วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศึกษาประชาธิปไตยในญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2555 ศาสตราจารย์โยชิฟูมิ ทามาดะ แห่งมหา วิทยาลัยเกียวโต แห่งประเทศญี่ปุ่นบรรยายสาธารณะ เรื่อง "ประชาธิปไตยใต้ร่มพระบารมี: กรณีศึกษาจักรพรรดิญี่ปุ่น" ที่ห้อง 103 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ทามาดะ บรรยายตอนหนึ่งเปรียบเทียบบทบาทของ อดีตจักรพรรดิญี่ปุ่น  3 พระองค์ ประกอบด้วย จักรพรรดิเมจิ (Meiji) จักรพรรดิไทโช (Taisho) และจักรพรรดิโชวะ( Showa) ว่า รัฐธรรมนูญ 1889 สมัยเมจิไม่ได้กำหนดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ไม่ได้บอกว่าเป็นของประชาชน คนเข้าใจหรือตีความว่าเป็นของจักรพรรดิ แต่นักวิชาการด้านกฎหมายตีความว่าเป็นของรัฐไม่ใช่จักรพรรดิ อย่างไรก็ตามสมัยนั้นอำนาจการปกครองของจักรพรรดิมีมากทั้ง 3 อย่าง

ในอำนาจ "นิติบัญญัติ" จักรพรรดิร่างกฎหมายร่วมกับรัฐสภา คนที่ยุบสภาก็เป็นจักรพรรดิ

สำหรับ อำนาจ "บริหาร" รัฐธรรมนูญเขียนว่า จักรพรรดิใช้อำนาจบริหารโดยผ่านคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ให้คำแนะนำและรับผิดชอบ ขณะที่ในทางปฏิบัติ จักรพรรดิตั้งนายกรัฐมนตรี ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาส่วนตัว ไม่ใช่คำแนะนำของที่ปรึกษาหรือคณะรัฐมนตรี ฉะนั้น จักรพรรดิเลือกใครก็ได้ ปลดก็ได้ตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น นายกรัฐมนตรี จึงมีฐานะเท่ากับรัฐมนตรี เพราะคนที่ควบคุมรัฐมนตรีได้ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี แต่เป็นจักรพรรดิ แล้วนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อจักรพรรดิ ไม่ใช่รับผิดชอบต่อรัฐสภา ไม่ใช่รับผิดชอบต่อประชาชน ถ้าผิดอะไรก็ต้องขอโทษต่อจักรพรรดิ ไม่ใช่ขอโทษรัฐสภาหรือประชาชน

อำนาจ ที่ 3 "ตุลาการ" ศาลใช้อำนาจในนามของจักรพรรดิ นอกจากนั้น จักรพรรดิยังมีอำนาจพิเศษ คือเป็นจอมทัพ ควบคุมทหาร หมายความว่า รัฐสภา จะยุ่งเกี่ยวกับทหารไม่ได้ แล้วคณะรัฐมนตรีก็ยุ่งไม่ได้ ส่วนรัฐมนตรีก็มีทั้งรัฐมนตรีฝ่ายทหารบกและรัฐมนตรีฝ่ายทหารเรือ อาจจะเห็นไม่ตรงกันถึงตัวคนที่จะตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นับว่ามีเรื่องยุ่งยาก จึงขึ้นอยู่กับอำนาจจักรพรรดิ ถ้าจักรพรรดิตั้งใครก็โอเค แต่อำนาจจักรพรรดิในสมัยจักรพรรดิโชวะ จะแตกต่างกัน

ที่ปรึกษาของจักรพรรดิเมจิมี 3 ส่วน ประกอบด้วย "องคมนตรี" แต่องคมนตรีของญี่ปุ่น มีบทบาทไม่มาก ที่สำคัญคือ อีก 2 ส่วน ได้แก่ "ราชเลขา" และ "รัฐบุรุษอาวุโส"  2 ส่วนนี้สำคัญมาก ราชเลขา และรัฐบุรุษอาวุโส เป็นสถาบันนอกรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจมาก มีบทบาทสูงมาก ที่สำคัญคือ รัฐบุรุษอาวุโส หารือกับ จักรพรรดิเมจิ บ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแต่งตั้งให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี หรือจะกำหนดวันเลือกตั้งเมื่อไหร่ หรือจะแต่งตั้งใครเป็นผู้บัญชาการทหารบก

