การต่อต้านและสร้างความปั่นป่วนรัฐบาลและหวังล้มรัฐบาล มีแน่นอนจากกลุ่มที่ไม่ชอบนโยบายของรัฐบาล ที่รู้ทั้งรู้ว่าระบบรัฐสภา ไม่สามารถที่จะหยุดยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 ,การออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม,การออกพ.ร.บ.ความปรองดองแห่งชาติ และแม้กระทั่งการออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาลได้ จึงมุ่งหวังพึงศาลรัฐธรรมนูญ ในการหยุดยั้งการดำเนินการของรัฐบาล ผู้เขียนมองว่าศาลรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถที่จะหยุดยั้งรัฐบาล ที่ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลของระบอบประชาธิปไตย ได้ตลอดไป เพียงแต่ให้คำแนะนำได้เพียงชั่วขณะ เท่านั้น เพราะหลักการในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตย มาจากระบอบประชาธิปไตย จึงสังเกตเห็นว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและสร้างความปั่นป่วนหวังล้มรัฐบาล ทั้งในรัฐสภาและนอกรัฐสภา ในกลุ่มต่อต้านและสร้างความปั่นป่วนรัฐบาล ในรัฐสภา แน่นอนพรรคฝ่ายค้านแสดงให้เห็นชัดเจนว่าต่อต้านเต็มที่ ส่วนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลนอกรัฐสภา
ก็เริ่มตั้งแต่กลุ่มพธม. สู่กลุ่มแช่แข็งประเทศไทย กลุ่มไทยสปริง
และสู่กลุ่มหน้ากากขาวกาย ฟอคส์หรือกลุ่มดินระเบิด เพราะกาย ฟอคส์
เป็นบุคคลที่หวังโค่นล้มสภาขุนนางอังกฤษ ในปีค.ศ. 1605ด้วยแผนระเบิดดินปืน แต่ไม่สำเร็จ
การต่อต้านและสร้างความปั่นป่วนหวังล้มรัฐบาลด้วยเพียงเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้รัฐบาลยุบสภาหรือเป็นเหตุนำไปสู่การรัฐประหารรัฐบาลได้ แต่การต่อต้านและสร้างความปั่นป่วนหวังล้มรัฐบาลด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงทั้งปวง โดยการใช้ทุนสามานย์ คือปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การต่อต้าน เกิดความปันป่วน และอาจนำไปสู่การรัฐประหารรัฐบาลระบอบประชาธิปไตย ตามมาโดยระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ อย่างเดิมๆก็ได้ แต่การดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตยของรัฐบาล คือสิ่งที่ค้ำจุนรัฐบาลระบอบประชาธิปไตย