วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เสียทีได้ที่บนเวทีประชาธิปไตย


โดย...ชน
    เมื่ิอ 19 กันยายน 2549 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ถือว่าไม่ได้แพ้ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นการเสียที่ ให้แก่ผู้ที่ไม่เห็นชอบกับนโยบายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตยของพรรคไทยรักไทย ที่มีกองกำลังทหารเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งถือว่าไม่ได้เสียทีแก่ระบอบปประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นการเสียทีแก่ยุทธวิธีที่ิสิ้นเชิงในระบอบประชาธิปไตย
    ถึงเวลาอันสมควรซะที่จะมีการนำเวทีรัฐสภาที่เป็นชั้นเชิงของระบอบประชาธิปไตยโลก มาสร้างระบอบประชาธิปไตยของประเทศชาติ การที่จะมีผู้เสียที่และได้ทีบนเวทีรัฐสภา จึงเป็นผู้ที่เสียที่และได้ที ที่มีชั้นเชิงที่ถือได้ว่าอาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆแห่งจริยธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสากล และการเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่เหนือทุกชาติที่ยังคงมีอยู่อธิปไตย ของตนและเป็นสิ่งที่ยืนยันความมีอธิปไตยที่จะคงความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ
    ดังนั้น การเสนอ พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ และพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่เวทีรัฐสภา จึงเป็นที่เสียที่และได้ที ที่ถือได้ว่าอาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆแห่งจริยธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสากล และการเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่เหนือทุกชาติที่ยังคงมีอยู่อธิปไตย ของตนและเป็นสิ่งที่ยืนยันความมีอธิปไตยที่จะคงความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สัจธรรม (The truth )


โดย...ชน 
      มหากาฬยุคที่ 1 ในเมืองไทย                   กบฏไทยสำเร็จโทษเจ้าตากสิน
ยุคที่ 2 โรคระบาดในแผ่นดิน                    ชีวิตคนดับสิ้นเรียกพาลยักษ์
ยุคที่ 3 รักมิตรกิจทุกด้าน                          ว่าราชการกับบัณฑิตเชิงประจักษ์
กิจการบ้านเมืองร่วมพิทักษ์                       เป็นประจักษ์ในต่างแดนเริ่มมีมา
     ยุคที่ 4 ฝักใฝ่ธรรมค้ำจุนชาติ               ปฏิบัติธรรมเป็นโอวาทในยศศรี
สนิทธรรมเป็นยุคหลีกไพรี                         เพราะยังมีผู้จองกรรมในธานี
ยุคที่ 5 จำแขนขาดรักสงบ                        ไม่ออกรบแลกสงบใช่ศักดิ์ศรี
เสียดินแดนส่วนน้อยอย่าราวี                     ป้องศักดิ์ศรีดินแดนใหญ่จวบปัจจุบัน
     ยุคที่ 6 ราษฎร์โจรดั่งปล้นชาติ              ด้วยมุ่งมาดราชโจรเป็นยศศรี
ทั้งเศรษฐกิจ ยศถาแบ่งกันมี                     แต่ยศศรีที่มีเป็นราชโจร
ยุคที่ 7 ชนร้องทุกข์ทางเศรษฐกิจ               เหตุจากพิษเศรษฐกิจอันเหลือล้น
จากยุคก่อนเรียกเป็นยุคของราชโจร            จึงดั้นด้นสู่การปฏิวัติ
     ยุคที่ 8 ยุคทมิฬสิ้นกษัตริย์                   โค่นเฉวตฉัตรของประชาดับสลาย
คนการเมืองถูกกำจัดให้มลาย                   ยังไม่สายเปิดโปงสู่ความจริง
ยุคที่ 9 ถิ่นกาขาวชาวต่างชาติ                   สร้างตลาดโลกใหม่ในทุกสิ่ง
ทั้งวัฒนธรรมคนไทยไม่ประวิง                   อะเมซิ่งไทยแลนด์แดนสวยงาม
     ยุคที่ 10 ชาวศรีวิไลซ์ยังไม่ถึง               แต่คำนึงด้วยจิตอันประสาน
เศรษฐกิจ สังคม นั้นชื่นบาน                     อีกทั้งทางการเมืองนั้นร่มเย็น
ประชาชนจะอยู่เย็นและเป็นสุข                   ปลดความทุกข์การเมืองอันเคี้ยวเข็ญ
นำสู่ยุคมหาชนไม่ยากเย็น                          ด้วยเพราะเป็นศักราชใหม่แห่งประชา
     เหล่าคนชั่วถูกปราบราบคาบสิ้น            เหตุแผ่นดินเดือดนั้นสูญสลาย
ไร้ปัญหาแตกแยกให้มลาย                        ประเทศเป็นเป้าหมายของปวงชน
ประเทศชาติผ่านวิกฤตด้วยมิตรสร้าง         ประเทศสร้างด้วยจิตไม่สับสน
ประเทศชาติการเมืองไมพะวง                   ไม่ประสงค์เข็ญฆ่าทางการเมือง
    กาลเวลาจะเป็นเครื่องการพิสูจน์                 ความเป็นรูปสัจธรรมตามที่หมาย
ยามเมื่อฟ้าสีทองส่องประกาย                   นิมิตหมายดั่งคำพระอริยสงฆ์ 
ยุคทั้ง9ผ่านมาและเป็นอยู่                       สิ่งให้รู้ปรากฏอยู่อย่างผสม
ประเทศชาติยังอยู่อย่างมั่นคง                   ไม่มีใครประสงค์ทำลายมลายไป

