ถ้าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ตัดสินการแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดมาตรา 68ของรัฐธรรมนูญ หมายความว่า ตัดสินโดยยึดระบอบศักดินาเป็นสำคัญ
และเป็นเครื่องยืนยันอีกครั้งว่าองค์กรหลักของประเทศ
ไม่สามารถเป็นที่พึงพิงของประชาชนได้อย่างแท้จริง
อีกต่อไป ถ้าตัดสินแบบผู้ใหญ่ใจกว้างดั่งมหาสมุทรว่าไม่ขัดแต่ให้เป็นไปตามกระบวนการของรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
และขั้นสุดท้ายให้ทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา และสามารถละกิเลสทัศนคติของตนเองเอาไว้ได้จริงๆ
ขณะทำหน้าที่ในการให้มีการแสดงประชามติโดยการลงคะแนนทางลับทั่วประเทศ.
ในประเทศทั่วโลกจากอดีต-ปัจจุบัน การเมืองการปกครองเ้กิดจาก 1.บุคคล/กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจทางทหาร
และสร้างบารมี โดยใช้ความเชื่อในเรืองสมมุติเทพ (ระบบกษัตริย์),2.บุคคล/กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจกำลังทางทหาร
(เผด็จการ) 3. บุคคล/กลุ่มบุคคลประชาชนทั่วไป
ที่มีความเห็นต่างจาก สองกลุ่มแรกอย่างสิ้นเชิง (คอมมิวนิสต์),และ
4. บุคคล/กลุ่มบุคคลที่เห็นต่างจากทั้ง สามกลุ่ม
โดยมีความเชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
ไม่มีอะไรที่แตกต่างจากความเป็นมนุษย์ในความเป็นจริง
เป็นความเชื่อที่ให้การเมืองการปกครองเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
จึงเกิดเป็น 1.ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงแบบสุดขั้วอุดมการณ์/ประชาธิปไตยหนึ่งนำ คือ แบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ 2.ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
เป็นประชาธิปไตยแบบสอง นำ เช่นฝรั่งเศล ,เยอรมัน ฯลฯ3.ประชาธิปไตยแบบราชาประชาธิปไตย
เช่น อังกฤษ,ญี่ปุ่น,นอรเวย์ฯลฯ
ซึ่งในรัฐธรรมนูญของทุกประเทศกำหนดให้กษัตริย์เป็นเพียงประมุขของประเทศ
ไม่มีอำนาจทางการเมืองการปกครองโดยตรง จะดำเนินการใดๆต้องผ่านรัฐสภาหรืิอภาครัฐ .
จะเห็นว่าในอดีต ถึงปัจจุบันทุกประเทศ
การเมืองการปกครองไม่ใช่กฏหมาย ไม่ใช่ระเบียบข้อบังคับ
แต่เป็นเรื่องของบุคคล/กลุ่มบุคคล ที่จะสร้าง
แก้ไขปรับปรุงพัฒนาการเมืองการปกครองตามสถานการณ์และโอกาส/ตามทัศนคติของตนเอง/กลุ่ม
ในอดีต คือใช้กำลังทหาร กำลังความเชื่อแบบสมมุติเทพ
กำลังประชาชนแบบคอมมิวนิสต์และในปัจจุบันที่สากลประเทศยอมรับ คือ
พลังประชาชนในระบอบประชาธิปไตย โดยใช้กระบวนการของรัฐสภา
ที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมโดยใช้ประชามติ .
การแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศไทย
จุดประสงค์เพื่อแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาการเมืองการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย
อันมีกษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง และเป็นไปตามขั้นตอนที่สากลประเทศยอมรับ
ดังนั้น เมื่อมีการหยิบยก ขัด มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
ก็เป็นเรื่องที่ศาลตุลาการรัฐธรรมนูญจะพิจารณาตามที่มีผู้ร้อง แต่ถ้ามีการตัดสินถึงขั้นให้มีการล้มเลิกการการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยทั้งที่ยังไม่เห็นเนื้อหาที่แท้จริงๆของรัฐธรรมนูญแล้ว ก็หมายความว่า
ความระแวงหวาดหวั่นต่อประชาธิปไตยของกลุ่มอนุรักษ์นิยม
จะเป็นตัวปั่นทอนความน่าเชื่อถือของกลุ่มอนุรักษ์นิยมโดยตนเองสร้างเองจนถึงจุดต่ำสุดเช่น
การล่ารายชื่อถอดถอนศาลรัฐธรรมนูญ การแสดงสปิริตลาออกของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และพฤติกรรมของส.ส.ปชป.ในสภา
จะเห็นว่าผลการเลือกตั้งทั่วไป ระดับระเทศ
ปชป.นับวันคะแนนนิยมลดลงเรื่อยๆ "ยิ่งดิ้นยิ่งลด" .
ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จึงไม่ควรนำมาตรา 68 เข้ามายุ่งเกี่ยวเพื่อล้มเลิกการแก้ไขรับธรรมนูญ
เพราะ มันจะนำไปโยงให้เกี่ยวข้องตามกลยุทธ์ของ พธม.และปชป.ที่วางไว้
เพื่อทำลายรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะการสกัดกั้น
อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
ชินวัตร เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ของปชป.และพธม.การที่ดึงศาลเข้ามายุ่งเกี่ยวก็เท่ากับดึง
สถาบันประมุขของประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องทางการเมือง จึงเป็นการไม่สมควร
เพราะทำให้ภาพลักษณ์ของศาลและประมุขของประเทศลดความน่าเชื่อลงทั้งในและต่างประเทศ
ได้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงให้เป็นไปตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ จนถึง
ขั้นการลงประชามติรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้เป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
ซึ่งมีเนื้อหาให้ประชาชนทุกคนอ่านโดยใช้วิจารณญาณ ไตร่ตรองโดยตนเองได้ ว่าขัด
มาตรา 68 หรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสสร้างพลเมืองของประเทศเป็นพลเมืองโลกที่มาตรฐานสากลให้รู้จักกล้าคิด
กล้าเขียน กล้าพูด กล้านำ กล้าตัดสินใจ และกล้าทำสิ่งใหม่ อย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว
พื้นฐานการพัฒนาประเทศมาจากการพัฒนาคน ให้มีสิ่งเหล่านี้ เพราะเป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศที่แท้จริง .
