รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เกิดจากการทำรัฐประหาร ระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย จึงเปรียบเสมือนการปล้นเงิน ปล้นทอง ถึงแม้จะเป็นของมีค่าสำหรับมนุษย์มากเพียงใด แต่ถ้าว่ากันด้วยกฎหมายจริงๆเต็มภูมิปัญญา จริงๆ สิ่งมีค่าก็ไร้ค่าและเสื่อมราคาในสังคมส่วนใหญ่ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ. ดังนั้น การเปลี่ยนปก เปลียน พ.ศ. แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหา ให้การเมืองเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยที่สมบูณ์ โดยคณะบุคคลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย และผ่านกระบวนการระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประเทศไทย มีรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาธิปไตย พ.ศ..........ใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ พ.ศ.2550 จึงเป็นสิ่งที่ชอบธรรม เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับระบอบประชาธิปไตย อันเป็นเจตนารมณ์ของมนุษย์ตั้งแต่โบราณกาล จวบจนปัจจุบัน.
ผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ เมื่อ 3 ก.ค.2554 พรรครัฐบาลที่โดนรัฐประหาร คือ พรรคเพื่อไทย ยังได้รับความคะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง
จากสถิติการเลือกตั้ง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
46,921,682 คน
มาใช้สิทธิ
35,203,107 คน
มาใช้สิทธิ
35,119,885 คน
(ร้อยละ)
75.03%
บัตรเสีย
1,726,051 ใบ
(ร้อยละ)
4.9%
(ร้อยละ)
5.79%
โหวตโน
958,052 ใบ
(ร้อยละ)
2.72%
---------
คะแนน
ส.ส.บัญชีรายชื่อ
เพื่อไทย
(พท.)
15,744,190
ประชาธิปัตย์
(ปชป.)
11,433,762
ภูมิใจไทย
(ภท.)
1,281,577
ชาติไทยพัฒนา
(ชทพ.)
906,656
ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)
494,894
พลังชล
(พช.)
178,110
รักประเทศไทย
(ร.ป.ท.)
998,603
พรรคมาตุภูมิ
(มภ.)
251,702
พรรครักษ์สันติ
(รส.)
284,132
พรรคมหาชน (พมช.)
133,772
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.)
125,784
จึงชึ้ให้เห็นว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่ภาพลวงตาและมีมาตั้งแต่ ก่อนพ.ศ.2475 นานแล้ว เพียงแต่มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมเผด็จการประชาธิปไตย คอยขัดขวางความเจริญเติบโตของการเมืองไทยสู่การเมืองประชาธิปไตยมาตรฐานโลก ดั่งเห็นได้จาก
ผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น ส่วนทหารเรือได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ไม่สำเร็จเป็นกรณีกบฏ วังหลวง ใน พ.ศ. 2492 และ กบฏแมนฮัตตันใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอำนาจในแวดวงการเมืองไทยไป
- รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
- รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
- รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
- รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
- รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
- รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
- รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
- รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
- รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
- รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
- รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น