรู้สึก ก็ดีกว่าการทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต หลายร้อย หลายพันเท่า.
“ ชนชั้นนำในประเทศ ที่คิดว่าการปฏิวัติรัฐประหาร เป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศได้ ทั้งระบบ ก็เท่ากับเป็นแสดงตัวในการขัดขวางการพัฒนาประเทศ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองระบอบประชาธิปไตย สู่ ประชาคมอาเซียน สู่จุดมุ่งหมายการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติ ”
หมายเหตุ : สหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่ง มีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่าง ประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา สหประชาชาติมีองค์กรจำนวนมาเพื่อนำภารกิจไปปฏิบัติ
        



               

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.2475 แต่ในระยะเวลา 80 ที่ผ่านมา ระบอบประชาธิปไตย เป็นเพียงสนามเด็กเล่น ที่ไม่สามารถพัฒนาการเมืองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เป็นจริงได้ โดยต้องคำนึ่งถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งเป็นสถาบันหลักในการพัฒนาประเทศชาติ ทั้งมวลอย่างแท้จริง ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจริงๆนั้น รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่ได้มาโดยชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย การแก้ไข ปรับปรุง ต้องเป็นไปตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตยที่ชอบธรรมเท่านั้น
แต่ 80 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย ไม่ได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานประชาธิปไตยโลก อย่างแท้จริง แต่กลับทำให้ระบอบประชาธิปไตย  สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพตกอยู่ใต้อำนาจของยศฐาบรรดาศักดิ์เป็นที่ตั้ง ซึ่งขัดแย้งกับหลักการและวิธีการของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเห็นได้จากการที่ประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ เฉลี่ย ในระยะเวลา 80 ปี ประเทศไทยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับละ 4 ปีกว่า แสดงว่า ชนชั้นนำของประเทศ และคนบางกลุ่มทางการเมือง ไม่ได้ใส่ใจในระบอบประชาธิปไตย อย่างแท้จริง แน่นอน กลุ่มอนุรักษ์นิยม  คงไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของประเทศไทยสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไปมากกว่านี้  แต่การทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและชนะการเลือกตั้ง นั้นเป็นหลักการและวิธีการที่อยู่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยของมนุษยชาติอย่างแท้จริง.  ปัญหาการเมืองของประเทศไทย ไม่ได้อยู่ที่ระบอบประชาธิปไตยที่จะสอดคล้องกับมาตรฐานของระบอบประชาธิปไตยโลก แต่ปัญหาเกิดจากการไม่ยอมรับในระบอบประชาธิปไตยและไม่คำนึ่งถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพของสามัญชนทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ดังนั้น เมื่อคนที่ทำตัวเป็นกลุ่มชนชั้นนำของประเทศ ซึ่งไม่ยินดีกับระบอบประชาธิปไตยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บวกกับปัญหาตามธรรมชาติของระบอบประชาธิปไตย ในประเทศกำลังพัฒนา จึงเป็นช่องทางให้กลุ่มคนเหล่านั้น  กล่าวอ้างใช้เป็นกลยุทธ์ในการเผด็จการโดยการทำรัฐประหาร/ฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นของเล่น ดั่งมองเห็นสามัญชนเป็นของตาย เปรียบเป็นการดูหมื่นเหยียดหยามสามัญชน  เพราะรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย ถือเป็นหัวใจของมวลมนุษยชาติ
รัฐธรรมนูญ 2550  ซึงถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศอีกฉบับ ที่ได้มาจากการรัฐประหาร และมีผลบังคับใช้ตามระบบเผด็จการนิยม จวบจนปัจจุบัน แต่การที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน จะยังคงนิ่งเฉย ไม่กระทำตามอุดมการณ์ ที่แปลงเป็นนโยบาย สู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรม  เพื่อลบล้างความมัวหมองของประเทศและนำประเทศออกจากกรอบของเผด็จการอย่างเต็มตัว นั้น คงไม่ใช่วิสัยของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นั้น ต้องแก้ไขสิ่งที่ขัดแย้ง และได้มาโดยมิชอบตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นจริง  .
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และการออกพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ จึงเป็นการกระทำที่ชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตย และถือว่าคนการเมือง พรรคการเมือง รัฐบาลนั้น มีความจริงใจ จริงจัง และยึดมั่นในอุดมการณ์ และนโยบาย  สามารถเป็นที่พึ่งหวังของประชาชนได้อย่างแท้จริง ทั้งในยามสุขและทุกข์  จึงเป็นบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งในศตวรรษนี้อีกครั้งว่าประชาธิปไตยที่เป็นจริงมีจริง และประชาธิปไตยที่ดำเนินการโดยนิสิตนักศึกษา คงไม่พอเพียงที่จะหยุดยั้งกลุ่มเผด็จการได้อย่างยั่งยืน ประชาธิปไตยภาคประชาชนที่แข็งแกร่ง กลุ่มคนทางการเมืองที่มีอุดมการณ์ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นักวิชาการทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยและนิสิตนักศึกษา ในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มุ่งมั่น หยุดยั้งการปฏิวัติรัฐประหาร พร้อมกับการมีรัฐธรรมนูญฉบับจริงของประเทศ จึงเป็นการรวม 4 เสาหลัก  ชักธงไทย อวดอ้างรัฐธรรมนูญ สู่สายตาชาวโลกอย่างสง่างาม.
  "ประชาธิปไตย คือ สมาชิกของประชาคมโลก  และรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย คือ กล่องดวงใจของเพื่อนมนุษยชาติ"