นัก ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น อธิบายว่า จักรพรรดิไม่ใช่เผด็จการ แต่เป็นผู้ประสานงาน เพราะผู้นำฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ต้องมีคนประสานประนีประนอมให้คุยกัน ฉะนั้น บทบาทที่สำคัญคือเป็นผู้ประสาน

"คุณสมบัติ ของผู้ประสาน คือ ทุกฝ่ายต้องมองว่า คนนี้มีความเป็นกลาง มีความยุติธรรม ยอมรับได้ ถ้าไม่เป็นกลาง แล้วถูกคนมองว่าทำเพื่ออีกฝ่าย ก็จะไม่มีความน่าเชื่อถือ เกิดการไม่ยอมรับจักรพรรดิ แต่ถ้าทุกฝ่ายยอมรับในตัวจักรพรรดิ เรื่องอะไรสำคัญก็จะตกลงกันได้ เพราะฉะนั้น จักรพรรดิต้องระมัดระวังมาก ต้องเป็นกลาง ต้องเป็นธรรม กับทุกฝ่าย"

อีกอย่างหนึ่งสมัยเมจิถูกมองว่า แรกๆ ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ต่อมาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คือมีรัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา มีการเลือกตั้ง มีการตั้งรัฐบาล สาเหตุสำคัญที่รีบตั้งรัฐสภา เพื่อเก็บภาษี เก็บภาษีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างกองทัพเข้มแข็ง เป็นการตั้งรัฐสภาอย่างมีเป้าหมาย ส่วนประชาชนก็ยอมเสียภาษีเพื่อให้นำไปสู้กับจีนและรัสเซีย แต่ภาษีสมัยนั้น การเสียภาษีก็แพงมาก ต้องประนีประนอมโดยตั้งรัฐสภา เพื่อให้มีสิทธิที่จะพูดอะไรในรัฐสภา เพื่อให้มีการเสียภาษี

ถ้า เทียบเป็นสมัยของจักรพรรดิ 3 พระองค์  ก่อนสงคราม บางยุคจักรพรรดิมีอำนาจ หรือบทบาทเกินขอบเขตรัฐธรรมนูญ คือรัฐธรรมนูญเขียนไว้ให้จักรพรรดิมีอำนาจเท่านี้ แต่จริงๆ จักรพรรดิมีอำนาจมากกว่า แล้วก็เรียกนายกรัฐมนตรีไปเข้าพบ และสื่อสารกับนายกรัฐมนตรีว่าอยากจะทำอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้ โดยเป็นบทบาทนอกขอบเขตรัฐธรรมนูญ

จักรพรรดิเมจิสื่อสารกับนายก รัฐมนตรีมาก ส่วนจักรพรรดิไทโชไม่สื่อสารอะไรเลย ไม่ได้ให้ผู้นำเข้าเฝ้า  ส่งผลให้ยุคที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด คือยุคที่จักรพรรดิมีบทบาทน้อยที่สุด

ต่อมา เมื่อถึงยุคจักพรรดิโชวะ ก็กลับมาสื่อสารกับผู้นำประเทศมากอีกครั้ง หลังสงคราม แม้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้จักรพรรดิไม่มีบทบาททางการเมือง แต่จักรพรรดิโชวะก็ยังเรียกนายกรัฐมนตรีให้เข้าเฝ้าอยู่บ่อยๆ

"ถ้า เทียบจักรพรรดิ 3 พระองค์ จะเห็นได้ว่าบทบาทจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตัวจักรพรรดิ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเฉพาะรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่จักรพรรดิเป็นปัจจัยที่สำคัญ"

นอกจากนั้น นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น อธิบายว่า ถ้าเทียบจักรพรรดิกับนายกฯ แล้ว จักรพรรดิมีประสบการณ์ทางการเมืองมากกว่า เพราะว่ามีตำแหน่งตลอดชีวิต แต่นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งแค่ไม่กี่ปี

