วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เจตนารมณ์พลเรือน...สามัญชน


ประเด็นนายสุเทพ  เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุม ประกาศล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยผมมองว่า ระบอบประชาธิปไตย มีทางออกที่เสมอภาค ด้วยสิทธิเสรีภาพ ตามระบอบประชาธิปไตย คือการเลือกตั้งทั่วไป แต่ในกรณีที่แกนนำผู้ชุมนุม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศเดินหน้าล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ไม่ยินยอมให้มีวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย  ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นั้นคือ การเลือกตั้งทั่วไป ถึงแม้รัฐบาลจะประกาศยุบสภาหรือลาออก  จึงหมายความได้ว่า ต้องการล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 จนถึงปัจจุบัน
ข้อน่าสังเกตประเด็น ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ซึ่งวิธีการที่ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสนอ ไม่แปลกแยกจากประเทศที่มีการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตย   และก็เป็นข้อเสนอที่ไม่แปลกแยกแตกต่างไปจากเจตนารมณ์ของความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ได้ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส  ผู้นำคณะราษฎร์ สายพลเรือน เปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองระบอบจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475  และมีมาจนถึงปัจจุบัน  
            แต่ที่น่าจะแปลกแยกแตกต่างไปจากเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส คือ เมื่อนายุเทพ     เทือกสุบรรรณ แกนนำผู้ชุมนุมเพื่อล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประกาศไม่ยอมรับข้อเสนอใดๆจากรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลจะยุบสภา/ลาออกเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป   นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุมก็ไม่ยอมรับวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย  และถ้าศ.ดร. สมคิด  เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม(ล้อเสือออกจากถ้ำ) สนับสนุนให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุมล้มล้างรัฐบาล ที่มาจากวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ผมมองว่าแนวคิดและข้อเสนอของท่านอธิการบดี ขัดและแย้งต่อเจตนารมณ์ของความเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างสิ้นเชิง...หรือขัดและแย้งต่อเจตนารมณ์พลเรือน สามัญชน อันคงไว้ซึ่งคนของชาติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และสถาบันประมุขของประเทศชาติ หรือการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข...

ดังนั้น  เจตนารมณ์การเมืองการปกครองของพลเรือน..สามัญชน  คือการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบบมีรัฐสภา และสมาชิกแห่งรัฐสภา ต้องมาจากการใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตย ของประชาชน เลือกตั้งเข้ามา

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาธิปไตยไทยรักไทย โดยพลังประชาชน เพื่อไทย

โดย  SUN DRAGON
ประเด็นถ้ามีการยุบสภาก่อนครบวาระ ฐานเสียงพรรคเพื่อไทยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในภาคกลางตามลำดับ และกทม.บ้าง คะแนนความนิยมในระบอบประชาธิปไตย ไทยรักไทย โดยพลังประชาชน เพื่อไทย ก็คงยังแข็งแกร่ง และผลการเลือกตั้งจากระบอบประชาธิปไตย ไทยรักไทย โดยพลังประชาชน เพื่อไทย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็คงยังท่วมท้นพรรคฝ่ายค้านเช่นเดิม ถึงแม้พรรคฝ่ายค้านและกลุ่มผู้ชุมนุมจะรณรงค์แบบสุดฤทธิ์ สุดเดช อย่างไร เพื่อจะดึงเสียงจากพลังเงียบ ไปเพิ่มพูนฐานเสียงให้ตนเอง แต่เชื่อว่าพลังเงียบก็คงยังวางตนไม่ฝักใฝ่ฝ่าย โดยเฉพาะกับฝ่ายที่พยายามโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย ไทยรักไทย ของพลังประชาชน เพื่อไทย เมื่อถึงเวลา พลังเงียบก็คงต้องพร้อมใจปกป้องระบอบประชาธิปไตยไทยรักไทย โดยพลังประชาชน เพื่อไทย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น การที่พรรคฝ่ายค้านแพ้การเลือกตั้งทุกครั้ง ไม่ได้หมายความว่าพรรคฝ่ายนค้านไร้ผลงาน แต่เป็นเพราะพรรคฝ่ายค้านมุ่งหวังโค่นล้มทักษิณ มุ่งหวังโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย มุ่งหวังโค่นล้มพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม และมุ่งหวังโค่นล้มนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม โดยวิธีการที่ขัดและแย้งต่อระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง การทำรัฐประหารการเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างพร้อมสรรพ ทั้งทางตรงและทางอ้อม และนี้คือสัจธรรมแห่งความพ่ายแพ้ของพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มอนุรักษ์นิยม ทั้งในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจ และสังคม อย่างพร้อมสรรพ ต่อ ประชาธิปไตยไทยรักไทย ของพลังประชาชน เพื่อไทย อันคงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และสถาับันประมุขของประเทศชาติ โดยยึดหลักคุณธรรมและสิทธิมนุษยชน อย่างพร้อมสรรพ
แต่การยุบสภาไม่ใ่ช่มาตรฐานเป้าหมายระบอบประชาธิปไตย ไทยรักไทย โดยพลังประชาชน เพื่อไทย ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันคงไว้ในความเป็นประเทศชาติของมนุษยชาติ อย่างพร้อมสรรพ
แต่การดำรงไว้ประชาธิปไตย โดยพลังประชาชน เพื่อไทย ตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการดำรงไว้ระบอบประชาธิปไตยและกฎหมายรัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตยของประเทศชาติ อย่างพร้อมสรรพ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

