โดย สีเลือดเดียว เมื่อ 6 พฤษภาคม
2556
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ
แบบมีรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร์ ในเวลานั้น
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเมืองใหม่ ในประเทศไทย
การเมืองใหม่ เป็นการเมืองระบอบประชาธิปไตย เจตนารมณ์เพื่อสิทธิเสรีภาพ
ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระบอบประชาธิปไตย
ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย ประชาชน คือ ผู้ที่มีอำนาจสูงสุด
และเป็นกลุ่มที่มีอำนาจผูกขาดในระบอบประชาธิปไตย โดยหนึ่งคนหนึ่งเสียง
เลือกผู้แทนของตนไปทำหน้าที่บริหารจัดการประเทศชาติ ในนามรัฐบาล
และสมาชิกรัฐสภา แต่ความสำคัญลำดับแรก
การสร้างความตระหนัก ในสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ
ในระบอบประชาธิปไตย เป็นความชอบธรรม ด้วยความเป็นธรรม ที่สอดคล้องกันกับหลักสิทธิมนุษยชน
แต่ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค
และภราดรภาพ ที่เป็นไปตามอคติ 4 คือ 1 ) ฉันทาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะรัก หรือเพราะความพอใจ, 2 ) โทสาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะโกรธหรือเกลียด , 3 ) โมหาคติ
แปลว่า ลำเอียงเพราะความเขลา โดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าอะไรถูก,อะไรผิด,อะไรควร,หรืออะไรไม่ควร,
4 ) ภยาคติ แปลว่า ลำเอียงเพราะกลัวหรือเพราะเกรงใจ
สภาพการเมืองใหม่ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จวบจนปัจจุบัน จะเป็นด้วยเหตุผลใด
ผู้เขียนไม่กล่าวถึงในบทความนี้ ว่าการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในรัฐบาลแต่ละชุด
เพราะเหตุใด และทำไมการเมืองไทย
ถึงไม่ปลอดภัยจากเผด็จการรัฐประหาร ด้วยการกล่าวคำว่า “ชาติ ศาสนา และปกป้องสถาบัน
” ที่เป็นการตอกย้ำความเป็นเผด็จการ และชี้นำ ให้เกิดการจับเป็น จับตาย
ผู้คิดต่างทางการเมือง ทั้งในระบบและนอกระบบ
และในปัจจุบัน ได้ถูกนำเข้าไปสู่ในกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างเบ็ดเสร็จ
ถึงแม้การรัฐประหารทั้งในอดีตและปัจจุบัน
จะยกว่า ชาติ ศาสนา และปกป้องสถาบัน ขึ้นมากล่าวอ้าง
เพื่อกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย ที่กำหนดไว้ในอุดมการณ์ของผู้ฝักใฝ่ในระบอบประชาธิปไตย
และมีกฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย กำหนดไว้แต่ผู้เขียนมีความคิดและเข้าใจด้วยจิตสำนึก
ในทางสายกลาง ว่า “การเมืองใหม่ เป็นการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย
แบบมีรัฐสภา ซึ่งหมายถึง
การเมืองการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน มาจากประชาชน
และประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด ทั้งนี้ เป็นไปตามสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ
ที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสและเข้าถึงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตย อย่างเสมอภาค
ซึ่งแต่ละคนแต่ละกลุ่มมีเอกลักษณ์ตามเชื้อชาติ และศาสนาของตนเอง
แต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ โดยมีรัฐบาลและรัฐสภาที่มากจากระบอบประชาธิปไตย
ทำหน้าบริหารจัดการประเทศชาติ ให้เกิดผลประโยชน์ และตกถึงประชาชนโดยรวมเป็นสำคัญ
ดังนั้น การเมืองใหม่
จึงไม่ใช่การเมืองที่ชี้นำด้วยคำว่า “
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
แต่ก็ไม่ใช่การเมืองที่ไม่มีจิตสำนึกต่อทุกเชื่อชาติ ทุกศาสนา
และสถาบันประมุข คำว่า “การเมืองใหม่ จึงเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตรยิ์ ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย แบบมีรัฐสภา
หรือ เสรีภาพประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น