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับจักรพรรดิเมจิแล้ว จักรพรรดิโชวะไม่มีที่ปรึกษาที่ดี เพราะที่ปรึกษาก็มาจากคนในรุ่น 2-3 นับจากสมัยเมจิ ฉะนั้น ความรู้หรือแนวความคิดอะไรต่างๆ ก็เปลี่ยนไปแล้ว

คนรุ่น 2-3 มองจักรพรรดิเมจิเป็นจักรพรรดิในอุดมคติ ที่เป็นเหมือนเทวดา รู้อะไรหมด ทำอะไรได้หมด มองอย่างนั้น เพราะว่าท่านเสียชีวิตไปแล้ว คนรุ่นหลังก็ไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าอะไรเป็นยังไง ได้แต่สร้างภาพพจน์ที่ดีมาก และมองจักรพรรดิโชวะว่าต้องเป็นจักรพรรดิตามอุดมคติแบบนั้น ทำให้จักรพรรดิเข้าใจผิดว่า พระองค์เองต้องทำตัวเป็นจักรพรรดิที่อยู่ในอุดมคติ เพราะฉะนั้นจักรพรรดิโชวะจึงถูกนักประวัติศาสตร์ มองว่ามีความผิดพลาด 3 ครั้ง เป็นสาเหตุใหญ่ให้เกิดสงคราม

เหตุการณ์ที่ 1 โชวะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี 1926 ปี 1929 จักรพรรดิบังคับนายกฯ ให้ออกจากตำแหน่ง นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น บอกว่า นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่จักรพรรดิบังคับนายกฯ ให้ออก ทั้งที่ถ้าอยากจะให้ออกต้องคุยกันก่อน ต้องตกลงกันก่อน  หลังจากนั้น จักรพรรดิถูกทหารกับฝ่ายขวาโจมตีว่าผิดประเพณี ผิดระเบียบ ไม่รักษาหน้าฝ่ายบริหาร แล้วก็นายกฯ ที่ถูกบังคับให้ออกก็เป็นอดีตทหารด้วย เพราะฉะนั้น ทหารจึงไม่พอใจอย่างมาก แต่หลังจากนั้น จักรพรรดิก็ไม่กล้ากระทำเช่นนั้นอีก เพราะถูกโจมตีมาก 

เหตุการณ์ที่ 2 คือ ในปี 1930 ประเทศมหาอำนาจคุยเรื่องลดจำนวนเรือรบ เช่น ญี่ปุ่นกับอังกฤษคุยกัน ญี่ปุ่นก็ยอมลดจำนวนเรือรบ แต่ว่าทหารเรือญี่ปุ่นไม่ยอม จึงกลายเป็นทหารเรือค้านรัฐบาลญี่ปุ่น แต่จักรพรรดิไม่ประสานงานประนีประนอม

เหตุการณ์ที่ 3 ปี 1931 เป็นเรื่องใหญ่มาก ทหารญี่ปุ่นบุกจีนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจักรพรรดิเป็นครั้งแรก เป็นเรื่องผิดกฎหมายอย่างรุนแรงมาก แต่ว่าจักรพรรดิไม่ต่อว่าอะไร เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้จักรพรรดิจะคุมทหารไม่ได้ ทหารจะทำอะไรตามใจ คือบุกจีนต่อ ควบคุมไม่ได้ แล้วก็ทหารชั้นล่างก่อกบฎ 2 ครั้ง รัฐบาลควบคุมทหารไม่ได้อีกด้วย เป็นสมัยที่ยุ่งยากมาก และสมัยนั้น ปี 1935 มีนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งประกาศว่าอำนาจอธิปไตยอยู่ที่จักรพรรดิ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้ แต่ว่าในช่วงนั้น คือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกฝ่ายขวาและทหารกลับกดดันให้นายกรัฐมนตรีประกาศหลักการดังกล่าว ต่อมาปี 1936 เกิดการกบฏ ทหารรัฐประหาร แต่ไม่สำเร็จ เพราะทหารรัฐประหารโดยต้องการจักรพรรดิที่เป็นเผด็จการ ไม่เอารัฐสภา ต้องการให้จักรพรรดิและทหารจับมือกันปกครองญี่ปุ่น จักรพรรดิบอกว่า ไม่เอา ทหารจึงทำไม่สำเร็จ