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ 2475
ความหวาดระแวงต่อการล้มล้างสถาบันได้แทรกแซงในทางการเมือง จนเป็นเกมทำลายคนและรัฐบาลหลายรัฐบาลมาแล้วอย่างซ้ำซาก
ปัจจุบันได้ลุกลามไปใช้อำนาจทางศาลที่เกี่ยวข้อง และถ้าไม้ได้รับการแก้ไข
อนาคตอาจดึงองคมนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง
ซึ่งก็หมายถึงใกล้จุดที่ พธม.และ ปชป.วางไว้ที่ต้องการให้สถาบันประมุขของประเทศมีพระราชอำนาจในทางการเมืองการปกครองทั้งทางตรงหรือทางอ้อมอย่างแท้จริงที่ตนเองมุ่งหวัง ซึ่งถ้าประชาธิปไตยอ่อนแอ
ประเทศไทยก็เป็นประเทศประชาธิปไตยแบบราชาธิปไตยไทยอย่างแท้จริง หมายถึง
ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ธิปไตย นั่นเอง สิ่งที่ตามมาคือ ระบบเจ้าขุน มูลนาย
เอารัดเอาเปรียบกันโดยใช้ยศฐาบรรดาศักดิ์ การไขว่คว้าหายศฐาบรรดาศักดิ์แบบสุดขั้ว
การแบ่งชั้นวรรณะก็ตามมาอย่างไม่รู้ตัว การตรวจสอบความโปร่งใสของบุคคล กลุ่มบุคคล
องค์กรภาครัฐเข้าไม่ถึงเพราะเหล่านั้นอวดอ้างยศฐาบรรดาศักดิ์
ที่สำคัญอย่างร้ายกาจ
ใช้ศักดินาตนเองหรือของคนอื่นขึ้นมาปกป้องตนเองและทำลายคนอื่นเพื่อสร้างความร่ำรวยและความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานให้ตนเอง
โดยผิดกับหลักของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในความหมายของสากลประเทศ คือผู้มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค
และโอกาสที่มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าไปถึงได้ ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง ทั้งนี้ โดยใช้การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
เพื่อให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และอยู่ในโครงสร้างของประเทศที่สมบูรณ์ ประเทศที่สมบูรณ์ คือประเทศที่ไม่มีกฏหมายปราบปรามประชาธิปไตย
หรือกฏหมายปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพทางการศึกษา เศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง ที่ทำไปเพื่อตนเอง กลุ่มตนเอง คนของตนเองในฐานะประชาชนคนธรรมดา ที่ปราศจากการเรียกร้องเอาศักดินาอยู่เหนือประชาธิปไตย.
ความหวังของ ปชป. แผน 1ทางตรงคือการกระทำให้
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
มีโทษและได้รับโทษ ในทางอ้อมลดความน่าเชื่อถือ พรรคเพื่อไทย/ยุบไปเลย
และแตกสลายไป ถ้าสำเร็จ แผน 2
ก็จะใช้เป็นกลยุทธ์ในการโจมตีทำลายทั้งตัวบุคคล/กลุ่มบุคคล/พรรคเพื่อไทยทางการเมืองต่อไป
แผน 3 ปชป.ร่วมกับ
ภท.เป็นแกนหลักจัดตั้งรัฐบาล
จะเห็นว่าในปัจจุบันแผนปชป.ยิ่งดิ้นยิ่งลดตนเองตกต่ำ
แต้ใช้ประสบการณ์ในอดีต
โดยดึงสถาบันประมุขของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมมาพยุงตัวเองเอาไว้
ถ้าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ลูกศรต้องย้อนกลับเข้าหาปชป.เองแน่นอน
และอาจเป็นพรรคต่ำสิบก็เป็นได้ .
ความหวัง พธม. ซึ่ง
ผู้นำอย่างนายสนธิ
เคยประกาศชัดเจน ไม่ยอมรับการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
ต้องการรัฐบาลที่มาจากพระราชอำนาจประมุขของประเทศ
ซึ่งก็หมายถึงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ประชาธิปไตย
การออกมาต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของ 2กลุ่มหลักนี้ จึงเป็นกล้าคิด
กล้าพูดและกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ผิดหลักของการกระทำที่เป็นมาตรฐานของสากลประเทศอย่างชัดเจน
ซึ่งก็หมายความว่า ในสนามทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สู้ไม่ได้
จึงต้องใช้สถาบันทั้งทั้งตรงและทางอ้อม ซึงอาจเป็นการทำลายทางอ้อมได้ การรณรงค์รู้รักสามัคคี รักสถาบัน
แต่ไม่เคารพประชาธิปไตย จึงเป็นการรณรงค์ที่สูญเปล่า แม้กระทั่งปัญหาภาคใต้เองก็ไม่มีวันจบสิ้นอย่างแท้จริง
เพราะภาพรวมประเทศขาดความตระหนักและเห็นคุณค่าของประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น