วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความขรุขระทางการเมือง

  ประเด็นนี้ ผมมองว่า รัฐธรรมนูญ ที่พร้อมสรรพ เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ให้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งไม่ใช่กฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้อำนาจสูงสุดแก่ฝ่ายใด อย่างเบ็ดเสร็จ แต่เป็นกฎหมายแห่งเจตนารมณ์อย่างมีวินัยและคุณธรรม ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของปวงชน โดยปวงชน และเพื่อปวงชน อย่างเสร็จสรรพ
     เมื่ิอมองย้อนหลังจากวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถึง พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญู จำนวน 19 ฉบับ และ ฉบับ ที่ 20 กำลังนำเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจาารณา ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่เกิดจากการรัฐประหาร เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 อีกฉบับหนึ่ง เช่นเดียวกับ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550  ซึ่งเกิดจากการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 แต่ความสงบทางการเมืองไทย ภายหลังมีรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ก็เป็นไปอย่างขรุขระ 
ซึ่งความขรุขระทางการเมือง ได้แก่ การทุจริตทางการเมือง การรัฐประหารทางการเมือง และการจัดทำกฎหมายรัฐธรรมนูฐที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์การเมืองระบอบประขาธิปไตย 
                                       ละเมิดวินัยและคุณธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
         

                                     ละเมิดวินัยและคุณธรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

                                                                           ธรรมาภิบาล
                                                                          ธรรมาภิบาล
                                                                           ธรรมาภิบาล
                                                                          ธรรมาภิบาล
                                                                          ธรรมาภิบาล  
                                                                           ธรรมาภิบาล


     ดังนั้น ความขรุขระทางการเมือง จึงเป็นอุปสรรคและปัญหาในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อย่างเสร็จสรรพ  ซึ่งเป็นวิธีนอกระบบ ในการละเมิดระบอบประขาธิปไตย อย่างพร้อมสรรพ เท่ากับนำไปสู่การมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ขัดแย้งกับหลักธรรมาภิบาล และเกิดความขัดแย้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม  อย่างต่อเนื่อง เสร็จสรรพ 
" นะโมพุทธายะ มะอะอุ อุอะมะ ยะธาพุทโมนะ "