โดย..ธรรมชน อหิงสา
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภา แต่ในระยะเวลา 81 ปี ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ และสิทธิมนษยชน ถูกละเมิด จนสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิตมนุษยชาติ ในประเทศชาติ แน่นอนความเสียหายดังกล่าว เป็นผลจากวิธีการอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากผลระบอบเผด็จการ
ดังนั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550, การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมทางการเมืองทุกคดีให้กับทุกคนไม่ยกเว้นแม้กระทั่งอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ,การออกพระราชบัญญัติความปรองดองแห่งชาติ ถือเป็นแนวทางการปฏิรูปการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย อย่างพร้อมสรรพ เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตย ก้าวลงจากระบอบเผด็จการ เพื่อก้าวขึ้นบันไดระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ แบบมีรัฐสภา ซึ่งหมายถึงการเพิ่มพูนในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ ตามหลักสิทธิมนุษยนชน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
แต่ทั้งหมดเป็นสิทธิหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาโดยตรง ที่จะต้องใช้สิทธิและทำหน้าที่ให้เป็นดั่งอริยบุคคล จึงจะบรรลุผลการปฏิรูปการเมือง หรือการนำระบอบประชาธิปไตย ก้าวลงจากบันไดระบอบเผด็จการ ได้ แต่การคัดค้านและต่อต้านการปฏิรูปการเมือง ผู้คัดค้านและต่อต้านคงรู้ว่าวิธีการใดที่มีความมุ่งหมายก้าวลงบันไดระบอบเผด็จการ เพื่อขึ้นสู่บันไดระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าการคัดต้านและต่อต้าน ที่มุ่งหมายนำไปสู่การทำลายระบอบประชาธิปไตย หรือโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย ก็หมายถึงได้ว่า มุ่งใช้บันไดและยืนอยู่บนบันไดระบอบเผด็จการตราบนานเท่านาน และคงไม่ใส่ใจในเรื่องการนำระบอบประชาธิปไตย ก้าวลงบันไดระบอบเผด็จการ ซึ่งหมายถึงการปฏิรูปการเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น