จักรพรรดิโชวะ ตัดสินใจ "อย่างเป็นทางการ" ในชีวิต 2 ครั้ง ในขณะที่มีอำนาจมาก แต่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการพูดคุยแบบปิดลับ หนึ่งในการตัดสินใจนั้น คือกรณีกบฏ 1936 จักรพรรดิบอกว่าตัวเองจะปราบปรามทหารที่เป็นกบฏซึ่งเป็นทหารรักษาพระองค์ คือคนที่ใกล้กับจักรพรรดิมากที่สุด เพราะฉะนั้น จักรพรรดิต้องปราบปรามคือไม่ยอมรับการกบฏ

หลังเหตุการณ์นั้น นายทหารหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกบฏก็โยกย้ายไปอยู่ประเทศจีน เพราะฉะนั้น นายทหารชั้นผู้ใหญ่จึงเหลือน้อยลง นอกจากนี้ นายทหารชั้นผู้น้อยก็ไม่เชื่อฟังทหารชั้นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อครั้งที่เขารัฐประหาร นายทหารชั้นผู้ใหญ่บอกว่า โอเคดีแล้ว เราจะทำด้วย แต่เมื่อทำแล้ว กลับมีแต่ทหารชั้นผู้น้อยเข้าร่วมเท่านั้น ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่มีใครเข้าร่วม ดังนั้น ทหารชั้นผู้น้อยก็เลยไม่พอใจกับทหารชั้นผู้ใหญ่ ด้วยเหตุ 2 อย่างนี้ ทหารจึงควบคุมกันไม่ได้

ขณะเดียวกัน นายทหารที่ขึ้นมามีตำแหน่งสูงๆ ก็กลายเป็นนายพลที่คุยภาษาข้าราชการพลเรือน เพราะทหารอาชีพที่เก่งด้านการสู้รบก็คุยเรื่องอื่นไม่ได้ เช่น คุยงบประมาณไม่ได้ แต่ถ้าเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนก็อธิบายได้ แต่ทหารบางคนก็มีความสามารถด้านนี้ คนแบบนี้ขึ้นมามีตำแหน่งสูงๆ นายพลคนหนึ่งที่จักรพรรดิโชวะโปรดที่สุด คือนายพลที่มีความสามารถด้านนี้คือ เป็นทหารที่มีความสามารถอย่างข้าราชการพลเรือน ขณะที่ทหารชั้นผู้น้อยเมื่อยืนในสนามรบก็มองว่าทหารชั้นผู้ใหญ่แบบนี้ ใช้ไม่ได้ ทหารจึงควบคุมกันไม่ได้อีก

ก่อนเกิดสงคราม มีปัญหาโครงสร้างอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญสมัยเมจิต้องอาศัยจักรพรรดิ ถ้าไม่มีจักรพรรดิ แต่ละฝ่ายก็ทะเลาะกัน ไม่จบ ถ้าไม่มีจักรพรรดิ ก็ต้องมีรัฐบุรุษอาวุโส แต่รัฐบุรุษอาวุโสรุ่นแรกเสียชีวิตไป ส่วนรุ่นสองคนที่ใช้ได้ก็ไม่มีแล้ว ฉะนั้น ไม่มีใครควบคุมใครได้

การ ตัดสินใจครั้งที่ 2 คือจักรพรรดิโชวะ คือยอมจบสงคราม หลายคนคิดว่าทำไมไม่หยุดทหารทำสงครามตั้งแต่แรก ซึ่งบัดนี้ก็ยังไม่ทราบคำตอบ ว่าทำไมไม่ห้ามตั้งแต่แรก