     

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภัยธรรมชาติ ที่เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง
























หลักธรรมะ,หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีไว้สำหรับปกป้องฝ่ายที่มีความคิดต่างทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นการเฉพาะ  แต่มีไว้สำหรับปกป้องทุกคน ทุกฝ่าย ที่เป็นไปตามสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ตามหลักธรรมะ ,หลักกฎ

หมายและหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตย "

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พิทักษ์สิทธิ์ พิทักษ์เจตนารมณ์ระบอบประชาธิปไตย (Protect the right , protect democracy intention )



โดย...ชน
 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ในความเป็นมาตรฐานของรัฐธรรมนูญ เป็นหน้าที่ตามสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่ต้องใช้อำนาจอธิปไตย ของตนเอง 1 คน 1 เสียง ในการแสดงความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล จึงจะได้ชื่อว่า          “ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ” เพราะเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย คือ การมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  แต่รัฐธรรมนูญ ที่ได้มาโดยการรัฐประหาร เป็นรัฐธรรมนูญ ที่ได้ชื่อว่า “ รัฐธรรมนูญเผด็จการ หรือรัฐธรรมนูญคลุมถุงชน ” ซึ่งเจตนารมณ์ นั้น แน่นอนการมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะทางการเมือง ต้องอยู่ในวงจำกัด  นี้เป็นลักษณะขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ที่บ่งบอกได้ว่ารัฐรรมนูญฉบับใดเป็นประชาธิปไตย ฉบับใดเป็นเผด็จการ หรือ คลุมถุงชน  รัฐธรรมนูญ ทั้ง 2 ลักษณะนี้ นอกจากมีที่มาแตกต่างกันแล้ว  แน่นอนด้านเนื้อหา ก็ย่อมต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะเจตนารมณ์ที่เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ ดั่งเห็นจากรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 กับ รัฐธรรมนูญ  พุทธศักราช 2550
         หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554  ผลการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด จึงได้จัดตั้งรัฐบาลบริหารจัดการประเทศชาติ  สิ่งหนึ่งที่เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ที่นอกเหนือจากนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม แล้ว คือ นโยบายด้านการเมืองระบอบประชาธิปไตย  โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช  2550   และการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งการดำเนินการเป็นไปตามนโยบาย ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญ ภายใต้เจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย เป็นสำคัญ
            การแสดงความไม่เห็นด้วย เป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย แต่การนำความไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีที่ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาตรา 68 วรรคสอง เป็นการตัดสิทธิ์ของประชาชนในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ หรือไม่ นั้น  ผู้เขียนมองว่า รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 มาจากการรัฐประหาร ถือเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ  ที่ผิดไปจากเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย อย่างสิ้นเชิงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  พุทธศักราช 2550 จึงเป็นการแก้ไขระบอบเผด็จการ และแก้ไขเจตนารมณ์ของระบอบเผด็จการ เป็นสำคัญ  ถ้าบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา  68 วรรคสองเป็นการตัดสิทธิ์ของประชาชนในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ  ก็คงหมายความได้ว่า  จะเป็นการตัดสิทธิ์ในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญจากรัฐประหาร  เพื่อเป็นการคืนสิทธิ์ในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน สู่ความเป็นประเทศชาติ ที่ได้ชื่อว่า มีความเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ที่สุด  เจตนารมณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ ถือเป็นความผิดต่อเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย ด้วยหรือ
         ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550  สิ่งสำคัญและจำเป็นไม่ใช่อยู่ที่พรรครัฐบาลเป็นผู้แก้ หรือผู้สร้างดุล และฝ่ายค้านเป็นผู้ต่อต้าน หรือผู้ถ่วงดุล  แต่ความสำคัญและจำเป็นอยู่ที่ทั้งการแก้หรือการสร้างดุล และการต่อต้าน หรือถ่วงดุล ที่จำต้องอาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆแห่งจริยธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสากล และเคารพกฎเกณฑ์เหล่านี้ เป็นสิ่งที่อยู่เหนือทุกชาติ ที่ยังคงมีอธิปไตย ที่จะยังคงความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ จึงจะได้ชื่อว่ามีความตระหนักในสิทธิของประชาชน ในการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย  ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย  และแน่นอนการตระหนักในสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ 2550 ตามมาตรา 68 วรรคสอง จึงเป็นเพียงวิธีการยับยั้งเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย อย่างพร้อมสรรพ


วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความจริงที่ไม่ต้องค้นหา


     เจตนารมณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการดมืองระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญจำต้องอาศัยกฎเกณฑ์ของสิ่งเหล่านี้แห่งหลักจริยธรรมทางการเมืิองซึ่งเป็นสากล
การรัฐประหาร จึงไม่ใช่วิธีการที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตย และที่สำคัญเป็นวิธีการที่สวนทางกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดอย่างสิ้นเชิง
      ถึงแม้จะยกปัญหาการคอร์รัปชั่น ขึ้นมากล่าวอ้าง ก็ไม่ใช่สิ่งชอบธรรมและความเป็นธรรมต่อภาพรวมของประเทศชาติได้ และปัญหาการคอร์รัปชัน ก็เป็นปัญหาที่มีอยู่ในทุกระบบการเมืองการปกครอง การแก้ไขและป้องกัน ต้องเป็นการควบคุม  ตรวจสอบและเอาผิดตามหลักธรรมาภิบาลอย่างจริงจัง แต่ไม่ใช่ไปควบคุม ตรวจสอบและเอาอย่างจริงจัง ที่เป็นไปตามความคิดต่างทางการเมือง และนำไปสู่ขบวนการล้มรัฐบาล โดยการรัฐประหาร ซึ่งผลพวงการรัฐประหาร ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกอย่างอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ แน่นอนสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ ต้องถูกเกรียน และเชื่อว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คงยืนยันในความเป็นจริงข้อนี้ได้อย่างดีมาก
     การรัฐประหาร ยิ่งไปยก  3 สถาบันในประเทศ ขึ่นมากล่าวอ้าง แน่นอน นั้นคือการสร้างระบอบเผด็จการทางการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ เพราะ สิ่งนั้นอยู่ในจิตสำนึกของทุกคนอยู่แล้ว การนำไปเบิกทางก่อการรัฐประหาร ก็คงเปรียบได้ดั่งคำว่า" ใช้อัฐยายฆ่ายาย " ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นการสร้างความเสียหายที่มีต่อ 3สถาบันและเป็นการเติมเชื้อไฟในการต่อต้านระบอบเผด็จการ มากขึ้นหลายเท่า จวบจนปัจจุบัน
     ดังนั้น การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้ไขและป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่น และแก้ไข ป้องกันการใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ที่ไม่คำนึงถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ นั้น จึงไม่ใ่ช่การก่อการทำรัฐประหาร ด้วยเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น แต่การจำต้องอาศัยกฎเกณฑ์ของหลักการแห่งจริยธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย แบบมีรัฐสภา ซึ่งเป็นสากล  จึงเป็นการพัฒนาจุดอ่อนระบอบประชาธิปไตยไทยและเพิ่มจุดแข็งความเป็นไทย อย่างชอบธรรมและด้วยความเป็นธรรม  ทั้งหมดจึงเป็นความจริงที่ไม่ต้องค้นหา "ความจริง จึงเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดและหลังเกิด "

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมประเพณี กับ ระบอบประชาธิปไตย


ดย...สีเลือดเดียว

      วัฒนธรรมประเพณี เป็นเอกลักษณ์และสิ่งที่แสดงถึง
ความมีชาติ ส่วนการเมืองระบอบประชาธิปไตย เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติที่มีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ หรือความเป็นเอกราช
      วัฒนธรรมประเพณี กับ ระบอบประชาธิปไตย จึงมีความแตกต่างกันในด้านความเ
ป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน แต่ทั้งสองรวมเป็นประเทศชาติ อย่างมีสันติภาพ สู่สันติสุขได้ ดั่งน้ำในขวด ที่ถือว่าวัฒนธรรมประเพณีเป็นดั่งพื้นน้ำล่าง และระบอบประชาธิปไตย เป็นดั่งพื้นน้ำบน แต่เมื่อไรที่เขย่า ความใสด้านบนของน้ำก็กลายเป็นสีขุ่นหรือดำตามความเข้มข้นของสีน้ำพื้นล่าง จึงเห็นว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด จึงแยกแยะระหว่างวัฒนธรรมประเพณี ออกจากการเมืองระบอบประชาธิปไตย อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันเหตุที่จะก่ออาชญากรรมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะการไม่อาศัยถึงกฎเกณฑ์ต่างๆแห่งจริยธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสากล
      เมื่อนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษระหว่างการประชุมประ
ชาคมประชาธิปไตย เมื่อ 29 เมษายน 2556 ที่ประเทศมองโกลเลีย จึงถือเป็นเอกลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตย แต่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง จะแสดงเอกลักษณ์ก็เป็นสิทธิในเวทีระบอบประชาธิปไตยสากล ที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล แต่สุดท้ายไม่ใช่การใช้วิธีรัฐประหาร
      สุดท้ายต้องเป็นวิธีการของระบอบประชาธิปไตยภายในประเทศ ที่อาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆแห่งจริยธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสากล ดั่งคำปรารภของมหารัฐบุรุษระบอบประชาธิปไตยโลก อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า "การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน "