วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย 6 ป.



รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เกิดมาจากการทำรัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย.2549 เป็นรัฐธรรมนูญของรัฐบาลรัฐประหาร ซึ่งถือว่าผิดรูปแบบขั้นพื้นฐานของการได้เป็นรัฐบาลและการจัดทำรัฐธรรมนญ ของประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อเกิดต้องแก้และแก้ต้องป้องกันเกิดขึ้นอีก.
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงไม่แปลกและควรต้องดำเนินการให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อยู่บนหลักการ 6 ป. คือ ป.1 ปลอดจากอำนาจบารมีนอก ระบบ ป.2 ปลอดจากจากปฏิวัติ รัฐประหาร ป.3 ส้รางความปรองดอง ป.4 เสริมสร้างประชาธิปไตย ป.5 ยึดมั่นประชาชนอย่างแท้จริง และป.6 รักษาประมุข การเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ตามสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย แต่การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยควรต้องปราศจากการกล่าวอ้างใช้สถาบันประมุขของประเทศและใช้สถาบันทางทหารเป็นเครื่องมือ เพราะการกล่าวอ้างดังกล่าว เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิงและเป็นการทำลายภาพพจน์ของสถาบันประมุขของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม.
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ใครชนะก็แก้ ใครแพ้ก็ค้าน ใครสานก็เป็นแนวร่วม การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ทำเพื่อไทย แต่เพื่อประชาธิปไตยให้เป็นไท ไม่ใช่ประชาธิปไตยอุปถัมภ์ แต่ใครได้ก็ไทย การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เพื่อไทยชนะ ประชาธิปัตย์แพ้ พันธมิตรกลับแย่ เสร็จแน่ทหาร.
แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นไปเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย 6 ป.ของประเทศ ก้าวสู่เวทีประชาธิปไตยโลกอย่างสง่างาม.

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

เสริมสร้างประชาธิปไตย หัวใจสถาบัน ยึดมั่นประชาชน


   ปัญหาทางการเมือง...ไม่มีใครไปสร้าง และอยากให้เกิด  แต่มันเป็นปัญหาตามธรรมชาติทางการเมืองการปกครอง ที่ก่อตัวและเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้นใช้รูปแบบการเมืองการปกครองรูปแบบใด ประชาชนได้รับผลประโยชน์มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สิ่งอำนวยความสะดวก  สิทธิเสรีภาพทางการเมือง  สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพไม่ถูกเลือกปฏิบัติจนได้รับความไม่เป็นธรรมทางการกฎหมายและทางสังคม  ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง  ปัญหาทางการเมืองก็ก่อตัวและเกิดขึ้นก่อตัวไว้ จนไม่สามารถทนความจุของปัญหาได้ สุดท้ายก็เกิดผู้กล้า กลุ่มผู้กล้า ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง ตามจุดบกพร่องของปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ตัวเองได้รับอย่างไม่เป็นธรรม เช่น เหตุการปฏิวัติ พ.ศ.2475 , เหตุการณ์ 14 ต.ค.16,6ต.ค.19,พฤษภาทมิฬ และเหตุการณ์การชุมนุมของประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม จากการทำรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49  ทางการเมือง กฏหมายไม่สามารถบังคับให้ประชาชนเดินตามแนวทางการการปกครองของระบอบเผด็จทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างแท้จริง ยกเว้นการเดินตามแนวทางปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สิ่งอำนวยความสะดวก  สิทธิเสรีภาพทางการเมือง  สิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพที่ไม่ถูกเลือกปฏิบัติจนได้รับความไม่เป็นธรรมทางการกฎหมายและทางสังคม ..ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  อย่าลืมว่าความเชื่อเกี่ยวกับกษัตริย์ในยุคโบราณ คือ ความเป็นสมมติเทพ ถึงแม้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน สถาบันกษัตริย์ เป็นสถาบันประมุขของประเทศ แต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ในความเป็นจริง กฎหมายรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้แยกระหว่างประชาธิปไตยกับประมุข ออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเหลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างในอดีต ปัจจุบันและอนาคต  ส่งผลให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมรวมกับกลุ่มเผด็จการทหาร ก่อการรัฐประหารทางการเมือง จวบจนปัจจุบัน .. อย่างเช่น ในเหตุการณ์ 14 ต.ค.16และ6ต.ค.19 นักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน ถูกกระทำอย่างโหดเหี้ยมผิดวิสัยของมนุษย์ 
   ประชาธิปไตยก้าวหน้า ได้มุ่งเน้นสิทธิเสรีภาพที่ควรจะพึงมีพึงได้ตามสิทธิของระบอบประชาธิปไตยเช่นกัน ประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข  จึงไม่แปลกว่าทำไมในรัฐธรรมนูญของประเทศ อย่าง ญี่ปุ่น หรือ นอรเวย์   เป็นต้น จึงกำหนดให้กษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพียงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เท่านั้น โดยไม่ได้กำหนดพระราชอำนาจใดๆไว้เลยในรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ที่จะมีกลุ่มอนุรักษ์นิยม และนักการเมืองบางคน บางกลุ่มฉกฉวยโอกาส สร้างประโชยน์ทางการเมืองโดยมิชอบ ผิดหลักประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือไม่ก็ใช้เป็นเหตุขมขู่ เข่นฆ่าประชาชนโดยมิชอบตามกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน ...การแก้ไขรัฐธรรมนูญ2550 และกฏหมายมาตรา 112
จึงเป็นการทำเพื่อ ประชาชนทุกคน เพื่อประเทศ และสถาบัน  การแก้ไข ไม่ใช่การควักหัวใจของคนใดคนหนึ่งทิ้งไป ประเทศไทยไม่มีเหตุผลใดเลย ที่จะกระทำต่อสถาบันของประเทศ เหมือนการปฏิวัติในฝร้งเศล ในจีน และรัสเซีย เป็นต้น  แต่ประเทศไทยต้องพัฒนาการเมืองการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย แบบมีรัฐสภา

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555