ศาสตราจารย์ ทามาดะ กล่าวถึงกรณีที่ว่าถ้าหากญี่ปุ่นไม่แพ้สงคราม แล้วสถาบันจักรพรรดิจะเป็นอย่างไร ว่า ถ้าญี่ปุ่นชนะสงคราม ภาพอาจจะน่ากลัว ขณะเดียวกัน ก็อาจจะมีการปฏิวัติจากรัสเซียเข้ามา ถ้ารัสเซียเข้ามา จะมีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย จับมือกันไม่เอาระบบ "เผด็จการจักรพรรดิ" แต่เมื่อแพ้สงครามแล้ว จักรพรรดิก็หมดอำนาจไปแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีการปฏิวัติ จึงเป็นการรักษาสถาบันจักรพรรดิเอาไว้ได้

จักรพรรดิ ยอมแพ้ช่วงสงคราม เพราะคนญี่ปุ่นเสียชีวิตประมาณ 3 ล้านกว่าคน แต่ยังชนะสงครามไม่ได้ ถ้าไม่หยุดก็เสียชีวิตอีก ถ้าไม่มีประชาชน ก็ไม่มีประเทศ จักรพรรดิก็มีไม่ได้  จึงต้องตัดสินใจ โดยคิดเรื่องประชาชนและประเทศด้วย

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของ ญี่ปุ่นที่เขียนขึ้นหลังสงคราม มาตราแรกๆ พูดถึงจักรพรรดิ กำหนดให้จักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ มาตรา 4 เขียนว่าจักรพรรดิไม่มีอำนาจเกี่ยวกับการเมืองและรัฐบาล มาตรา 8 ห้ามบริจาคและรับบริจาคทรัพย์สินเกินกำหนด

สำหรับเรื่องงบประมาณต่อ ปี เนื่องจากจักรพรรดิไม่มีทรัพย์สิน จึงต้องอยู่ด้วยงบประมาณของรัฐบาล โดยแบ่งเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว 324 ล้านเยน กิจกรรมทางการ 5,683 ล้านเยน เงินเพื่อรักษาศักดิ์ศรีตระกูลจักรพรรดิ 288 ล้านเยน ดูเหมือนไม่มากเท่าไหร่ แต่สำหรับคนญี่ปุ่นรู้สึกว่ามากพอสมควร อีกเรื่องคือ ห้ามบริจาคและรับทรัพย์สินเกินข้อกำหนด คือ ห้ามบริจาคให้ใครเกิน 18 ล้านเยน รับบริจาคได้ 6 ล้านเยน ถ้าสมมติรับบริจาครถคันเดียวก็ครบแล้ว ส่วนพระราชโอรสและพระราชธิดาของจักรพรรดิ ให้บริจาคได้ไม่เกิน 1.6 ล้าน ถ้าอายุยังไม่ถึง 20  ให้ได้แค่ 1.35 ล้านเยน

ศาสตราจารย์ทามาดะ กล่าวว่า สถานะจักรพรรดิญี่ปุ่นถูกโจมตีจากฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา  โดย "ฝ่ายซ้าย" มองว่าไม่ควรต้องมีจักรพรรดิแล้ว แล้วก็ตำหนิจักรพรรดิว่าไม่รับผิดชอบเรื่องสงคราม ขณะที่ "ฝ่ายขวา" พยายามจะใช้จักรพรรดิเป็นเครื่องมือ บางทีก็วิจารณ์ว่าจักรพรรดิองค์ปัจจุบันทรงอ่อนแอมากไป ต้องกล้ามากกว่านี้ แล้วฝ่ายขวาไม่ยอมให้ผู้หญิงเป็นจักรพรรดิ

ส่วนกลุ่มผู้มีอำนาจที่ แวดล้อมจักรพรรดิ ทั้ง 3 กลุ่มในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันจะไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง "รัฐบุรุษอาวุโส" อีกแล้ว

อย่างไร ก็ตาม จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เมื่อทรงถูกโจมตีมากก็ไม่โต้ตอบกับฝ่ายซ้ายและไม่ยอมถูกฝ่ายขวาใช้ โดยพยายามอย่างมากในการวางตนให้เป็นกลาง

