วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ยืนหยัดที่สอดคล้อง แต่สกัดที่ขัดแย้ง มาตรา 8







 โดย..ธรรมชน  อหิงสา
เจตนารมณ์มาตรา 68แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 คือ ไม่ให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพ ที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภา ไปเป็นการปกครองระบอบอื่น
     การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ถึงแม้แก้บางมาตราหรือทั้งฉบับ แต่ถ้าการแก้ไขยืนหยัดในการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภา ไม่ได้มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองที่มีมาตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ก็ถือว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประเทศชาติ  ด้วยการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ  แบบมีรัฐสภา และในประเด็นที่ฝ่ายค้านจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ขัดรัฐธรรมนูญ 2550  มาตรา 68 นั้น เปรียบเหมือนพายเรือบนบก  ซึ่งการพายเรือบนบกจะเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าใช้ระบอบเผด็จการทั้งทางตรงและทางอ้อม การพายเรือบนบกก็เคลื่อนไปได้ เช่นใช้การฉุดกระชากลากจูง เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้เอง คือ วิธีการที่ขัดแย้งกับเจตนารมณ์มาตรา68 แห่งรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจน
     ที่จริงฝ่ายค้านยื่นตีความ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ ฝ่ายค้านคงยอมรับทั้งทางตรงและทางอ้อมว่าต้องพ่ายแพ้การเลือกตั้ง และต้องแพ้ในสภาไปด้วยอย่างพร้อมสรรพ ซึ่งฝ่ายค้านได้เรียบเรียงใช้เป็นภาษาเรียกแบบปลุกระดมมวลชนว่า " เผด็จการทางรัฐสภา " ซึ่งรูปธรรมของเผด็จการทางรัฐสภา ไม่ได้อยู่ที่ว่าฝ่ายใดที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยสามารถคุมเสียงในสภาได้มากว่า เพราะถ้าเปรียบเทียบได้ ก็เปรียบดั่งศาสดาของแต่ละเชื่อชาติ ศาสนา ที่ใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ในการใช้หลักการทางคุณธรรมเพื่อชี้นำให้มนุษย์ในสังคม ในประเทศและในโลกได้เห็น ได้รับรู้ และเลือกที่จะใช้หลักคุณธรรมของศาสนา นั้นๆโดยใช้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ และเมื่อมีจำนวนมนุษย์มากที่สุดในสังคมใด ในประเทศใดและโลก ยอมรับในสัญชาติใด เชื้อชาติ ศาสนาใดหรือความคิดเห็นทางการเมืองแบบใดแล้ว จะเรียกว่าเป็นเผด็จการทางสังคม เผด็จการในประเทศหรือเผด็จการทางโลก...อย่างนั้นหรือ  ที่สำคัญ...คำว่า”ระบอบเผด็จการ” ..ต่างกันอย่างสิ้นเชิง กับ คำว่า "การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภา “


     ดังนั้น การที่รัฐบาล โดยฝ่ายนิติบัญญัติ ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ถือเป็นการยืนหยัดตามเจตนารมณ์ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภา แต่ที่ฝ่ายค้านยืนหยัดสกัดกั้นทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการยืนหยัดที่แสดงออกถึงการยอมรับในความพ่ายแพ้ทั้งในสภาและนอกสภา  การยืนหยัดสกัดกั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่งการยืนหยัดสกัดกั้นการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม การออกพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติและการออกพ.ร.บ.กู้เงินสองล้านล้านบาท จึงเป็นการยืนหยัดที่ไม่มีเหตุผลใดๆนอกจากใช้คำว่า “ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา68” ซึ่งถือเป็นเหตุผลที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมาอย่างต่อเนื่อง แต่ ปัจจุบัน เหตุผลดังกล่าวเป็นเหตุผลล้าหลัง เป็นเหตุผลที่ย้อนยุค และไปขัดแย้งกับมาตรา68 แห่งรัฐธรรมนูญ อย่างพร้อมสรรพ หรือขัดแย้งกับการเมืองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภาทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างชัดเจน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น