วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ติดตรารัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตามครรลองระบอบประชาธิปไตย จริง.


การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 หลังศาลวินิจฉัย ไม่ขัดมาตรา68 และถ้าแก้ทั้งฉบับ "ควร" ทำประชามติก่อน หรือแก้เป็นรายมาตรา นั้น.

พรรครัฐบาลก่อนการเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับคือเป้าหมาย ของนโยบาย   ที่จะสร้างมาตรฐานทางการเมืองไทยให้เป็นมาตรฐานประชาธิปไตยระดับสากล  รัฐธรรมนูญ  2550  ถือว่า เป็นกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับอาญา เพื่อปราบปรามประชาธิปไตยเป็นสำคัญ  ฉะนั้น จึงไม่แปลก ที่ฝ่ายตรงข้ามออกมาต่อต้านอย่างผิดหลักธรรมชาติของระบอบประชาธิปไตย  แต่ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัด มาตรา68 การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จึงเดินหน้าได้อย่างสง่างาม  เพียงแต่ว่ามีเส้นทางเลือก 3 เส้นทาง  เส้นทางที่ 1 ใช้รัฐสภาลงมติวาระที่่สาม เป็นเส้นทางเดิม แต่ศาลฯใช้คำว่า"ควร"ทำประชามติก่อนถ้าแก้ทั้งฉบับ  คำว่า"ควร" ไม่ได้ห้าม แต่เป็นการแนะนำ ถ้าฝ่ายตรงข้ามจะยกมาฟ้องภายหลัง ก็คงจะฟ้องไปในทำนอง เปรียบ สัญาณไฟจราจร ไฟเหลือง ไฟแดง  และไฟเขียว  รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นกฏหมายอาญาปราบปรามประชาธิปไตย  ผู้เขียนรู้ดีทุกมาตรา  ฝ่ายตรงข้ามเขาจึงกล้าบอกว่าพรรครัฐบาลไม่กล้าเดินหน้าลงมติวาระ สาม   แต่ถ้าพรรครัฐบาลเดินหน้าเส้นทางนี้ก็สามารถทำได้ เพราะไม่ขัดมาตรา 68 และประชาธิปไตยพรรครัฐบาลก็เข้มแข็ง  เพียงแต่จะมีการยกคำว่า"ควร"ขึ้นมาฟ้องร้องกันอีกครั้ง เมื่อนั้นศาลรัฐธรรมนูญคงงานเข้าอีกครั้ง   ที่จริงแล้วถ้าไม่ขัดมาตรา68 ก็ไม่มีอะไรอีกแล้ว เป็นเรื่องของประชาธิปไตย  หมดภาระหน้าที่ของฝ่ายกฏหมายที่จะต้องมาตีความทางการเมืองไม่จบสิ้น   จึงต้องเป็นหน้่าที่ของรัฐสภา และประชาชน ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องทำประชามติ.  เส้นทางที่ 2 แก้ไขทั้งฉบับเหมือนเส้นทางที่ 1แต่ควรทำประชามติก่อนแก้ไขซึ่งเป็นการเริ่มใหม่  เส้นทางนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าต้องการท้าพิสูนจ์ความเข้มแข็งของพรรครัฐบาล ต้องการท้าพิสูนจ์ความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตยในประเทศ  เส้นทางนี้พรรคฝ่ายค้านเตรียมข้อมูลไว้หาเสียงไม่เห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คะแนนเสียงเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ได้ไม่ถึงเกณฑ์ตามที่ฏหมายกำหนด   เส้นทางนี้ พรรครัฐบาลชนะมากกว่าแพ้ เพราะส่วนหนึ่งฐานเสียงเดิมของทุกพรรค  และ ที่สำคัญไม่ขัดมาตรา 68  ประชาชนส่วนหนึ่งคงไม่สงสัยในประเด็นนี้  ส่วนหนึ่งก็คงคิดว่าเพื่อความปรองดองตามระบอบประชาธิปไตย  ส่วนหนึ่งเพื่อให้ประเทศเดินทางได้ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่วนหนึ่งก็ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศ   ผู้ไม่เห็นชอบก็คงพูดประเด็นเดิมๆหรือไม่ต่างจากเดิม ยกเว้น มาตรา68เพราะศาลพิพากษาไปแล้วว่าไม่ขัดมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้นการกล่าวโจมตีฝ่ายตรงข้ามคงไม่สร้างความเสียหายไปถึงสถาบันทางอ้อมอีก และคงได้ประโยชน์ไปไม่มากกว่าการถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า. เส้นทางที่ 3 แก้ไขรายมาตรา เส้นทางนี้ไม่ใช่นโยบายของพรรครัฐบาล การแก้ไขทั้งฉบับเป็นนโยบาย เพราะ ต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตยทั้งฉบับ แนวทางนี้ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ คงไม่สนับสนุนแนวทางนี้ เพราะในภาพรวม ยังเป็นรัฐธรรมนูญที่ติดตราปาบให้ประเทศ  ดังนั้น การแก้ไขทั้งฉบับ จึงเป็นการติดตรารัฐธรรมนูญประชาธิปไตยตามครรลองระบอบประชาธิปไตย จริง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น