"จักรพรรดิ ระมัดระวังมากเป็นพิเศษหลังสงคราม สาเหตุเพราะอะไรนั้น ผมคิดว่า จักรพรรดิอยู่ได้เพราะมีประชาชน ถ้าไม่มีประชาชนแล้ว จักรพรรดิก็อยู่ไม่ได้ แล้วถ้าประชาชนไม่สนับสนุนก็อยู่ลำบาก เพราะฉะนั้น พยายามไม่ให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่ยอมรับจักรพรรดิแล้ว อยากจะให้คิดว่า ต้องมีจักรพรรดิ แต่จักรพรรดิไม่ต้องมีอำนาจมาก อยากจะให้คิดว่า จักรพรรดิเหมือนอากาศ ที่ขาดไม่ได้ แต่ไม่รู้สึกว่ามี มันเบามาก จักรพรรดิจะระมัดระวังมาก"



บทความคัดลอกมาจาก มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1331723790&grpid=01&catid=01
ที่มา  :  http://www.prachatalk.com

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Democracy Never Die




วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1911 ใหญ่ผ่าใหญ่ 1/2

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชาติ

คำว่าชาติ หมายถึง มีพื้นดิน พื้นน้ำ  พื้นฟ้า สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่สำคัญ  มีสิทธเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ  สังคม การศึกษาที่เสมอภาค คำว่าชาติแท้จริงจึงไม่ได้หมายถึงใคร หรือไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับใคร สถาบันใดๆ เพราะนั้นหมายถึงการการทำลายชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะทำให้บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรชั้นนำ ใช้อำนาจ บารมี ยศฐาบรรดาศักดิ์เอารัดเอาเปรียบชาติ .
การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองไทยจึงเป็นรูปธรรมขึ้น เมื่อ พ.ศ.2475  โดยวีรบุรุษและรัฐบุรุษของชาติ เพื่อสร้างชาติที่แท้จริง แต่การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงยังสื่บเนื่องมาทั้งในระบบและนอกระบบจนถึงปัจจุบัน เห็นชัดจากการฆ่านิสิต นักศึกษา ประชาชน เมื่อ14ต.ค.2516,6ต.ค.2519 และการรัฐประหารทุกครั้ง รวมถึงการฆ่าประชาชนที่คิดต่างทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม   การดำเนินการนั้นพรรค ปชป.และกลุ่ม พธม. 2พลังที่สำคัญ ถ้า ปชป.พธม.พลาดพลั้ง ก็รัฐประหาร นี้คือสูตรสำเร็จของการทำลายชาติที่แท้จริง. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกพ.ร.บ.ปรองดอง,การแก้ไขกฏหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ใช่ทำลายชาติหรือสถาบันประมุขของประเทศ แต่เป็นการสร้างชาติ เพื่อให้เป็นชาติที่มีชาติมีพื้นดิน พื้นน้ำ  พื้นฟ้า สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่สำคัญ  มีสิทธเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ  สังคม การศึกษาที่เสมอภาคอย่างแท้จริง.ไม่ใช่ชาติที่อยู่ใต้การครอบงำทางความคิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ใช่ชาติที่ตกอยู่ภายใต้ลูกปืนทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ใช่ชาติที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจบารมียศฐาบรรดาศักดิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  แต่ต้องเป็นชาติมีพื้นดิน พื้นน้ำ  พื้นฟ้า สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่สำคัญ  มีสิทธเสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ  สังคม การศึกษาที่เสมอภาค คำว่าชาติแท้จริงจึงไม่ได้หมายถึงใคร หรือไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับใคร สถาบันใดๆ เพราะนั้นหมายถึงการการทำลายชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจะทำให้บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรชั้นนำ ใช้อำนาจ บารมี ยศฐาบรรดาศักดิ์เอารัดเอาเปรียบชาติ .