SMART OF DEMOCRACY

BY SUN DRAGON                                                                 AT  THAILAND                                                                                                                                             
                                                                                               
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556
เรื่อง   ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ว่าขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  หรือ ไม่
เรียน   กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านและต่อต้านรัฐบาล และรัฐบาล และกลุ่มผู้ส่งเสริม สนับสนุนรัฐบาล
          ในขณะที่ ฝ่ายค้านทั้งในสภาและนอกสภา ได้ร่วมตัวกันชุมนุมคัดค้านและต่อต้านรัฐบาล  นำโดยสมาชิกพรรคปชป.อย่างพร้อมสรรพ นอกจากนี้ ยังมีในนาม กทป.และ คปท.เป็น 3 ประสาน  3 ประเด็น
          ประเด็นที่ 1 ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองแบบสุดซอย ในประเด็นนี้รัฐบาลและ
รัฐสภาได้ถอยและหยุด อย่างเรียบร้อยไปแล้ว เพราะแม้แต่ กลุ่ม นปช.หรือกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถือว่าเป็นฐานเสียงหรือข้าวต้มมัดทางการเมืองของพรรคการเมืองรัฐบาลก็ยังคัดค้านและต่อต้าน ด้วยเพราะมีการนิรโทษกรรมในคดีการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์ ช่วงระหว่างวันที่ 13- 19 พฤษภาคม 2553
          ประเด็นที่ 2 คดีปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลและรัฐสภาประเทศไทย ไม่มี
ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี ถึงคำพิพากษาจะออกมาเป็นบวกหรือเป็นลบ แต่ คำพิพากษาของศาลโลก มีมิติเป็นเอกฉันท์ ไม่ได้ชี้ชัดว่าพื้นที่พิพาทบริเวณ 4.6 ตร.กม. ควรตกอยู่ใต้อธิปไตยของประเทศใด ระหว่างไทยและกัมพูชา และคำพิพากษายังของให้ทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมมือกันในการดูแลมรดกโลก หรืออาจชี้นำให้ทั้ง2ประเทศใช้โมเดลมรดกโลก 2 แผ่นดินก็เป็นได้ ซึ่งทั้ง2 ประเด็นดังกล่าวนี้ จึงเป็น 2 ประเด็นที่ฝ่ายค้านทั้งในสภาและนอกสภา ไม่สามารถเพิ่มเติมเต็มพลังอาญาสิทธิ ที่ขัดและแยังต่อระบอบประชาธิปไตยและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล เพราะ พลังอาญาสิทธิของฝ่ายค้านหรือกลุ่มผู้ชุมนุม ไม่สามารถผ่านพลังอาญาสิทธิของหลักคุณธรรม  หลักสิทธิมนุษยชน หลักความปรองดองแห่งชาติ ที่ปราศจาก พระราชบัญญัติ และคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างพร้อมสรรพ ของรัฐบาลยับยั้งไว้
       ประเด็นที่ 3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งตัวแทนผู้
คัดค้านและต่อต้าน ทั้ง 3 กลุ่มได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือ  ไม่   และศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัย ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเป็นประเด็นที่ฝ่ายคัดค้านและต่อต้าน ทั้ง 3 กลุ่ม มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ถ้าผลคำวินิจฉัยออกมาเป็นลบต่อรัฐบาลและรัฐสภา ก็หมายความว่า ผลพ่วงดั่งผลพ่วงการรัฐประหาร เมื่อ วันที่ 19 กันยายน 2549 จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ซ้ำเติมระบอบประชาธิปไตย อีกครั้งได้  ซึ่งในประเด็นนี้ ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่อายศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อายผู้รู้ แต่ไม่ใช่ไปละเมิดหรือไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ดั่งคำโบราณว่าไว้  แต่อย่างใด
       ผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่มาของสมาชิก
วุฒิสภา ไม่ขัดหรือเข้าข่ายขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68  แต่อย่างใด เพราะ เป็นการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  และเป็นการ ต่อยอดการปฏิรูปการศึกษา สู่การปฏิรูปการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เป็นสำคัญ ถึงเป็นพรรคฝ่ายค้านหรือกลุ่มผู้ชุมนุมทั้ง 3 กลุ่มร่วมกัน ก็ยังไม่สามารถที่จะใช้เป็นอภสิทธิ์ชน ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไปเป็นอย่างอื่นได้ หรือจะแบ่งแยกดินแดนให้ไปเป็นอย่างอื่นได้ เพราะ ระบอบประชาธิปไตย เป็นเจตนารมณ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศชาติ  เพื่อทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา อันมีสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  จึงไม่มีฝ่ายใดแอบแฝงเจตนารมณ์ที่ขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่นำไปสู่การล้มล้างระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้         ในกรณีที่ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาเป็นบวกต่อรัฐบาลและรัฐสภา ก็ไม่ถือเป็นผลดีหรือผลร้ายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ถือเป็นผลดีต่อระบอบประชาธิปไตย ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศชาติ อย่างพร้อมสรรพ ที่สุด  (SMART OF DEMOCRACY )