 

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาธิปไตย แบบหาเช้ากินค่ำ/หักแข้งแทงหยวก ≠ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี





กลยุทธ์ใช้เวทีนอกสภาของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เสธ.อ้าย ได้ประกาศยุติอย่างเป็นทางการไปแล้ว  เพราะทั้งภาคประชาชน องค์กรเอกชน ส่วนใหญ่ และองค์กรของรัฐ ทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่เห็นด้วย  .      ส่วนกลยุทธ์ ที่ 2 ใช้เวทีของรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ สมาชิกรัฐสภา จะดำเนินการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกรัฐสภา จะมีความสำนึกถึงการไม่สร้างความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศชาติมากกว่าการมีอคติต่อฝ่ายตรงข้าม หรือไม่ ที่ผ่านมา  สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน ได้นำกลยุทธ์นอกรัฐสภาที่เห็นกันได้ทั่วไปของความเป็นมนุษย์ธรรมดาๆไปใช้ในรัฐสภา  อย่างนั้น เป็นการแสดงถึงการไม่เคารพต่อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ  พฤติกรรมอย่างนั้นไม่สามารถแสดงให้คนของโลกส่วนใหญ่ มีอารมณ์ร่วมไปกับพฤติกรรมที่สวนกระแสโลก ที่ต้องการสร้างประชาธิปไตย ด้วยระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาประเทศและโลกทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะทางการเมือง ที่ผ่านมาการอภิปรายไม่ไว้วางใจมีแต่ข้อมูลแบบหาเช้ากินค่ำและหักแข็งแทงหยวก .
 การอภิปรายไม่ไว้วางใจว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่น นั้น มีแต่โบราณมาแล้ว ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง มันเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในประเทศและโลกนี้ทั้งระบบ ที่ต้องแก้ไขทั้งระบบ ด้วยระบอบประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล  ส่วนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ความปรอดองแห่งชาติ นั้น เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพตามระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบัน ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรม ที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ ตามกระบวนการของระบอบประชาธิปไตย  และเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่เหนือกว่าสิทธิแบบอธรรมของฝ่ายค้าน   ดูจากผลการเลือกตั้ง หลายครั้งที่ผ่านมา  และในต่างประเทศ จะเห็นจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นไปในทางพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งระบบ สำหรับข้อมูลที่มีการกล่าวอ้างว่ารัฐบาลปัจจุบันปล่อยให้มีการจาบจ้วงสถาบันนั้น  เป็นความไม่ยุติธรรมต่อผู้ถูกอภิปราย เพราะข้อมูลดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกคนในประเทศของโลกนี้   ในประเทศไทย ข้อมูลของการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบัน นั้น  มีมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สูระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญ จวบจนปัจจุบัน และการที่บอกว่าเป็นความผิดของใครคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะตัว หรือ เป็นความผิดของพรรคใดพรรคหนึ่งที่ไม่บังคับใช้กฎหมายกับประชาชน นั้น   เป็นความคิดแบบหาเช้ากินค่ำ /แบบหักแข็งแทงหยวก นั่นเอง. 
ดังนั้น  วิธีการที่ชอบธรรมกับการแก้ไขปัญหาการทุจรติคอร์รัปชั่น และการแสดงความคิดเห็นต่อสถาบัน  ซึ่งทั้ง 2 ปัญหามีมาแต่โบราณของมนุษย์  จึงต้องเป็นความรับผิดชอบทั้งระบบ  ที่จะปฏิรูปการเมืองการปกครองของประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  ตามที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ จวบจนปัจจุบัน เพื่อนำประเทศสู่การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อย่างแท้จริง.