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รัฐธรรมนูญ2550ขัดมาตรา68 รัฐธรรมนูญ 2คม

นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องต
าม รธน.มาตรา 68 ไว้พิจารณา และให้รัฐสภารอดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไข รธน. โดยระบุว่า คอ.นธ. เห็นว่าศาลรธน.ไม่อาจรับคำร้องกรณีนี้พิจารณาไว้ได้ เนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวไม่ถูกหลักเกณฑ์และกระบวนการ โดยการแจ้งให้รัฐสภารอดำเนินการแก้ไขร่าง รธน.โดยไม่มีอำนาจ เป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัด รธน.มาตรา68 เป็นเหตุให้อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้.
Thairathonline
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2555
***
"การดำเนินการที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่แท้จริง 1) การทำลายระบอบประชาธิปไตยด้วยการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล รัฐธรรมนูญ โดยไม่ผ่านกระบวนการของระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง.2) การใช้องค์กรอิสระและใช้อำนาจองค์กรอิสระยับยั้งกระบวนการของระบอบประชาธิปไตย เช่นศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ3 ซึ่งเป็นไปโดยไม่สุจริตใจต่อประชาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัดหรือทำลายพรรคการเมืองและประชาชนทางการเมืองเช่นการยุบพรรคการเมืองที่เลือกข้างอย่างชัดเจนและการจับกุมและดำเนินคดีกับบุคคลทางการเมืองที่ขาดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เช่นคดีคนเสื้อแดง กับเสื้อเหลืองแตกต่างกันเห็นได้ชัด มูลเหตุที่เกิดต่างคนต่างสาดน้ำใส่กัน มีได้มีเสียทุกกลุ่มทุกคน แต่กลุ่มคนเสื้อเหลือง และพรรค ปชป.กลับได้รับการอนุรักษ์ ปักธงเขียวตลอดทุกข้อหา ซึ่งถือว่าขาดความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ ความเป็นที่พึงของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง พรรคการเมืองและประชาชนทางการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองของประเทศที่สำคัญ ที่เป็นหัวใจของสถาบันการปกครองประเทศที่ต้องมีความเสมอภาค.3) การทำลายกระบวนการของรัฐสภาทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น พรรค ปชป. แสดงพฤติกรรมที่ถือว่าดูหมิ่นรัฐสภา ดูหมิ่นประธานสภาฯและดูหมิ่นประชาธิปไตย. จึงสรุปได้ว่า การกระทำที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ทุกกรณีในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การกระทำที่ขัด รัฐธรรมนูญมาตรา 68 การกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา68 คือการกระทำที่ขัดขวางการดำเนินการของรัฐบาลทุกอย่างในขณะนี้ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรองดอง และการเสนอแก้ไขมาตรา112ของนักวิชาการเป็นไปเพื่อพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างแท้จริงให้กับประเทศชาติและประชาชนทุกเชื้อชาติ ศาสนา เพราะโลกนี้ไม่หยุดหมุน ประเทศไทยไม่หยุดเดิน คนมีเกิดมีตาย โลกไร้พรมแดนมากขึ้น ฉะนั้น การสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมในประเทศ และในโลก จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำและประชาชนที่มีความหวังดีต่อประเทศชาติและโลกอย่างแท้จริง.

*รัฐธรรมนูญ 2550 ,ผู้สนับส่งเสริมสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 2550 ผู้ขัดขวางการดำเนินการของภาครัฐที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยทางตรงและทางอ้อม จึงเป็นผู้กระทำการขัดมาตรา 68ของรัฐะรรมนูญ อย่างแท้จริง.

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิกฤตของพธม.และ ปชป. แต่โอกาสของ นปช.และเพื่อไทย


