วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฏฐาธิปัตย์พันธมิตร


ช่วงปี พ.ศ. 2548 มีประชาชนในประเทศส่วนหนึ่ง ที่คัดค้านและต่อต้าน รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยก่อตั้งกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนำไปสูการทำรัฐประหาร ในวันที่ 19 กันยายน 2549 โดย ฝ่ายทหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลัง ส่งผลให้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร เมื่อ ปี พ.ศ. 2551 ทั้งๆที่ผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ชนะการเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมไปแล้ว แต่ กลุ่ม พธม.ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551และศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค จึงถือเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของกลุ่ม พธม.พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม คปค. อย่างพร้อมสรรพ ซึ่งหมายถึง กลุ่มที่ยึดติดกับการฝักใฝ่ในอำนาจบารมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิวัติรัฐประหาร และการใช้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อละเมิดอำนาจอธิปไตย ที่เป็นของปวงชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นวิธีการที่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน อันเป็นนิรันดร์ อย่างพร้อมสรรพ
ดังนั้น วิธีการและคำเรียกร้องของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. จึงสอดคล้องกับวิธีการและคำเรียกร้องของกลุ่ม พธม.ในอดีต และ คำว่า สภา่ประชาชน และรัฐบาล ตามคำเรียกร้องของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ก็คือ สภาที่มาจาการแต่งตั้งบุคคลที่ฝักใฝ่ในระบอบรัฐฎาธิปัตย์พันธมิตร และรัฐบาล ก็คงต้องมาจากการคัดเลือกจาก สภารัฐฏาธิปัตย์พันธมิตร อย่างพร้อมสรรพ ...ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็เรียกว่า "การเมืองการปกครองในระบอบสาธารณรัฐฏาธิปัตย์พันธมิตร หรือระบอบเผด็จการอนุรักษนิยม" แล้วประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของโลก คงไม่ยอมรับการปฏิรูปประเทศตามแบบฉบับถอยหลังของ กลุ่มรัฐฏาธิปัตย์พันธมิตร เพราะประเทศชาติกำลังเดินหน้าเข้าสู่เวที่นานาชาติ ด้วยการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ที่มาจากการใช้สิทธิเสรีภาพ ด้วยความเสมอภาคและภราดรภาพ ของประชาชน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตามวิถีทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย แต่การปฏิวัติรัฐประหารระบอบประชาธิปไตย ทั้งทางตรงและทางอ้อมถือเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ปฏิป้กษ์ต่อหลักทศพิธราชธรรมของสถาบันประมุข อย่างพร้อมสรรพ และ การกล่าวอ้างถึงมาตรา 3 และเพื่อใช้มาตรา 7 ขอนายกพระราชทานและรัฐบาลอย่างพร้อมสรรพ จึงถือเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อหลักทศพิธราชธรรมขององค์พระประมุขของประเทศชาติ ในระบอบประชาธิปไตย อย่างชัดแจ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น