วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

SMART OF DEMOCRACY

BY SUN DRAGON                                                                 AT  THAILAND                                                                                                                                             
                                                                                               
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556
เรื่อง   ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  หรือ ไม่
เรียน   กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านและต่อต้านรัฐบาล และรัฐบาล และกลุ่มผู้ส่งเสริม สนับสนุนรัฐบาล
          ในขณะที่ ฝ่ายค้านทั้งในสภาและนอกสภา ได้ร่วมตัวกันชุมนุมคัดค้านและต่อต้านรัฐบาล  นำโดยสมาชิกพรรคปชป.อย่างพร้อมสรรพ นอกจากนี้ ยังมีในนาม กทป.และ คปท.เป็น 3 ประสาน  3 ประเด็น
          ประเด็นที่ 1 ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองแบบสุดซอย ในประเด็นนี้รัฐบาลและ
รัฐสภาได้ถอยและหยุด อย่างเรียบร้อยไปแล้ว เพราะแม้แต่ กลุ่ม นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถือว่าเป็นฐานเสียงหรือข้าวต้มมัดทางการเมืองของพรรคการเมืองรัฐบาลก็ยังคัดค้านและต่อต้าน ด้วยเพราะมีการนิรโทษกรรมในคดีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ ช่วงระหว่างวันที่ 13- 19 พฤษภาคม 2553
          ประเด็นที่ 2 คดีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลและรัฐสภาประเทศไทย ไม่มี
ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี ถึงคำพิพากษาจะออกมาเป็นบวกหรือเป็นลบ แต่ คำพิพากษาของศาลโลก มีมิติเป็นเอกฉันท์ ไม่ได้ชี้ชัดว่าพื้นที่พิพาทบริเวณ 4.6 ตร.กม. ควรตกอยู่ใต้อธิปไตยของประเทศใด ระหว่างไทยและกัมพูชา และคำพิพากษายังของให้ทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมมือกันในการดูแลมรดกโลก หรืออาจชี้นำให้ทั้ง2ประเทศใช้โมเดลมรดกโลก 2 แผ่นดินก็เป็นได้ ซึ่งทั้ง2 ประเด็นดังกล่าวนี้ จึงเป็น 2 ประเด็นที่ฝ่ายค้านทั้งในสภาและนอกสภา ไม่สามารถเพิ่มเติมเต็มพลังอาญาสิทธิ ที่ขัดและแยังต่อระบอบประชาธิปไตยและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เพราะ พลังอาญาสิทธิของฝ่ายค้านหรือกลุ่มผู้ชุมนุม ไม่สามารถผ่านพลังอาญาสิทธิของหลักคุณธรรม  หลักสิทธิมนุษยชน หลักความปรองดองแห่งชาติ ที่ปราศจาก พระราชบัญญัติ และคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างพร้อมสรรพ ของรัฐบาลยับยั้งไว้
       ประเด็นที่ 3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งตัวแทนผู้
คัดค้านและต่อต้าน ทั้ง 3 กลุ่มได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือ  ไม่   และศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัย ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายคัดค้านและต่อต้าน ทั้ง 3 กลุ่ม มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ถ้าผลคำวินิจฉัยออกมาเป็นลบต่อรัฐบาลและรัฐสภา ก็หมายความว่า ผลพ่วงดั่งผลพ่วงการรัฐประหาร เมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2549 จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ซ้ำเติมระบอบประชาธิปไตย อีกครั้งได้  ซึ่งในประเด็นนี้ ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่อายศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อายผู้รู้ แต่ไม่ใช่ไปละเมิดหรือไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ดั่งคำโบราณว่าไว้  แต่อย่างใด
       ผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่มาของสมาชิก
วุฒิสภา ไม่ขัดหรือเข้าข่ายขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  แต่อย่างใด เพราะ เป็นการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  และเป็นการ ต่อยอดการปฏิรูปการศึกษา สู่การปฏิรูปการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เป็นสำคัญ ถึงเป็นพรรคฝ่ายค้านหรือกลุ่มผู้ชุมนุมทั้ง 3 กลุ่มร่วมกัน ก็ยังไม่สามารถที่จะใช้เป็นอภสิทธิ์ชน ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไปเป็นอย่างอื่นได้ หรือจะแบ่งแยกดินแดนให้ไปเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ ระบอบประชาธิปไตย เป็นเจตนารมณ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศชาติ  เพื่อทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา อันมีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  จึงไม่มีฝ่ายใดแอบแฝงเจตนารมณ์ที่ขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่นำไปสู่การล้มล้างระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้         ในกรณีที่ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาลและรัฐสภา ก็ไม่ถือเป็นผลดีหรือผลร้ายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ถือเป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศชาติ อย่างพร้อมสรรพ ที่สุด  (SMART OF DEMOCRACY )






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น