จุดจบของพรรค ปชป.ในระบอบประชาธิปไตย  และเป็นระบบเผด็จการเสียงข้างน้อยทั้งในสภาและนอกประชา
นี้คือพื้นฐานของนาซีธิปไตยของไทยโดยแท้จริง   คนเหล่านี้จริงๆแล้วไม่ใช่มนุษย์ที่ฝักใฝ่ในระบอบ
ประชาธิปไตย  แต่เป็นพวกที่ยังฝั่งตัวและจิตใจในอดีต  สิ่งใดที่ตนเองคิด สิ่งใดที่ทำ มันคือความถูกต้องและชอบธรรมของคนเหล่านี้  สิ่งใดที่มนุษย์คนอื่นคิดและทำ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิดและไม่ชอบธรรมของพวกเขา ต้องต่อต้านทุกวิถีทาง  คนกลุ่มนี้จริงแล้ว คือ ผู้ที่นิยมในระบบศักดินา หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์. จะสังเกตประเทศระบอบประชาธิปไตย ที่จะมีการปฏิรูปสิ่งใดในประเทศ เขาใช้ระบอบประชาธิปไตย  โดยรัฐสภา และหรือประชามติจากประชาชนเป็นสำคัญ ผลเป็นประการใดทุกคนควรยอมรับ แต่ถ้าประเทศใดปกครองแบบเผด็จการ การเปลี่ยนแปลงสิ่งใด จะไม่ได้รับการตอบสนอง ซ้ำร้ายผู้เลือกร้องจะได้รับโทษทั้งทางตรงและทางอ้อม. ประเทศไทย คนส่วนน้อยยังใช้อำนาจ บารมีกดขี่และทำลายความคิดของคนส่วนใหญ่  คนพวกนี้ยังใช้ความคิดแบบไทยโบราณ คือ ห้าม..และ อย่าให้คนอื่นทำในสิ่งที่อยู่เหนือความคิดของตนเอง  คนไทยในภาพรวมจึงขาดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  นี้คือการทำลายความคิดสร้างสรรค์ขั้นพื้นฐานของมนุษย  การทำให้ประชาชนมีความคิดสร้างสรรค์พัฒนาประเทศ  ต้องริเริ่มตั้งแต่การปกครองให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง อย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาปล่อยอิสระความคิดของประชาชน จนมีนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นมามากหมายในโลกนนี้ ในอดีตส่วนใหญ่เป็นคนอเมริกาและยุโรป ปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้น คนอเมริกา ยุโรปและเอเชีย เช่นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งจีนเอง.
ดังนั้น การที่มีกลุ่มคนพยายามต่อต้านการพัฒนาประเทศทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ถือว่าเป็นการทำลายความคิดสร้างสรรค์ขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างแท้จริง.ปชป.และพันธมิตร ถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลเหล่านี้
ความจริงของ  ปชป.และพันธมิตรได้ลอยขึ้นเหนือน้ำอีกครั้ง และได้ตอกย้ำการล่มสลายในระบอบประชาธิปไตยของปชป.แบบฝังทั้งเป็นด้วยตนเองลงลึกไปอีก คือนี้การปฏิบัติตัวแบบประชาธิปไตยของพวกบริวารอำมาตย์   พวกนี้กฏหมายทำอะไรไม่ได้  ประเทศไทยในยามนี้ถือได้ว่ากระบวนการทางกฏหมายและการบังคับใช้กฏหมาย ไม่มีความยุติธรรมเหลืออยู่แล้วก็ว่าได้ เพราะการบังคับใช้กฏหมายไม่อยู่บนพื้นฐานโดยยึดประชาชนเป็นสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน  มีการบังคับใช้กฏหมายอย่างเอนเอียงเห็นได้ชัด นี้คือจุดนำพาให้ประเทศแตกแยกอย่างแท้จริงและเพิ่มมากขึ้น. ดังเห็นจาก เช่น คดีนายสนธิ พันธมิตรและพวกพ้องยึดสนมบินสุวรรณภูมิ ยึดทำเนียบรัฐบาลเมื่อปี2549 ปํจจุบันพวกนี้ก็ยังจะปฏิบัติตัวเช่นเดิม โดยไม่มีการรับโทษใดๆ ซึ่งต่างจากประชาชนอีกลุ่มหนึ่ง พรรคการเมืองพรรคหนึ่งหรือหลายพรรคยกเว้น ปชป.กลับได้รับการลงโทษอย่างอย่างเผด็จการนิยม. มันของจริง ทีคนพวกนี้ไม่ได้ทำเพื่อประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
วิธีการของคนกลุ่มนี้คือคลุมถุงชนให้คนเชื่อใรความคิด ชี้ว่าผิดเมื่อมีคนคิดต่าง.
ประเทศที่ปกครองระบอบคอมมิวนิตส์ คือประเทศประชาธิปไตยแบบซ้ายสุด  ประเทศที่ปกครองแบบประธานาธิบดี และกึ่งประธานาธิบดี คือประเทศประชาธิปไตยขวาสุด  นอกนั้นเป็นแบบเผด็จการ และกึ่งเผด็จการ.