วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ฟ้าดินเป็นพยาน(earth sky is the witness )


ในขณะที่รัฐสภา โดยการนำของสมาชิกรัฐภาฝ่ายรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล กำลังดำเนินการ เพื่อให้มีการออกพ.ร.บ.กู้เงิน2ล้านล้านบาทซึ่งได้ผ่านวาระแรกไปแล้ว,การแก้ไจรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งก็ผ่านวาระแรกไปแล้วเ่ช่นกัน และการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 -2553 การดำเนินการก็เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย โดยใช้เวทีรัฐสภา ซึ่งก็เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และฝ่ายค้านก็ได้แสดงความไม่เห็นด้วย ก็ไม่แปลก ถ้ามองแบบผิวเผิน แต่ที่น่าแปลกมากและเกิดขึ้นอีกแล้ว คือการส่งเรื่องยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าผิดรัฐธรรมนูญ มาตราต่างๆ หรือไม่ อย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญ 2550 เกิดจากคณะรัฐประหาร ดังนั้น เนื้อหาของมาตราต่างๆได้เขียนดักไว้เป็นทาง3แพร่งอยู่แล้ว โอกาสที่จะถูกพิจารณาว่าผิดรัฐธรรมนูญ จึงมีสูง และโอกาสที่จะถูกพิจารณาว่าไม่เข่าข่ายผิดรัฐธรรมนูญก็พอมองเห็นในหลักของความยุติธรรม ที่การกระทำเป็นไปตามสิทธิหน้าตามรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่คิดว่าโอกาสที่จะถูกพิจารณา เหมือนดั่งการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก็เป็นไปได้สูงเช่นกัน ดังนั้น ผู้เขียน จึงยกคำปรารภ ของรัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่น บางส่วน ที่ชี้ให้เห็นถึงอุดมการณ์และจุดประสงค์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใตรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย แบบมีรัฐสภามานำเสนอ คำแปลจากสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้
"...พวกเราประชาชนชาวญี่ปุ่น ต้องการสันติภาพเป็นนิรันดร์และให้ความสำคัญอย่างแรงกล้าต่อขั้นสูงที่ควบคุมกำกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ และพวกเราประกาศว่าจะธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงคุณค่าและความมีอยู่ของพวกเรา โดยเชื่อมั่นในความยุติธรรมและศรัทธาต่อประชาชนผู้รักสันติภาพในโลกนี้ พวกเราตระหนักว่าประชาชนทั้งหลายในโลกนี้มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสันติโดยปราศจากความกลัวและความยากจน

พวกเราเชื่อมั่นว่าไม่มีชาติใดสามารถรับผิดชอบต่อตนเองได้โดยลำพัง หากแต่จำต้องอาศัยกฎเกณฑ์ต่างๆ แห่งจริยธรรมทางการเมืองซึ่งเป็นสากล และการเคารพกฎเกณฑ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่เหนือทุกชาติที่ยังคงมีอธิปไตยของตนและเป็นสิ่งที่ยืนยันความมีอธิปไตยที่จะคงความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆฯ"
หากนำความนี้มาใช้เป็นของประเทศไทย อาจดีกว่าญี่ปุ่นก็เป็นได้อย่างน้อยเนื้อความของรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจน ตีความไม่ยาก เพราะเป็นคำพื้นฐาน ที่สำคัญต้องปล่อยวางจากคำว่า "จักรพรรดิ"ที่อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจฝ่ายบริหาร อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจฝ่ายตุลาการ ในระบอบประชาธิปไตย และภาษาของกฎหมายรัฐธรรมนูญก็เป็นภาษาเพื่อระบอบประชาธิปไตยที่เป็น ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จริง และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง รัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น เกิดขึ้นโดยการนำของนายพลดัลาส แมกอาเธอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2ในตะวันออกไกล จึงเห็นว่าประชาชนชาวญี่ปุ่น ไม่ได้ฝักใฝ่ในชาตินิยมในเชิงเผด็จการทุกรูปแบบ แต่ได้หันมาฝักใฝ่ระบอบประชาธิปไตยแบบเศรษฐกิจนิยมก้าวหน้า จนเป็นมหาอำนาจทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจนิยมก้าวหน้าระดับโลก และที่สำคัญแน่นอน คือ ปลอดจากการปฏิวัติ รัฐประหาร ที่เป็นไปเพื่อชาติ ศาสนาและสถาบัน จวบจนปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น